เบื้องหลังทีมเขียนบท I Hate You I Love You “ใครฆ่านานะ ?” เป็นประโยคยอดฮิตที่เราได้ยินกันมาตลอดที่ซีรีย์เรื่องนี้เริ่มเปิดฉาย มีคำถามมากมายที่เราอยากรู้ ทั้งเบื้องหลังการคิด การถ่ายทำ โดยเฉพาะการเขียนบท ซึ่งทีมงาน MangoZero ได้บุกเข้าไปสัมภาษณ์ทีมงานที่ขึ้นชื่อว่าเป็น #ทีมเขียนบทโรคจิต เบื้องหลังการสร้างตัวละคร, ฉากสำคัญต่างๆ, กระบวนการเขียนบท และที่สำคัญ …. “ใครฆ่านานะ ?” ปันปัน-สุทัตตา อุดมศิลป์ รับบท นานะ “จุดเริ่มต้นเมื่อทำบทออกมาแล้วตัวละครเป็นคนมั่นใจ อยู่ในสังคมเพื่อนแบบนี้ พอเรานึกถึงน้องปุ้บก็คิดว่าในสังคมจริงๆ มันมีแบบนี้อยู่ พอลองไปรีเสิร์จบท เริ่มคุยกับปันปัน ก็คิดว่าจริงๆ ปันปันก็มีมุมมองแบบที่ตรงกับนานะอยู่” – ทีมเขียนบทเผย ฝน-ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล รับบท ซอล “ฝนตัวจริงเป็นผู้หญิงที่โตกว่าวัย อ่านหนังสือเยอะ มีความรู้เยอะ มีความมั่นใจและเป็นคนคิดเยอะ ซึ่งจริงๆแล้วความคิดเยอะก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงกับตัวละคร ‘ซอล’ อยู่ เพราะตัวละครซอลเป็นตัวละครที่คิดเยอะมากในทุกการกระทำ จะวางตัวตลอดเวลา ก็เลยมองเห็นว่าทั้งฝนและซอลมีอะไรที่สามารถปรับเข้าหากันได้อยู่” – ทีมเขียนบทเผย ฝน-ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล รับบท ซอล “ฝนตัวจริงเป็นผู้หญิงที่โตกว่าวัย อ่านหนังสือเยอะ มีความรู้เยอะ มีความมั่นใจและเป็นคนคิดเยอะ ซึ่งจริงๆแล้วความคิดเยอะก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงกับตัวละคร ‘ซอล’ อยู่ เพราะตัวละครซอลเป็นตัวละครที่คิดเยอะมากในทุกการกระทำ จะวางตัวตลอดเวลา ก็เลยมองเห็นว่าทั้งฝนและซอลมีอะไรที่สามารถปรับเข้าหากันได้อยู่” – ทีมเขียนบทเผย สกาย-วงศ์รวี นทีธร รับบท โจ “บทของ ‘โจ’ พี่ย้งก็พูดบ่อยว่าอยากให้สกายพัฒนาฝีมือจาก ‘พละ’ (ตัวละครในซีรีส์ Hormones) ไปกว่านี้ เลยอยากให้อยู่ในโปรเจกต์นี้ตั้งแต่แรก แล้วก็อยากให้ได้เล่นบทที่ดูฉีกไป เลยได้มาเป็นบท ‘โจ’ แบบที่คนดูแล้วยังเชื่อได้เพราะถ้าให้สกายไปเป็นไทเกอร์ก็ดูไม่ใช่” – ทีมเขียนบทเผย เจเจ-กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม รับบท ไทเกอร์ “ถ้าคุณจะเลือกเขาเป็นสามี คุณจะเอาไหม ? ถ้ายังเอาก็คือคุณยอมรับทั้งหมดของเขาได้จริงๆ เพราะท้ายที่สุดแล้วคนเรามันมีสองด้าน ซึ่งผมเชื่อว่าคนเจ้าชู้ไม่ใช่คนไร้หัวใจอย่างที่คนชอบบอกกัน แต่จริงๆ แล้วคนเจ้าชู้เป็นคนที่มีหัวใจแต่ใช้ไม่เป็น บริหารและควบคุมความต้องการของตัวเองไม่ได้ เลยทำให้เขาเถลไถลนอกทางไปเรื่อยๆแต่ ณ วันหนึ่งที่เขาอยากทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งที่เขารู้สึกรักมากจริงๆ เขาจะเตรียมพร้อมทุกอย่าง” – ทีมเขียนบทเผย เจเจ-กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม รับบท ไทเกอร์ “ถ้าคุณจะเลือกเขาเป็นสามี คุณจะเอาไหม ? ถ้ายังเอาก็คือคุณยอมรับทั้งหมดของเขาได้จริงๆ เพราะท้ายที่สุดแล้วคนเรามันมีสองด้าน ซึ่งผมเชื่อว่าคนเจ้าชู้ไม่ใช่คนไร้หัวใจอย่างที่คนชอบบอกกัน แต่จริงๆ แล้วคนเจ้าชู้เป็นคนที่มีหัวใจแต่ใช้ไม่เป็น บริหารและควบคุมความต้องการของตัวเองไม่ได้ เลยทำให้เขาเถลไถลนอกทางไปเรื่อยๆแต่ ณ วันหนึ่งที่เขาอยากทำให้ผู้หญิงคนหนึ่งที่เขารู้สึกรักมากจริงๆ เขาจะเตรียมพร้อมทุกอย่าง” – ทีมเขียนบทเผย โอบ-โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ รับบท ไอ่ “ไอ่เป็นเด็กวัยรุ่นธรรมดาคนหนึ่ง แต่มีสถานการณ์บางอย่างที่เปลี่ยนเขาให้กลายเป็นอีกคนได้ โดยบทนี้จะต้องสื่อสารทางสายตาเยอะ และยากเพราะถ้าเล่นน้อยหรือเล่นไม่ชัดพอในความที่ต้องไม่พูด ก็จะกลายเป็นอึนๆ นิ่งๆ และดูเป็นหุ่นยนต์ มันยากที่จะสื่อสารอารมณ์เหล่านั้นให้มันแตกต่าง แต่ข้อดีของโอบคือมีสายตาเหยี่ยว คือตาที่จิกและดูสื่อสารทั้งในแง่ดีและแง่ลบได้” – ทีมเขียนบทเผย มีคนบอกว่าพวกเราเป็น #ทีมเขียนบทโรคจิต บทสัมภาษณ์ ทีมเขียนบท I Hate You I Love You Hate Love Series เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มคุยตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่เริ่มเขียนขึ้นมาตอนเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 เพราะต้องใช้เวลาพัฒนาบท ที่มีความยากในการคิดบทที่ตัวละครทุกตัวอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเขียน และเมื่อพี่ย้ง ทรงยศ ต้ังโจทย์ไว้ว่าจะเป็นหนังที่มีความลึกลับ น่าค้นหาอะไรบางอย่าง เลยทำให้การหาวิธีการที่จะพาไปสู่อารมณ์นี้มันยาก ก็เลยคิดว่าหรือว่าจะต้องมีตัวละครหนึ่งตายแล้วทุกคนดูเหมือนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายครั้งนี้ ก่อนหน้าจะเป็น ‘Hate Love Series’ เคยใช้ชื่อโปรเจกต์ว่า ‘คราม’ มาก่อน ? เพราะ Big Idea และความรู้สึกของซีรีส์ ทำให้นึกถึงเพลงคราม (Bodyslam) และพี่ย้งเองก็ชอบเพลงครามเช่นกัน พอคุยกันก็รู้สึกว่าเพลงนี้มันพูดถึงทุกอย่างในเรื่องนี้ได้ ก็เลยใช้เป็นชื่อโปรเจกต์ไปก่อน ซึ่งก็ไม่รู้หรอกว่าสุดท้ายจะใช้จริงหรือเปล่า แต่พอมันต้องตั้งชื่อจริงๆ ก็รู้สึกว่ามันดูเชยๆ ก็เลยต้องมาหาชื่อใหม่กัน แล้วมีวันนึงพี่วรรณ(หนึ่งในผู้ช่วยผู้กำกับ) ใส่เสื้อมาตัวนึง ข้างหน้าเขียน I Hate You ข้างหลังเขียน But I Love You ก็เลยคิดว่าได้นี่ ก็เลยเป็นที่มาของชื่อที่พี่ย้งเห็นแล้วซื้อเลย วิธีการเขียนบท Hate Love ยังเหมือนกับตอนเขียนบทฮอร์โมนรึเปล่า ? วิธีการเขียนบทจะใช้วิธีเดียวกันกับฮอร์โมนไม่ได้ เพราะฮอร์โมนมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวละครแต่ละตัวที่มีเส้นเรื่องของตัวเอง แต่พอเป็น Hate Love series ทุกตัวก็มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นของตัวเองเหมือนกันแต่เหตุการณ์ทุกอย่างมันเกิดขึ้นร่วมกันหมด เลยทำให้บททุกอย่างจะต้องคุยรวมกันทุกคนเลย และยิ่งในหนึ่งเหตุการณ์ พอเป็นความซ้ำมันต้องทำให้ความซ้ำนั้นไม่ซ้ำด้วย ต้องมีความหลากหลาย ความใหม่ตลอดเวลา ก็เลยต้องช่วยกันคิดเพราะคิดเองคนเดียวมันก็จะออกมาเป็นบทเหมือนๆ เดิม ทางบ้านฝากมาถามว่ารู้สึกยังไงกับ #ทีมเขียนบทโรคจิต? ปิง : สนุกมาก ตอนนี้คือคิดว่าเป็นคำชมไปแล้ว ถึงจะเป็นคำด่าแต่เรารู้สึกว่าเป็นคำชม พี่ย้งก็ภูมิใจกับคำนี้ คือสำหรับเรา เราคิดว่าคนดูสนุกไปกับคอนเทนต์ที่เราสร้างขึ้น การที่เขาหัวปั่นได้ แสดงว่าสิ่งที่เราทำมันทำให้เขาตื่นเต้นและสนุก เข้าไปอ่าน #ทีมเขียนบทโรคจิต บ่อยไหม? บอส : บอสอ่านทุกวันเลย ปิง : อ่านบ้างและจะเห็นเวลาคนอื่น retweet มา คือรับรองว่าถ้าติด #ทีมเขียนบทโรคจิต พวกเราจะได้อ่านกันแน่นอน ใน Hate Love series ตัวละครแต่ละตัวมีใครเป็น Reference ไหม? ไม่ได้มี Reference ว่าตัวละครนี้มาจากคนนี้ แต่พอเราสร้างตัวละครเสร็จ 5 ตัวละครหลัก 5 มุมมอง แล้วค่อยมามองหานักแสดงกันอีกที ว่าในนาดาวคนไหนพอจะเป็นตัวละครตัวไหนได้ แล้วอาจจะมีการปรับจูน อย่างปันปันเป็นนานะ ต้องเป็นแบบนี้ถึงจะสนุก ฝนเป็นซอลก็ต้องเป็นแบบนี้ถึงจะสนุก ทีมเขียนบทอ่านโคนันกันกี่รอบ? บอส : บอสดูเป็นตอนๆ แต่ชอบดูชินจัง ปิง : ผมอ่านคินดะอิจิเยอะมาก อ่านมาตั้งแต่เด็ก โตมากับนิยายสอบสวน ติดตามเชอร์ล็อคโฮล์มบ้าง เราก็เลยจะได้เห็นการฆาตกรรมหลายแบบมากๆ วิธีคิด การฆาตกรรมต่างๆ ในเรื่องนี้ก็จะมีคินดะอิจิเป็นแรงบันดาลใจ เพราะในมุมคนอ่านมาก่อนเราจะรู้ว่าบทแบบไหนเชย หรือบทที่เราเจอจนเบื่อแล้ว เราเลยต้องเพิ่มอะไรบางอย่างที่รู้สึกว่าสิ่งนี้อยากจะเห็นใน Hate Love Series อยากจะบอกอะไรกับคนที่ดูจบแล้ว ปิง : ตอนแรกที่รู้ว่าจะทำ Hate Love series ก็คิดกับมันแค่มันน่าจะสนุก มันเป็นวิธีการเล่าที่แปลก