ในยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างเคลื่อนไปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โลกของธุรกิจก็ไม่ต่างกัน การจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในแวดวงธุรกิจจึงไม่ใช่แค่เรื่องของประสบการณ์อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญตั้งแต่อายุยังน้อย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใฝ่ฝันจะมีธุรกิจของตัวเอง หรืออยากก้าวเข้าสู่วงการสตาร์ทอัป การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตคุณ และคงจะดีไม่น้อยหากมีพื้นที่ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจอย่างจริงจัง เหมือนกับงาน AFTERKLASS Business Camp โดยธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับมูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา ที่ได้ส่งต่อประสบการณ์และหลักสูตรด้านการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาจนมาถึงในปีนี้ AFTERKLASS จัดเต็มอีกครั้งภายใต้คอนเซปต์ “Young BIZ Accelerator Camp” แคมป์อัปสกิลเข้มข้นที่จับมือมูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา ช่วยเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศได้มาทำแผนการทำธุรกิจเจ๋งๆ และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่น้องๆ จะได้รับเงินทุนพัฒนาแผนการสร้างยอดขายแรก (1st Dollar Stage) เพื่อให้ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมขายได้ในตลาดจริง แคมป์นี้จึงไม่ใช่แค่การเรียนรู้ทฤษฎี แต่จะมอบประสบการณ์จริงผ่านเวิร์กช็อปสุดพิเศษเต็มๆ 3 วัน ณ K+ Building ที่จะช่วยเตรียมความพร้อม พร้อมจะปลุกไฟในตัวน้องๆ ทั้ง 12 คน ให้ลุกโชน จะเข้มข้นขนาดไหน ไปดูกันเลย ! [มากกว่าทฤษฎี เพราะแคมป์นี้ให้ทำจริง] แน่นอนว่าการเรียนรู้ที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดนอกจากทฤษฎีที่ต้องเข้าใจแล้วต้องได้ลงมือทำจริงด้วย แคมป์เวลากว่า 3 วันเต็มในครั้งนี้ได้ให้น้องๆ ทั้ง 12 ทีม ได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและร่วมเวิร์กชอปมากมาย ประเดิมด้วยเนื้อหาสำคัญในการเรียนการสอนวันแรกที่พูดถึงการสร้างผลิตภัณฑ์และปั้นแบรนด์ให้เข้าถึงผู้บริโภค สิ่งที่มาพร้อมการทำธุรกิจ คงหนีไม่พ้น Branding แน่นอนว่าในวันแรก กับ session “Branding product & CI” โดยคุณวิลล์ ธนภูมิ (Willing to Design) น้องๆ จะได้เรียนรู้การสร้างแบรนด์ ที่เป็นมากกว่าแค่โลโก้ แต่รวมไปถึงการผสานปัจจัยหลายๆ ด้าน พร้อมทั้งการสื่อสาร Branding ที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของทีมตัวเองในฐานะผู้ประกอบการ ซึ่งหัวใจสำคัญในการพาแบรนด์เข้าไปให้ถึงผู้บริโภค สร้างการจดจำภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์จนกลายเป็น Branding & CI หรือ Corporate Identity ที่จะทำให้แบรนด์โดดเด่น น่าเชื่อถือ และเป็นที่จดจำของกลุ่มลูกค้าได้ มีหลักสำคัญ ดังนี้ การสร้างความจดจำ : ลูกค้าจะจำและเชื่อมโยงภาพลักษณ์กับแบรนด์ การเพิ่มมูลค่า: แบรนด์ที่แข็งแกร่งจะทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นในสายตาของลูกค้า การสร้างความภักดี: ลูกค้าที่มีประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ มักมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าอีกครั้ง นอกจากนี้คุณวิลล์ยังทิ้งท้ายอีกว่า “เราต้องไม่ลืมว่าการใส่ใจทุกส่วนทำให้แบรนด์ของเราแข็งแรงมากขึ้น” หนึ่งในข้อคิดจากการเรียนการสอนที่เชื่อว่าจะเป็นการย้ำเตือนให้น้องๆ ทั้ง 12 ทีม มุ่งมั่นที่จะพัฒนาแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมได้เรียนรู้ Case Study แบบเจาะลึกเพื่อเข้าใจการสร้างแบรนด์มากยิ่งขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องราวของการสร้างแบรนด์นั้นไม่ได้มีเพียงแค่การออกแบบโลโก้แต่มันคือการสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์เพื่อการจดจำที่สอดคล้องกับลูกค้าผ่านการสื่อสารและการนำเสนออย่างชัดเจน ดังนั้น