#SaveMyanmer เพื่อการต่อต้านการรัฐประหารในประเทศเมียนมา ได้รับความสนใจและถูกจับตามองจากหลายประเทศทั่วโลก จากกรณีที่กองทัพเมียนมามีการบุกจับ ‘อองซาน ซูจี’ พร้อมกับประกาศทำ ‘รัฐประหาร’ เรียกได้ว่า เป็นการดึงสถานการณ์ประเทศเข้าสู่สงครามแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ที่เป็นปัญหาวนลูปเดิมมาหลายสิบปี
วันนี้ MangoZero จะขอพาไปย้อนดูไทม์ไลน์กันแบบสรุปว่า เมียนมามีการทำรัฐประหารมาแล้วกี่ครั้ง มีความเป็นมาอย่างไรจนถึงการทำรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้
รัฐประหาร ครั้งที่ 1 (ปี 2505 – 2531) โดย ‘นายพล เน วิน’
- ปี 2486
- นายอองซาน นายกรัฐมนตรีของเมียนมา
- ปี 2490
- อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้เมียนมา ในสนธิสัญญา ‘แอตลี่อองซาน’ ลงนามข้อตกลง ที่เวียงปิงหล่ง ให้ชนกลุ่มน้อยในเมียนมาแยกตัวเป็นอิสระได้ ภายหลังรวมกับเมียนมาครบ 10 ปี
- กรกฎาคม นายอองซาน ถูกบุกยิงเสียชีวิตโดยเป็นฝีมือของ ‘อู ซอ’ และนายอองซาน ยกย่องเป็น ‘บิดาแห่งเอกราชเมียนมา’
- ปี 2491
- วันที่ 4 มกราคม เมียนมาได้เอกราชจากอังกฤษเป็นทางการ ‘อู นุ’ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
- ปี 2500
- ‘อู นุ’ ปฏิเสธไม่ให้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวตามข้อตกลง จึงเกิดกบฏตามชายแดน
- ปี 2505
- วันที่ 2 มีนาคม รัฐประหาร โดยนายพล เน วิน จุดเริ่มต้นการปกครองประเทศโดยกองทัพเมียนมาระยะเวลา 26 ปี
รัฐประหาร ครั้งที่ 2 (ปี 2531 – 2535) โดย ‘พลเอก ซอมอง’
- ปี 2531
- วันที่ 8 สิงหาคม ‘8.8.88’ เหตุการณ์นองเลือด จากการที่กองทัพเมียนมาปราบปรามกวาดล้างประชาชน ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต จำนวนวมาก
- วันที่ 18 กันยายน รัฐประหาร ประกาศปกครองเมียนมาแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น ‘ฤาษีแห่งเอเชีย’ งดติดต่อกับโลกภายนอก รัฐบาลจัดตั้ง ’สภาฟื้นฟูกฏระเบียบของชาติ’ หรือ ‘SLORC (สลอร์ค)’ ให้สัญญาว่า ‘จะให้มีการเลือกตั้งตามประชาธิปไตย’
- วันที่ 24 กันยายน ‘อองซาน ซูจี’ จัดตั้งพรรค NLD
- ปี 2533
- เลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 30 ปี พรรคของซูจีชนะ อย่างท่วมท้น แต่สภาสลอร์ค ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่ยอมคืนอำนาจ และกักบริเวณนางซูจี
- ปี 2534
- นางซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาติให้เดินทางไปรับรางวัล
- ปี 2535
- สลอร์ค เปลี่ยนชื่อประเทศ ‘พม่า’ เป็น ‘เมียนมา’ เปลี่ยนนโยบายให้เป็นประเทศกึ่งเสรี ทุนนิยม ต้องรับนักลงทุน ท่องเที่ยว
รัฐประหาร ครั้งที่ 3 (ปี 2535 – 2554) โดย‘พลเอกต้านชเว’
- ปี 2538
- ซูจี ได้รับอิสรภาพ หลังจากโดนรัฐบาลทหารเมียนมาสั่งกักบริเวณนานถึง 6 ปี
- ปี 2540
- รัฐบาลทหารเปลี่ยนชื่อจาก ‘สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติ’ เป็น ‘สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ’
- ปี 2540
- ‘พล.อ.ตาล ฉ่วย’ เป็นประธานสภา ผู้บังคับบัญชสการทหารสูงสุด และนายยกรัฐมนตรี
- ปี 2543
- ซูจี ถูกกักบริเวณ ครั้งที่ 2 นาน 18 เดือน โดยไม่ระบุข้อหาความผิด เธอได้รับอิสระภาพในเกือน พฤศภาคม 2545
- ปี 2553
- เลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ‘พล.อ.เต็ง เส่ง’ ได้เป็นประธานธิบดีคนใหม่ พรรคของสหสามัคคี และการพัฒนา (USDP) หนุนหลังโดยกองทัพเมียนมา
- ปี 2558
- ซูจี พรรค NLD ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถรับตำแหน่งได้ เพราะมีกฏห้ามไม่ให้ผู้มีคู่สมรส และบุตรต่างชาติดำรงตำแหน่งนี้
รัฐประหาร ครั้งที่ 4 (ปี 2564 – …) โดย ‘นายพลมินต์ ฉ่วย’ ทำหน้าที่รักษาการ ‘ประธานาธิบดี’
- ปี 2563
- เดือน พฤศจิกายน ซูจี พรรค NLD ชนะการเลือกตั้ง แต่ USDP และกองทัพเมียนมา ไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง กล่าวหาว่าทุจริต
- ปี 2564
- วันที่ 27 มกราคม พลเอก มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา กล่าวว่า ‘คงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ หากคนไม่ปฏิบัติตาม’
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพเมียนมาบุกจับ ซูจี รวมถึง ประธานาธิบดีวิน มินต์ และแกนนำพรรค และได้ทำการประกาศสภาวะฉุกเฉินระยะเวลา 1 ปี พร้อมแต่งตั้ง ‘มินต์ ฉ่วย’ อดีตนายพลซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่มาจากฝั่งทหาร ทำหน้าที่รักษาการ ‘ประธานาธิบดี’
ที่มา Bangkokbiznews, The Thaiger, The Bangkok Insight, pptvhd36