เหมือนเราได้ลองเล่นของเล่นใหม่ แต่พอลองทำลงไปจริงๆ ก็พบว่าสิ่งที่เราอยากเล่าจริงๆ ก็คือเรื่องคน เพราะฉะนั้นถ้าจบ 5 ตอนแล้ว เราไม่แน่ใจว่าจะมีคนดูแฮปปี้หรือผิดหวัง หรือดูตอนจบแล้วไม่เหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า เราไม่รู้ว่าคนดูจะรู้สึกอย่างไรบ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากให้ได้จริงๆ คือเราอยากให้อย่างน้อยเรารู้จักใจของ 5 ตัวละครนี้ ว่าแต่ละอย่างที่มันทำไป ทำด้วยเหตุผลและความรู้สึกอะไร ถ้าคนดูได้สิ่งนี้เราจะถือว่าซีรีส์เราประสบความสำเร็จมาก แต่ถ้าเกิดสมมติว่าคนดูไปโฟกัสในเรื่องคดี จนทำให้ตกหล่นตรงนี้ไปก็จะเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งว่าคนดูคาดหวังจะเห็นอะไรและเราควรจะแก้ไขยังไงในอนาคต ถ้าเราต้องการตั้งเป้าสิ่งนี้ไว้แล้วไม่ได้อย่างที่เราหวัง แต่ถ้าพูดจริงๆ เลยคือแค่ซีรีส์มาถึงจุดที่คนดูพูดถึงกันขนาดนี้แล้วเราก็ดีใจกันมากที่มีคนให้ความสนใจกับเรา ทรงยศ สุขมากอนันต์ (ย้ง) หนึ่งในผู้กำกับแฟนฉัน, ผู้กำกับฮอร์โมน ซีซั่น 1 เกรียงไกร วชิรธรรมพร (ปิง) ผู้กำกับและเขียนบทฮอร์โมน ซีซั่น 2, 3 นฤเบศ กูโน (บอส) เขียนบทฮอร์โมน ซีซั่น 3 วรรณแวว หงษ์วิวัฒน์ (วรรณ) เขียนบทฮอร์โมนซีซั่น 1-3 ทีมเขียนบทอธิบายฉากสำคัญใน Hate Love Series ซีนบนรถที่เจอโจครั้งแรก ทำไมต้องเป็นซีนนี้ ? “เป็นฉากเปิด แนะนำตัวละครและเป็นการวางคาแรคเตอร์ของเพื่อนกลุ่มนี้ด้วยว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่แคร์โลก สามารถไปแกล้งผู้ชายที่ยืนขายตัวอยู่ได้เลย และในน้ำเสียงที่พูดกันก็ดูมีความไม่ถูกกันอยู่” ซีนชิมครีม เป็นการอ่อยที่เท่มาก ? “สำหรับซอลแล้ว เราจะอ่อยยังไงก็ได้ให้ผู้ชายเป็นคนกระทำก่อน ซึ่งเป็นแกนของซอลที่เป็นคนแบบนี้ เลยออกมาเป็นการชิมครีมที่เราไม่ได้ทำอะไรแต่เขาเข้ามาโน้มจูบเราเอง” เกมในปาร์ตี้ ทำไมต้องเป็นเกมส์นี้ ? “เกมนี้มันเหมาะกับการอยากล้วงอะไรบางอย่างของอีกคนหนึ่ง บางทีอาจไม่ได้คำตอบหรอก แต่เราดูปฏิกิริยา ซึ่งรู้สึกว่าเกมนี้น่าจะเหมาะกับเพื่อนกลุ่มนี้ ก็เลยลองเอามาใส่ดู” ซีนที่ไอ่เอาเค้กมาให้ซอล ทำไมต้องแกล้งเพื่อนแบบนี้ ? “มันขึ้นจากอินเนอร์ของตัวละคร ที่น่าสนใจว่าถ้าซอลเจอเหตุการณ์แบบนี้ จะทำยังไง” มีคนชอบรอยยิ้มของฝนตอนที่รู้ว่าโดนแกล้ง ทำไมยิ้มแบบนั้น มีความหมายหรือที่มาอย่างไร ? คาแร็กเตอร์ของซอลมันอยากจะด่าตรงนั้นเลยว่า ‘อีเหี้ย’ แต่เพราะต้องวางตัว ก็เลยยิ้มสู้ได้อย่างเดียว ซึ่งเป็นการยิ้มที่มีมวลคำว่าอีเหี้ยเต็มไปหมด (ซึ่งซีนนี้เป็นซีนที่ฝนเสนอขึ้นมาเอง ว่าถ้านึกถึงคำว่าอีเหี้ยไปด้วยนะ มันจะออกมาชัดเจนมาก) ซีนที่ซอลไปร้องไห้กับนานะ ? “เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ตัวละครถูกปักธงว่าจะไม่มีวันยอมแพ้คนๆ นี้ แต่วันที่ถึงจุดที่จะต้องไปกราบ ก็เลยเหมือนเป็นปลายทางของตัวละครที่ต้องยอมแพ้ความตั้งใจของตัวเอง” ฉากไทเกอร์ทำอาหาร ? ถ้าเราเลือกมองแต่ด้านการทำอาหารเราก็จะได้แค่ตรงนั้น แต่ในภาพรวมจริงๆ แล้วไทเกอร์ก็มีคนอื่นเยอะจริงๆ นะและก็ทำสิ่งที่แปลกประหลาดเต็มไปหมดอยู่ดี ฉากไทเกอร์เอาหมีบราวน์มาตั้ง ? ตอนที่ไทเกอร์เอาตุ๊กตาหมีบราวน์มาวางแล้วเดินออกจากห้องไปเพื่อที่จะเดินกลับมาดูว่า ถ้านานะเข้ามาเห็นแล้วเขาจะเห็นหมีบราวน์ยังไง ผมคิดว่าบางทีคนไม่เจ้าชู้คิดอะไรแบบนี้ไม่ได้ด้วยนะ เพราะคนเจ้าชู้คือคนที่ใส่ใจรายละเอียดความรู้สึกของอีกคนหนึ่งจริงๆ ว่าจะรู้สึกยังไง มันก็เป็นเสน่ห์ของเขาที่มีอยู่ แต่ก็ไม่ได้ชดเชยกับสิ่งที่เขาทำทั้งหมดได้ สรุป จิตสุดคือออออ #คนดูโรคจิต #hateloveseries pic.twitter.com/E0BVD9Ngoc— เธอคือของขวัญ? (@alexprontip) September 28, 2016 NANA ในภาษาญี่ปุ่น =7 จากการสังเกตดูๆเเล้ว เลข7นี่วนเวียนอยู่ใกล้ๆกับตัวไอ่ตลอดเวลาเลย #hateloveseries#70 = ไอ่{ 7 = นานะ 0 = ตาย } pic.twitter.com/HcXFtc9ltk— หนูคิดถึงพ่อ (@tanmalik1d) September 27, 2016 ผ่านมาสองวันต้องย้อนกลับไปดู trailer อีกรอบจริงจังแค่ไหนแค่ไหนเรียกจริงจังควรรับยาช่องไหนคะ #hateloveseries #คนดูโรคจิต pic.twitter.com/frbhzo8Xws— อ้อม_____จิ๊ด (@Aom_Aomyaimaifc) September 27, 2016 จริงจังแค่ไหน แค่ไหนเรียกจริงจังเคร ... เราจริงจังอ่ะ ?#hateloveseries #คนดูโรคจิต pic.twitter.com/xX5epYBy3E— TookToon (@tooktoon_shcj) September 29, 2016 ตอนที่เขียนบทได้คิดไหมว่าจะมีคนดูโรคจิตอยู่ ปิง : เราคิดว่าคนดูโรคจิต แต่ไม่คิดว่าจะโรคจิตขนาดนี้ บอส : ตอนฮอร์โมนซีซั่น 3 ก็คิดกันว่าจะโรคจิต พี่ย้งบอกว่าพอเราทำงานละเอียด คนดูจะละเอียดตามเรา เขาจะสนุกกับการหาดีเทลของเรา ซึ่งเราก็จะสนุกขึ้นไปอีก คือต้องทำให้ดีเทลเหล่านั้นมันน่าสนใจมากขึ้น แต่จนกระทั่ง Hate Love Series พอเป็นเรื่องปริศนาและชิ้นส่วนด้วยมันก็ยิ่งไปสุดมาก เพราะว่ามีอะไรบางอย่างที่เขาอยากรู้จริงๆ และการทิ้งชิ้นส่วนเหล่านี้ก็เป็นการกระตุ้นความอยากรู้ของเขามาก บอส : พอคนดูยิ่งอยากรู้มากขึ้นยิ่งทำให้ตอนตัดต่อกดดันมากขึ้นไปด้วย เพราะตอน Ep.1 