ความสม่ำเสมอในการสื่อสารภาพลักษณ์ให้เป็นที่จดจำ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การสร้างแบรนด์นั้นประสบความสำเร็จ [เรียนรู้จากตัวจริง ให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืน] การเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินความเป็นไปได้ของตลาดก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญ ใน Session “ Feasibility Study : Market size & value” ได้มีการชวนให้น้องๆ ได้ฝึกคำนวณตั้งแต่ต้นทุนไปจนถึงรายได้ พร้อมลงลึกถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงใน Market Feasibility เช่น กลุ่มเป้าหมาย การผลิต ไปจนถึงการขาย เพื่อให้ได้ “Market Growth” หรือ การเติบโตของธุรกิจในตลาด พร้อมทั้งให้เหล่าน้องๆ ได้ปรึกษา รวมถึงขอคำแนะนำจากเหล่าเมนเทอร์ในงานนี้อีกด้วย ส่วนอีกหนึ่งหัวใจสำคัญ ที่เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อย่าง “การสื่อสาร” แคมป์ในครั้งนี้ก็พาเหล่าน้องๆ ได้เรียนรู้กับเมนเทอร์ผู้เชี่ยวชาญอย่าง คุณญาณวุฒิ (พี่เอ็ด 7 วิ) ครีเอเตอร์ที่กำลังได้รับความนิยมมาแชร์ประสบการณ์จากการทำงานเพื่อให้น้อง ๆ ในแคมป์ได้ฟังกัน เพราะการสื่อสารที่ถูกใจลูกค้า จะนำไปสู่การถูกซื้อ ดังนั้น ไม่เพียงการสร้าง Storytelling เพื่อสื่อสารแบรนด์ แต่การสื่อสารนั้นต้องตรงใจกลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งในแคมป์นี้คุณญาณวุฒิ (พี่เอ็ด 7 วิ) ได้แชร์สิ่งที่ยากที่สุดในการคิดงานโฆษณาคงหนีไม่พ้นการคิดหาไอเดีย “ยิ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามี Community เยอะ ต้องยิ่งคิดให้เยอะ” ดังนั้นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องเข้าใจโปรดักส์ของตัวเอง และต้องระวังอย่าคิดว่าสิ่งที่เรารู้ คนอื่นจะรู้ โฆษณาต้องทำทุกอย่างให้เรียบง่ายชัดเจน และสื่อสารออกมาให้น่าสนใจที่สุด ต้องคิดเสมอว่าทำอย่างไรให้คนหยุดดู และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของคนให้ได้ โดยเราสามารถคิดไอเดียออกมาด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้ คิดไอเดียจากเรื่องใกล้ตัว เรื่องที่คนทั่วไปรู้ และใส่ผลิตภัณฑ์เข้าไป ใช้มุกตลก ให้เข้ากับความสนใจ หรือ Insight ของกลุ่มเป้าหมาย เล่าผ่านผลิตภัณฑ์ หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเรา นอกจากนี้ยังมีการทบกวนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสินค้าของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพและความสำคัญในเรื่องของการขาย ซึ่งในแคมป์นี้ น้องๆ จะได้เรียนรู้การตั้งราคา โครงสร้างต้นทุน รายได้ ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการเงินต่างๆ ในคลาส “Finance & Business Growth” ด้วยนั่นเอง [เรียนจริง ทำจริง สร้างจริง] ในช่วงวันสุดท้ายของแคมป์ยังคงได้เรียนรู้กับหลักสูตรแน่นๆ ให้ได้ออกแบบแผนการทำงานและระยะเวลาในการเริ่มต้นทำธุรกิจ พร้อมกับฟังทริกในการบริหารจัดการทุนกับผู้เชี่ยวชาญ คุณเบญจมาศ จาก Beacon VC Investment Manager กูรูด้านการเงิน ที่จะมาอัปเดตเรื่องเงินทองที่ผู้ประกอบการรายใหม่ควรรู้ รวมถึงได้เรียนรู้แนวคิดต่างๆ จากการแชร์ประสบการณ์ของเหล่าผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ที่เจาะลึกถึง Case Study ให้ได้เห็นภาพอย่างชัดเจน บอกเลยว่านี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการ AFTERKLASS Business Camp ปีที่ 5 โดยธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับมูลนิธิเพาะพันธ์ปัญญา หลังจากนี้น้องๆ จะได้พัฒนาแผนธุรกิจไปสู่ขั้นตอนนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มผู้ใช้จริงและจะกลับมานำเสนอแผนการพัฒนาธุรกิจต่อหน้ากรรมการสดๆ ในเดือนธันวาคมนี้ กิจกรรมดีๆ แบบนี้พลาดไม่ได้ หากว่าน้องๆ คนไหนสนใจอยากเข้าร่วมโครงการ AFTERKLASS สามารถติดตามข้อมูลและข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.afterklass.com บอกเลยว่านอกจากแคมป์ “Young BIZ Accelerator Camp” แล้วยังมีกิจกรรมอื่นๆ รอให้น้องไปสำรวจอีกมากมาย ห้ามพลาด!