#SaveMyanmer เพื่อการต่อต้านการรัฐประหารในประเทศเมียนมา ได้รับความสนใจและถูกจับตามองจากหลายประเทศทั่วโลก จากกรณีที่กองทัพเมียนมามีการบุกจับ ‘อองซาน ซูจี’ พร้อมกับประกาศทำ ‘รัฐประหาร’ เรียกได้ว่า เป็นการดึงสถานการณ์ประเทศเข้าสู่สงครามแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ที่เป็นปัญหาวนลูปเดิมมาหลายสิบปี วันนี้ MangoZero จะขอพาไปย้อนดูไทม์ไลน์กันแบบสรุปว่า เมียนมามีการทำรัฐประหารมาแล้วกี่ครั้ง มีความเป็นมาอย่างไรจนถึงการทำรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ รัฐประหาร ครั้งที่ 1 (ปี 2505 – 2531) โดย ‘นายพล เน วิน’ ปี 2486 นายอองซาน นายกรัฐมนตรีของเมียนมา ปี 2490 อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้เมียนมา ในสนธิสัญญา ‘แอตลี่อองซาน’ ลงนามข้อตกลง ที่เวียงปิงหล่ง ให้ชนกลุ่มน้อยในเมียนมาแยกตัวเป็นอิสระได้ ภายหลังรวมกับเมียนมาครบ 10 ปี กรกฎาคม นายอองซาน ถูกบุกยิงเสียชีวิตโดยเป็นฝีมือของ ‘อู ซอ’ และนายอองซาน ยกย่องเป็น ‘บิดาแห่งเอกราชเมียนมา’ ปี 2491 วันที่ 4 มกราคม เมียนมาได้เอกราชจากอังกฤษเป็นทางการ ‘อู นุ’ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2500 ‘อู นุ’ ปฏิเสธไม่ให้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวตามข้อตกลง จึงเกิดกบฏตามชายแดน ปี 2505 วันที่ 2 มีนาคม รัฐประหาร โดยนายพล เน วิน จุดเริ่มต้นการปกครองประเทศโดยกองทัพเมียนมาระยะเวลา 26 ปี รัฐประหาร ครั้งที่ 2 (ปี 2531 – 2535) โดย ‘พลเอก ซอมอง’ ปี 2531 วันที่ 8 สิงหาคม ‘8.8.88’ เหตุการณ์นองเลือด จากการที่กองทัพเมียนมาปราบปรามกวาดล้างประชาชน ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต จำนวนวมาก วันที่ 18 กันยายน รัฐประหาร ประกาศปกครองเมียนมาแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น ‘ฤาษีแห่งเอเชีย’ งดติดต่อกับโลกภายนอก รัฐบาลจัดตั้ง ’สภาฟื้นฟูกฏระเบียบของชาติ’ หรือ ‘SLORC (สลอร์ค)’ ให้สัญญาว่า ‘จะให้มีการเลือกตั้งตามประชาธิปไตย’ วันที่ 24 กันยายน ‘อองซาน ซูจี’ จัดตั้งพรรค NLD ปี 2533 เลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 30 ปี พรรคของซูจีชนะ อย่างท่วมท้น แต่สภาสลอร์ค ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่ยอมคืนอำนาจ และกักบริเวณนางซูจี ปี 2534 นางซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาติให้เดินทางไปรับรางวัล ปี 2535 สลอร์ค เปลี่ยนชื่อประเทศ ‘พม่า’ เป็น ‘เมียนมา’ เปลี่ยนนโยบายให้เป็นประเทศกึ่งเสรี ทุนนิยม ต้องรับนักลงทุน ท่องเที่ยว รัฐประหาร ครั้งที่ 3 (ปี 2535 – 2554) โดย‘พลเอกต้านชเว’ ปี 2538 ซูจี ได้รับอิสรภาพ หลังจากโดนรัฐบาลทหารเมียนมาสั่งกักบริเวณนานถึง 6 ปี ปี 2540 รัฐบาลทหารเปลี่ยนชื่อจาก ‘สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติ’ เป็น ‘สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ’ ปี 2540 ‘พล.อ.ตาล ฉ่วย’ เป็นประธานสภา ผู้บังคับบัญชสการทหารสูงสุด และนายยกรัฐมนตรี ปี 2543 ซูจี ถูกกักบริเวณ ครั้งที่ 2 นาน 18 เดือน โดยไม่ระบุข้อหาความผิด เธอได้รับอิสระภาพในเกือน พฤศภาคม 2545 ปี 2553 เลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ‘พล.อ.เต็ง เส่ง’ ได้เป็นประธานธิบดีคนใหม่ พรรคของสหสามัคคี และการพัฒนา (USDP) หนุนหลังโดยกองทัพเมียนมา ปี 2558 ซูจี พรรค NLD ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถรับตำแหน่งได้ เพราะมีกฏห้ามไม่ให้ผู้มีคู่สมรส และบุตรต่างชาติดำรงตำแหน่งนี้ รัฐประหาร ครั้งที่ 4 (ปี 2564 – …) โดย ‘นายพลมินต์ ฉ่วย’ ทำหน้าที่รักษาการ ‘ประธานาธิบดี’ ปี 2563 เดือน พฤศจิกายน ซูจี พรรค NLD ชนะการเลือกตั้ง แต่ USDP และกองทัพเมียนมา ไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง กล่าวหาว่าทุจริต ปี 2564 วันที่ 27 มกราคม พลเอก มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา กล่าวว่า ‘คงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ หากคนไม่ปฏิบัติตาม’ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพเมียนมาบุกจับ ซูจี รวมถึง ประธานาธิบดีวิน มินต์ และแกนนำพรรค และได้ทำการประกาศสภาวะฉุกเฉินระยะเวลา 1 ปี พร้อมแต่งตั้ง ‘มินต์ ฉ่วย’ อดีตนายพลซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่มาจากฝั่งทหาร ทำหน้าที่รักษาการ ‘ประธานาธิบดี’ ที่มา Bangkokbiznews, The Thaiger, The Bangkok Insight, pptvhd36