มันมีตัวอย่างเป็นซีนที่นานะต้องพิงที่สระว่ายน้ำ แล้วกดส่งรูป จะต้องสไลด์มือถือแว้บๆ พี่ย้งก็จะคอยเช็คว่าไม่เห็นแน่นะ คนจะไม่โรคจิตแน่นะซึ่งขนาดเช็คดีแล้วก็พบว่าคนดูทุกคนก็ยังจับภาพทันทุกเฟรม หลังๆ เราเลยต้องเช็คให้ชัวร์ว่าดูไม่ออกจริงๆ แต่ปรากฏว่าพอฉายออกมาคนดูก็จับภาพออกมากันเต็มทวิตเตอร์อยู่ดี ก็เลยทำให้พอคร้ังต่อไปต้องละเอียดอ่อนกับการทำเรื่องนี้มากขึ้นทุกรายละเอียด ถ้ารู้ว่าจะมีทีมคนดูโรคจิตอยู่ จะเขียนให้โรคจิตกว่านี้ไหม ? ปิง : ตอนเขียนเราเองไม่ได้คิดจะท้าทายคนดู เราแค่เขียนในสิ่งที่เราเองก็อยากดู คือจะชอบกลับไปที่วิธีคิดนี้เสมอไม่ว่าจะทำโปรเจกต์ไหนก็ตาม คือถ้าเขียนแบบนี้แล้วเรารู้สึกว่าเราเดาได้ แสดงว่าเราก็ไม่ได้เจ๋งขนาดนั้นนะ เราเองยังรู้สึกเลยว่าคนดูน่าจะเดาได้ แล้วเราจะทำไปทำไม? เราก็จะพยายามผลักดันมันไปให้ไกลกว่านั้น ต้องคิดให้การกระทำมันเปลี่ยน อย่างตอนนานะเจอซอลกับไทเกอร์ที่สระว่ายน้ำ จริงๆ ตอนแรกก็คิดว่าให้มันเดินเข้าไปแหละ แต่เราก็รู้สึกว่าถ้ามันแค่เดินเข้าไปมันก็ไม่พอดิวะ มันก็จะเป็นสิ่งที่เราเคยเห็นอยู่แล้ว เราจะไปเขียนบทที่คนดูเคยเห็นและเดาได้ทำไม เราก็เลยเพิ่มการกระทำของมันให้ซับซ้อนมากขึ้น และกลายเป็นว่าตัวละครตัวนี้ยิ่งแสบเข้าไปอีกเพราะไม่ต้องเดินเข้าไปก็ได้ แต่กูจะทำให้มึงรู้ว่ากูอยู่ตรงนี้นะ บอส : อย่างซอลตอนแรกก็เกิดจากตัวละครที่อ่อยๆ ทั่วไป เป็นตัวละครที่พออยากจะอ่อยใคร ก็ไปอ่อยเขา แต่พอมานั่งอ่านก็รู้สึกว่ามันดูแรดธรรมดา ดูทั่วไป ก็เลยเพิ่มความวางตัว เพิ่มชั้นเชิงให้มากขึ้น ก็ค่อยๆ หาการกระทำที่เรารู้สึกว่าใหม่สุด ความรู้สึกตอนเห็นคนดูโรคจิต ? บอส : สนุกกับการที่คนดูจับผิดละเอียดขนาดนี้ บางทีก็ทึ่ง แต่เข้าใจเพราะตอนเป็นคนดูเราก็ชอบทำอะไรแบบนี้ คำถามสุดท้าย …. ใครฆ่านานะ ? “อยากให้ลองกลับไปดูสิ่งที่ซีรีส์พยายามจะสื่อ โดยเฉพาะที่ใจของตัวละครแต่ละตัว เหมือนกับความหมายของเพลงคราม ที่เคยเป็นชื่อโปรเจกต์นี้มาก่อน ให้กลับไปดูที่ใจของคน“ เรียบเรียงโดย ทีมงาน MangoZero เพราะเราอยากให้โลกออนไลน์ไทย “สนุกขึ้น” บทความในชุด Zero To Hero Zero to Hero คือบทความชุดที่ทีมงานจัดทำขึ้นเพื่อเชิดชูกลุ่มคนเบื้องหลังงาน Content Online โดยทีมงาน MangoZero เลือกที่จะนำเสนอโดยไม่ได้เป็นการโฆษณาหรือรับค่าจ้างแต่อย่างใด เจาะลึกเบื้องหลัง The Momentum สำนักข่าวออนไลน์ที่น่าจับตาที่สุดในตอนนี้ เจาะลึกขั้นสุด !! กระทะใหม่ บาร์บีคิวพลาซ่า ในศาสตร์ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน