สำหรับคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีอาจจะจินตนาการไม่ออกว่าตอนที่ประเทศไทยเกิดปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อปี 2540 นั้น เป็นอย่างไร แต่คนที่อายุ 25 ปีขึ้นไปน่าจะจำได้ดีว่าความเสียหายในวันนั้นส่งผลต่อประเทศไทยระดับไหน
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ 20 ปี ผ่านไปพอดีมีอะไรบ้างที่ประเทศไทยได้เรียนรู้และปรับตัวจากความบาดเจ็บครั้งก่อนที่สร้างมูลค่าหนี้ถึง 1.4 ล้านล้านบาท วันนี้หนี้ยังเหลืออยู่แค่ไหน นี่คือบทสรุปของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ ที่เราขอกระซิบบอกเลยว่าวันนี้ความเสียหายก็ยังคงอยู่
ก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไทยคือว่าที่ประเทศพัฒนา
ก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไทยเคยเป็นประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูงที่สุดในโลกมาก่อน โดยธนาคารโลกระบุว่าตั้งแต่ปี 2528 – 2538 ไทยมีอัตราเติบโตของ GDP สูงที่สุดในโลกเฉลี่ยการเติบโตตลอด 10 ปีอยู่ที่ 10.40% ซึ่งเป็นการเติบโตระดับเลข 2 หลักที่หลังจากนั้นเราไม่เคยเห็นอีกเลย โดยเฉพาะปี 2531 GDP ของไทยเติบโตถึง 13.3% เติบโตมากจนใครก็อิจฉา ยอดการส่งออกของประเทศไทยก็มีมูลค่าสูงระดับเลข 2 หลักมาโดยตลอด 10 ปี ตั้งแต่ 2528 – 2538 มีรายได้เข้าประเทศระดับ 1 ล้านล้านบาทเมื่อปี 2537
ส่วนในตลาดหุ้นก็เติบโตอย่างมากปี 2536 มียอดซื้อขายในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท จากเดิมที่ปี 2529 ตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าการซื้อขายเพียง 3 หมื่นล้านบาท เรียกว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดของแท้ ความที่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจโตมากและถูกมองว่าไทยกำลังจะเป็นประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจได้เร็วของเอเชีย ถึงขั้นถูกวางตำแหน่งให้เป็นว่าที่เสือตัวที่ 5 ของเอเชียถัดจากฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ปี 2536 ถือว่าไทยเริ่มเข้าสู่จุดพีคของการเติบโตทางเศรษฐกิจก็เพราะประเทศไทยเติบโตอย่างมากเพราะมีการลงทุนในประเทศอย่างมากมายทั้งในอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น โดยนักลงทุนแทบทั้งหมดกู้เงินจากต่างชาติมาลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่ากู้เงินกับสถาบันทางการเงินในไทยถึง 3 เท่า โดยดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินในไทยอยู่ที่ 14 – 17% ต่อปี ขณะที่เงินกู้จากต่างประเทศดอกเบี้ยอยู่ที่ 5%
เหตุผลที่นักลงทุนสามารถกู้เงินจากต่างชาติมาลงทุนในประเทศได้ก็เพราะปี 2532 – 2537 รัฐบาลไทยเปิดนโยบายเสรีทางการเงินไม่จำกัดการไหลเข้าออกของลงทุนในประเทศ และในวันนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์อยู่ที่ 25 บาท/ดอลลาร์ สาเหตุที่รัฐบาลไทยปล่อยเสรีทางการเงิน เพราะฝ่ายบริหารประเทศคาดการว่าปี 2543 อังกฤษจะคืนเกาะฮ่องกง ให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งขณะนั้นฮ่องกงเป็นหนึ่งในศูนย์การเงินของโลก การที่ฮ่องกงกลับเข้าสู่การปกครองของประเทศคอมมิวนิสถือเป็นช่องว่างที่ดีที่ไทยจะสอดแทรกเข้ามาเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่แทนฮ่องกง ที่อาจจะวุ่นวายเรื่องการเปลี่ยนระบอบการปกครอง ไทยเลยอาศัยจังหวะนั้นเปิดนโยบายเสรีทางการเงินเพื่อหวังจะเป็นศูนย์การทางการเงินแทนฮ่องกง
ส่วนเงินกู้ที่กู้จากต่างชาติมาก็เอามาปล่อยกู้ต่ออีกทีโดยคิดดอกเบี้ยถูกกว่ากู้ธนาคาร, กู้มาเก็งกำไรด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโต, กู้มาลงทุนกับกองทุนต่างๆ ของธนาคาร หรือกู้มาซื้อที่ดิน ซึ่งความที่เงินสะพัดราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็เลยพุ่งขึ้น แต่ตอนนั้นจะแคร์ทำไม เงินมันหาง่าย โดยเฉพาะคนที่ทำงานในวงการธนาคาร วงการอสังหาริมทรัพย์ หรือในตลาดหุ้น การได้รับโบนัส 36 – 48 เดือนไม่ใช่เรื่องแปลก
เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไทยกลายเป็นคนป่วยที่ต้องรักษา
ปี 2539 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยเริ่มตกต่ำ และส่งสัญญาณว่าเงินทุนกำลังจะขาด ต่างชาติไม่ต่อสัญญากู้เงินให้กับผู้กู้เงินในไทย อีกทั้งเงินกู้ทั้งหลายเป็นเงินกู้ระยะสั้นไม่เกิน 5 ปีที่เมื่อครบกำหนดต้องชำระทั้งต้นทั้งดอกเป็นเงินดอลลาร์ในวันที่กู้มานั้นอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 25 บาท/ดอลลาร์ ทว่าตอนนั้นเหล่ากองทุนรวมระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลกผู้ถือเงินดอลลาร์ทั้งหลายนำโดยจอร์จ โซรอส เห็นว่าตอนนี้ลูกหนี้ในไทยใกล้ถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว เลยรวมตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่อยู่ที่ 50 บาทต่อดอลลาร์
แบงค์ชาตินำเงินคลังมาพยุงอัตราแลกเปลี่ยนไว้โดยเปิดให้แลกเงินในอัตรา 25 บาทต่อดอลลาร์ตามเดิม ทั้งที่อัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกคือ 50 บาทต่อดอลลาร์ (ก่อนที่ต้นปี 2541 จะพุ่งเป็น 56 บาทต่อดอลลาร์) ทว่าอุ้มอยู่แป๊บนึงก็ไม่ไหว สุดท้ายวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลเรียกประชุมผู้บริหารธนาคารต่างๆ เพื่อบอกว่า “จะลอยตัวค่าเงินบาท…” ความวิบัติจึงเริ่มต้นตั้งแต่วันนั้น
จากความดื้อรั้นที่เอาเงินทุนสำรองไปพยุงค่าเงินบาทนอกจากจะทำให้เงินในคลังจะแทบหมดประเทศแล้วจากเดิมมีเงินในคลังเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ ก็เหลือเพียง 2,500 ล้านดอลลาร์ คนที่กู้เงินจากต่างชาติมาก็กลายเป็นติดหนี้เพิ่มสองเท่าทันที คนที่เคยทำงานแวดวงการเงิน หรืออสังหาริมทรัพย์ล้มพังสร้างไม่เสร็จทิ้งอนุสรณ์ความเจ็บปวดไว้ให้ดูต่างหน้า คนตกงานมากมาย เจ้าของธุรกิจหลายรายฆ่าตัวตายแทบจะรายวัน
ด้านหนี้สิ้นของประเทศไทยก้อนมหาศาลก็เริ่มต้นหลังจากนั้น ด้วยความที่รัฐบาลไทยมีนโยบาย ‘สถาบันทางการเงินห้ามล้ม’ จึงกู้เงิน ‘กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน’ หรือ FIDF สิริรวมแล้วเรามีหนี้รวมทั้งสิ้น 1,401,450 ล้านบาท มาพยุงสถาบันการเงินไม่ให้ล้ม บางส่วนก็ได้บริษัทต่างชาติควบรวมกิจการไป
รัฐบาลไทยยังกู้เงินจาก ‘กองทุนการเงินระหว่างประเทศ’ หรือ IMF อีก 5.1 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินมาเป็นทุนสำรองในคลังซึ่งขณะนั้นเหลือเพียง 2,500 ล้านดอลลาร์ โดยเงินส่วนใหญ่ก็ถูกเอาไปใช้เพื่อพยุงสถาบันทางการเงินอีกเช่นกัน นอกจาก IMF รัฐบาลในขณะนั้นคือหมดเครดิตกู้เงินใครไม่ได้อีกแล้ว หรือจะซื้อของจากใครก็ไม่ได้เลยเพราะเงินในคลังไม่สามารถการันตีเสถียรภาพของการชำระหนี้ได้
สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งหลังคนตกงานมหาศาล ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสังคม ที่เห็นชัดคืออดีตพนักงานบริษัทหรือคนเคยรวยก็ยังดิ้นรนกันต่อไปในการทำมาหากิน และเกิดตลาดนัดคนเคยรวยที่เปิดท้ายรถขายของ
โชคดีที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยช่วยเข้ามาพลิกฟื้นประเทศได้บ้างโดยแคมเปญ Amazing Thailand ในปี 2541 คือแคมเปญแรกที่เรียกนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยเพียงปีเดียวมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยกว่า 9.5 ล้านคนซึ่งถือว่าช่วยชาติได้อย่างมาก และนักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ระหว่างนั้นมีการจัดตั้งกองทุน ‘ผ้าป่าช่วยชาติ’ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ ซึ่งรับบริจาคเงินดอลลาร์จากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศได้ถึง 2 พันล้านบาท และทองคำอีก 1.8 ตัน ไปบริจาคเข้าเงินคลังของประเทศเพื่อพยุงสภาพคล่องของรัฐบาล
ปี 2543 สภาพเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นฟู มีการนำเอาปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่อง และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นหรือ OTOP ซึ่งปี 2546 รัฐบาล ก็จ่ายหนี้ก้อนสุดท้าย 6 หมื่นล้านบาทที่กู้มาจาก IMF ได้สำเร็จ แต่อย่าลืมว่าเรายังเหลือหนี้ก้อนใหญ่ 1.4 ล้านล้านบาทอยู่ ที่ขณะนั้นยังจ่ายเงินคืนไปได้ไม่ถึงไหน
หลังวิกฤตต้มยำกุ้งผ่านไปประเทศไทยเป็นอย่างไร
20 ปีผ่านไปบางคนอาจเข้าใจว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากวิกฤตต้มยำกุ้งแล้วเพราะชดใช้ให้ IMF หมดแล้ว แต่ความจริงแล้วไม่เลย…เรายังคงเป็นหนี้ใน ‘กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน’ อยู่มหาศาล โดยตั้งแต่ปี 2542 จนถึงวันนี้ผ่านไปเราจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่ไปเพียง 33.61% ของหนี้ทั้งหมดเท่านั้น ยังเหลือหนี้ก้อนใหญ่อีก 930,288 ล้านบาท
สำหรับหนี้ก้อนใหญ่นั้นแบ่งการชำระออกเป็นรัฐบาลจ่ายดอกเบี้ย และแบงค์ชาติจ่ายเงินต้น ซึ่งปีที่ผ่านมาเราเพียงจ่ายดอกเบี้ยไปกว่า 40,200 ล้านบาท มองอย่างเห็นภาพคือ 18 ปีจ่ายหนี้ไปไม่ถึงครึ่ง แล้วเมื่อไหร่หนี้ก้อนนี้ถึงจะหมด หากมองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สาธารณะตอนนี้คนไทยทุกคนเป็นหนี้กันคนละ 14,153 บาท พูดง่ายๆ คือตอนนี้ใครเกิดมาปุ๊บเป็นหนี้ปั๊บทันที สำหรับนโยบายที่จะหาเงินไปใช้หนี้ก้อนโตนั้นยังไม่ทราบว่ามีแผนชำระหนี้ได้อย่างไรและเมื่อไหร่ถึงจะหมด
แม้วันนี้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวมาดีกว่าเมื่อ 20 ปีก่อนก็จริงทว่าเราไม่สามารถกลับไปยังจุดเดิมที่ประเทศไทยเคยเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้อีกแล้ว ตอนนี้เศรษฐกิจของไทยถือว่าเติบโตได้อย่างทดถอยผิดกับเพื่อนบ้านรอบๆ ปี 2548 – 2558 เศรษฐกิจไทยโตเพียง 32% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนไปไกลกว่าเราเท่าตัว ธนาคารโลกคาดการว่าอีก 20 ปีข้างหน้าหากไทยยังเป็นเช่นนี้อยู่เราจะกลายเป็นประเทศที่เติบโตล้าหลังกว่าทุกชาติในอาเซียนแบบเทียบไม่ติด และกลายเป็น ‘คนป่วยใหม่แห่งเอเชีย’ แน่นอน
สรุปคือเราได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมาหรือไม่ คำตอบน่าจะชัดเจนแล้วว่าเราอาจแทบไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย หากใครอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเรียนสำคัญของปัญหาระดับชาติ ขอแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นิทรรศการ ‘ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน’ ที่มิวเซียมสยามได้จนถึง 23 กรกฎาคมนี้ เข้าชมฟรี
เรียงเรียงโดย – ทีมงาน Mango Zero
ก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไทยเคยเป็นประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูงที่สุดในโลกมาก่อน โดยธนาคารโลกระบุว่าตั้งแต่ปี 2528 – 2538 ไทยมีอัตราเติบโตของ GDP สูงที่สุดในโลกเฉลี่ยการเติบโตตลอด 10 ปีอยู่ที่ 10.40% ซึ่งเป็นการเติบโตระดับเลข 2 หลักที่หลังจากนั้นเราไม่เคยเห็นอีกเลย โดยเฉพาะปี 2531 GDP ของไทยเติบโตถึง 13.3% เติบโตมากจนใครก็อิจฉา ยอดการส่งออกของประเทศไทยก็มีมูลค่าสูงระดับเลข 2 หลักมาโดยตลอด 10 ปี ตั้งแต่ 2528 – 2538 มีรายได้เข้าประเทศระดับ 1 ล้านล้านบาทเมื่อปี 2537
ส่วนในตลาดหุ้นก็เติบโตอย่างมากปี 2536 มียอดซื้อขายในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท จากเดิมที่ปี 2529 ตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าการซื้อขายเพียง 3 หมื่นล้านบาท เรียกว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดของแท้ ความที่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจโตมากและถูกมองว่าไทยกำลังจะเป็นประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจได้เร็วของเอเชีย ถึงขั้นถูกวางตำแหน่งให้เป็นว่าที่เสือตัวที่ 5 ของเอเชียถัดจากฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ปี 2536 ถือว่าไทยเริ่มเข้าสู่จุดพีคของการเติบโตทางเศรษฐกิจก็เพราะประเทศไทยเติบโตอย่างมากเพราะมีการลงทุนในประเทศอย่างมากมายทั้งในอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น โดยนักลงทุนแทบทั้งหมดกู้เงินจากต่างชาติมาลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่ากู้เงินกับสถาบันทางการเงินในไทยถึง 3 เท่า โดยดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินในไทยอยู่ที่ 14 – 17% ต่อปี ขณะที่เงินกู้จากต่างประเทศดอกเบี้ยอยู่ที่ 5%
เหตุผลที่นักลงทุนสามารถกู้เงินจากต่างชาติมาลงทุนในประเทศได้ก็เพราะปี 2532 – 2537 รัฐบาลไทยเปิดนโยบายเสรีทางการเงินไม่จำกัดการไหลเข้าออกของลงทุนในประเทศ และในวันนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์อยู่ที่ 25 บาท/ดอลลาร์ สาเหตุที่รัฐบาลไทยปล่อยเสรีทางการเงิน เพราะฝ่ายบริหารประเทศคาดการว่าปี 2543 อังกฤษจะคืนเกาะฮ่องกง ให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งขณะนั้นฮ่องกงเป็นหนึ่งในศูนย์การเงินของโลก การที่ฮ่องกงกลับเข้าสู่การปกครองของประเทศคอมมิวนิสถือเป็นช่องว่างที่ดีที่ไทยจะสอดแทรกเข้ามาเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่แทนฮ่องกง ที่อาจจะวุ่นวายเรื่องการเปลี่ยนระบอบการปกครอง ไทยเลยอาศัยจังหวะนั้นเปิดนโยบายเสรีทางการเงินเพื่อหวังจะเป็นศูนย์การทางการเงินแทนฮ่องกง
ส่วนเงินกู้ที่กู้จากต่างชาติมาก็เอามาปล่อยกู้ต่ออีกทีโดยคิดดอกเบี้ยถูกกว่ากู้ธนาคาร, กู้มาเก็งกำไรด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโต, กู้มาลงทุนกับกองทุนต่างๆ ของธนาคาร หรือกู้มาซื้อที่ดิน ซึ่งความที่เงินสะพัดราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็เลยพุ่งขึ้น แต่ตอนนั้นจะแคร์ทำไม เงินมันหาง่าย โดยเฉพาะคนที่ทำงานในวงการธนาคาร วงการอสังหาริมทรัพย์ หรือในตลาดหุ้น การได้รับโบนัส 36 – 48 เดือนไม่ใช่เรื่องแปลก
เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งไทยกลายเป็นคนป่วยที่ต้องรักษา
ปี 2539 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยเริ่มตกต่ำ และส่งสัญญาณว่าเงินทุนกำลังจะขาด ต่างชาติไม่ต่อสัญญากู้เงินให้กับผู้กู้เงินในไทย อีกทั้งเงินกู้ทั้งหลายเป็นเงินกู้ระยะสั้นไม่เกิน 5 ปีที่เมื่อครบกำหนดต้องชำระทั้งต้นทั้งดอกเป็นเงินดอลลาร์ในวันที่กู้มานั้นอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 25 บาท/ดอลลาร์ ทว่าตอนนั้นเหล่ากองทุนรวมระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลกผู้ถือเงินดอลลาร์ทั้งหลายนำโดยจอร์จ โซรอส เห็นว่าตอนนี้ลูกหนี้ในไทยใกล้ถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว เลยรวมตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่อยู่ที่ 50 บาทต่อดอลลาร์
แบงค์ชาตินำเงินคลังมาพยุงอัตราแลกเปลี่ยนไว้โดยเปิดให้แลกเงินในอัตรา 25 บาทต่อดอลลาร์ตามเดิม ทั้งที่อัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกคือ 50 บาทต่อดอลลาร์ (ก่อนที่ต้นปี 2541 จะพุ่งเป็น 56 บาทต่อดอลลาร์) ทว่าอุ้มอยู่แป๊บนึงก็ไม่ไหว สุดท้ายวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลเรียกประชุมผู้บริหารธนาคารต่างๆ เพื่อบอกว่า “จะลอยตัวค่าเงินบาท…” ความวิบัติจึงเริ่มต้นตั้งแต่วันนั้น
จากความดื้อรั้นที่เอาเงินทุนสำรองไปพยุงค่าเงินบาทนอกจากจะทำให้เงินในคลังจะแทบหมดประเทศแล้วจากเดิมมีเงินในคลังเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ ก็เหลือเพียง 2,500 ล้านดอลลาร์ คนที่กู้เงินจากต่างชาติมาก็กลายเป็นติดหนี้เพิ่มสองเท่าทันที คนที่เคยทำงานแวดวงการเงิน หรืออสังหาริมทรัพย์ล้มพังสร้างไม่เสร็จทิ้งอนุสรณ์ความเจ็บปวดไว้ให้ดูต่างหน้า คนตกงานมากมาย เจ้าของธุรกิจหลายรายฆ่าตัวตายแทบจะรายวัน
ด้านหนี้สิ้นของประเทศไทยก้อนมหาศาลก็เริ่มต้นหลังจากนั้น ด้วยความที่รัฐบาลไทยมีนโยบาย ‘สถาบันทางการเงินห้ามล้ม’ จึงกู้เงิน ‘กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน’ หรือ FIDF สิริรวมแล้วเรามีหนี้รวมทั้งสิ้น 1,401,450 ล้านบาท มาพยุงสถาบันการเงินไม่ให้ล้ม บางส่วนก็ได้บริษัทต่างชาติควบรวมกิจการไป
รัฐบาลไทยยังกู้เงินจาก ‘กองทุนการเงินระหว่างประเทศ’ หรือ IMF อีก 5.1 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินมาเป็นทุนสำรองในคลังซึ่งขณะนั้นเหลือเพียง 2,500 ล้านดอลลาร์ โดยเงินส่วนใหญ่ก็ถูกเอาไปใช้เพื่อพยุงสถาบันทางการเงินอีกเช่นกัน นอกจาก IMF รัฐบาลในขณะนั้นคือหมดเครดิตกู้เงินใครไม่ได้อีกแล้ว หรือจะซื้อของจากใครก็ไม่ได้เลยเพราะเงินในคลังไม่สามารถการันตีเสถียรภาพของการชำระหนี้ได้
โชคดีที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยช่วยเข้ามาพลิกฟื้นประเทศได้บ้างโดยแคมเปญ Amazing Thailand ในปี 2541 คือแคมเปญแรกที่เรียกนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยเพียงปีเดียวมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยกว่า 9.5 ล้านคนซึ่งถือว่าช่วยชาติได้อย่างมาก และนักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ระหว่างนั้นมีการจัดตั้งกองทุน ‘ผ้าป่าช่วยชาติ’ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ ซึ่งรับบริจาคเงินดอลลาร์จากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศได้ถึง 2 พันล้านบาท และทองคำอีก 1.8 ตัน ไปบริจาคเข้าเงินคลังของประเทศเพื่อพยุงสภาพคล่องของรัฐบาล
ปี 2543 สภาพเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นฟู มีการนำเอาปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่อง และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นหรือ OTOP ซึ่งปี 2546 รัฐบาล ก็จ่ายหนี้ก้อนสุดท้าย 6 หมื่นล้านบาทที่กู้มาจาก IMF ได้สำเร็จ แต่อย่าลืมว่าเรายังเหลือหนี้ก้อนใหญ่ 1.4 ล้านล้านบาทอยู่ ที่ขณะนั้นยังจ่ายเงินคืนไปได้ไม่ถึงไหน
หลังวิกฤตต้มยำกุ้งผ่านไปประเทศไทยเป็นอย่างไร
20 ปีผ่านไปบางคนอาจเข้าใจว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นหนี้ที่เกิดจากวิกฤตต้มยำกุ้งแล้วเพราะชดใช้ให้ IMF หมดแล้ว แต่ความจริงแล้วไม่เลย…เรายังคงเป็นหนี้ใน ‘กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน’ อยู่มหาศาล โดยตั้งแต่ปี 2542 จนถึงวันนี้ผ่านไปเราจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่ไปเพียง 33.61% ของหนี้ทั้งหมดเท่านั้น ยังเหลือหนี้ก้อนใหญ่อีก 930,288 ล้านบาท
สำหรับหนี้ก้อนใหญ่นั้นแบ่งการชำระออกเป็นรัฐบาลจ่ายดอกเบี้ย และแบงค์ชาติจ่ายเงินต้น ซึ่งปีที่ผ่านมาเราเพียงจ่ายดอกเบี้ยไปกว่า 40,200 ล้านบาท มองอย่างเห็นภาพคือ 18 ปีจ่ายหนี้ไปไม่ถึงครึ่ง แล้วเมื่อไหร่หนี้ก้อนนี้ถึงจะหมด หากมองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สาธารณะตอนนี้คนไทยทุกคนเป็นหนี้กันคนละ 14,153 บาท พูดง่ายๆ คือตอนนี้ใครเกิดมาปุ๊บเป็นหนี้ปั๊บทันที สำหรับนโยบายที่จะหาเงินไปใช้หนี้ก้อนโตนั้นยังไม่ทราบว่ามีแผนชำระหนี้ได้อย่างไรและเมื่อไหร่ถึงจะหมด
แม้วันนี้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวมาดีกว่าเมื่อ 20 ปีก่อนก็จริงทว่าเราไม่สามารถกลับไปยังจุดเดิมที่ประเทศไทยเคยเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้อีกแล้ว ตอนนี้เศรษฐกิจของไทยถือว่าเติบโตได้อย่างทดถอยผิดกับเพื่อนบ้านรอบๆ ปี 2548 – 2558 เศรษฐกิจไทยโตเพียง 32% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนไปไกลกว่าเราเท่าตัว ธนาคารโลกคาดการว่าอีก 20 ปีข้างหน้าหากไทยยังเป็นเช่นนี้อยู่เราจะกลายเป็นประเทศที่เติบโตล้าหลังกว่าทุกชาติในอาเซียนแบบเทียบไม่ติด และกลายเป็น ‘คนป่วยใหม่แห่งเอเชีย’ แน่นอน
สรุปคือเราได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมาหรือไม่ คำตอบน่าจะชัดเจนแล้วว่าเราอาจแทบไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย หากใครอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเรียนสำคัญของปัญหาระดับชาติ ขอแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นิทรรศการ ‘ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน’ ที่มิวเซียมสยามได้จนถึง 23 กรกฎาคมนี้ เข้าชมฟรี
เรียบเรียงโดย – ทีมงาน Mango Zero