category 7 สัญญาณที่บอกว่าเราเป็นคนบ้างาน วิธีรับมือการเป็น Workaholic

Writer : Hanachan

: 31 สิงหาคม 2565

7 สัญญาณที่บอกว่าเราเป็นคนบ้างาน วิธีรับมือการเป็น Workaholic

ใครที่กำลังทำงานอย่างหนักหน่วง มาเช้ากลับดึก ทุ่มเทหามรุ่งหามค่ำ มีเรื่องงานวนอยู่ในหัวทั้งวัน รีบเช็กอาการด่วน! เพราะบางทีเราอาจจะกำลังรับบท “คนบ้างาน” หรือชาว Workaholic โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งอาการติดงานในลักษณะนี้ก็ส่งผลเสียได้มากกว่าที่คิด 

โดยนิสัยเสพติดการทำงานของชาว Workaholic แม้จะไม่ถูกจัดเป็นโรคหรือความผิดปกติทางจิต แต่ก็อาจนับรวมอยู่ในกลุ่ม “ย้ำคิดย้ำทำ” (Obsessive-Compulsive Disorder) ที่ไม่สามารถหยุดความคิดและพฤติกรรมได้ 

ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ไข ไม่เพียงแต่จะกระทบถึงสภาพจิตใจ แต่อาจส่งผลไปถึงสภาพร่างกายที่ย่ำแย่ แถมพ่วงโรคอันตรายได้เช่นเดียวกัน 

Mango Zero ชวนทุกคนมาเช็กอาการกับ 7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นคนคลั่งงาน พร้อมวิธีจัดการตัวเอง รับมือการเป็น Workaholic 

อย่าลืมว่างานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต อย่าเอาทั้งชีวิตมาทุ่มเทให้กับงาน ถึง..คุณคนที่ทำงานหนัก เหนื่อยก็พัก และอย่าลืมหันไปเติมพลังใจพลังรักกับสิ่งรอบตัว 

ส่องอาการ คนคลั่งงาน Workaholic 

  • เริ่มที่ทำงานอย่างหนักหน่วงโดยรู้สึกว่าตัวเองจำเป็นต้องทำ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกในด้านลบต่างๆ จนงานได้กลายเป็นเวลาส่วนมากของชีวิต 
  • โดยที่เมื่อไม่มีงาน หรืองานเสร็จแล้วก็จะคิดถึงงานตลอดเวลา ยิ่งถ้าไม่ได้ทำก็จะรู้สึกผิดและเครียด 
  • ขณะที่มีงาน แม้จะไม่ใช่งานรีบ แต่ก็อดหลับอดนอนเพื่อทำให้เสร็จ
  • จังหวะอันตราย เมื่อผู้ทำงานเริ่มยึดติดคุณค่าของตัวเองไว้กับงาน เมื่อไหรที่ตัวเองเกิดความผิดพลาดจะรู้สึกว่าไม่เก่งหรือไม่มีคุณค่า
  • ยังคงทำงานหนัก ไม่ลดระดับการทำงานหนัก แม้จะมีเสียงของผู้คนรอบข้างเป็นห่วงและตักเตือน
  • สภาพร่างกาย(และจิตใจ) เต็มไปด้วยความเหนื่อยล้า ทำงานหนักจนรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา, รีบทาน, เลือกอาหารไม่มีประโยชน์เพื่อความรวดเร็ว โดยหวังว่าจะประหยัดเวลาให้ได้มากที่สุด 
  • ท้ายที่สุดคือไม่สามารถรักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวได้ จนกลายเป็นปัญหาที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ทั้งครอบครัว คนรัก เพื่อน ไปจนถึงเพื่อนร่วมงาน 

Workaholic กับผลข้างเคียงทางสุขภาพ 

  • Burnout ภาวะหมดไฟในการทำงาน 
  • Stress ความเครียดเรื้อรังและความวิตกกังวล
  • Sleep Disorder ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ, หลับไม่สนิท 
  • Hypertension ความดันโลหิตสูง
  • Cardiovascular Disease โรคหัวใจและหลอดเลือด 

 

วิธีรับมือกับการเป็น Workaholic 

  • กำหนดเวลาเริ่ม – เลิกทำงานให้ชัดเจน เพื่อให้ทำงานเสร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดลำดับความสำคัญของงาน สำคัญกว่าทำก่อน สำคัญน้อยทำหลัง ที่สำคัญ! ไม่นำกลับไปทำต่อที่บ้าน
  • มีช่วงเวลาผ่อนคลายระหว่างทำงาน เช่น พักสายตา, ขยับตัว, เข้าห้องน้ำ ลองใช้เวลาพักประมาณ 5-10 นาทีในทุก 1 ชั่วโมง 
  • ลดระดับความเป็น Perfectionist อีกนิด ด้วยแนวคิดความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ 
  • ออกไปพบปะผู้คนรอบข้างบ้าง ใช้เวลาหลังเลิกงาน – วันหยุด ทำกิจกรรมที่ชอบชวนผ่อนคลาย 
  • ดูแลตัวเองด้วยการเลือกทานอาหารดี ๆ 
  • สุดท้าย ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะพูดคุยกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์
Writer Profile : Hanachan
ฮานะจังมีความสุขกับการดูซีรีส์เกาหลีและท่องเที่ยวไปวันๆ Green tea lover / Japanese food forever ♡
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

Email Evolution วิวัฒนาการของอีเมล


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save