เชื่อว่าในชีวิตนึงของเราทุกคนน่าจะเคยผ่านความเจ็บปวดอย่าง “ร้อนใน” กันมาไม่น้อยไปกว่า 1 ครั้ง บางทีหนึ่งจุด บางทีหลายจุดพร้อมกันก็มี ถึงจะเป็นแผลเล็กๆ ในปาก แต่ก็สร้างความหงุดหงิดและทรมานจนทำให้ชีวิตประจำวันพังได้ เราขอพาทุกคนไปรู้จักกับร้อนใน และเรียนรู้การอยู่กับมันรวมทั้งการป้องกันไม่ให้มันเกิดกันเถอะ !! ร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือ แผลขนาดเล็กที่เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากหรือเหงือก โดยบางคนอาจมีร้อนในขึ้นที่ริมฝีปาก, แก้ม หรือลิ้น ซึ่งอาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน อยากการรับประทานอาหารหรือการพูดคุย ลักษณะของร้อนใน เกิดเป็นจุดแดงหรือตุ่มเล็กๆ ก่อน ต่อมาจึงพัฒนาเป็นสีขาวมีขอบแดงๆ และขยายออกมาเป็นแผลเปื่อย บนตัวแผลจะมีสีเหลืองหรือสีขาวปกคลุมอยู่บนแผล ขอบแผลจะแดง สาเหตุของร้อนใน จริงๆ แล้วสาเหตุของร้อนในยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เราก็พอทราบตัวกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดร้อนใน ได้ดังนี้ การตอบสนองต่อแบคทีเรียในปาก การบาดเจ็บที่ปาก ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ประจำเดือน ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน การแพ้อาหาร หรือการขาดวิตามินและแร่ธาตุ การรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง สามารถหายเองได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ รักษาความสะอาดในช่องปาก ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่ม ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด การบรรเทาอาการเจ็บปวด ดื่มนม กินโยเกิร์ต ไอศกรีม กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ ทายาแก้ร้อนใน ดื่มน้ำสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น – น้ำรากบัว, น้ำใบบัวบก ภาวะแทรกซ้อน อ่อนเพลีย เป็นไข้ การอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียง การป้องกัน ดูแลสุขภาพช่องปาก แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำ, ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ถั่วทอด. มันฝรั่งทอด. อาหารรสจัด, ผลไม้ที่มีกรดมาก – สัปปะรด,ส้ม ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียดจนเกินไป เรื่องน่ารู้ ร้อนในไม่ใช่โรคติดต่อ คนที่เลิกบุหรี่มักจะเป็นร้อนในมากกว่าคนปกติ เนื่องจากการปรับตัวของเคมีในร่างกาย เวลาเป็นร้อนใน เจ็บที่สุดตอนไหน แปรงฟัน กินอาหารรสจัด เผลอกัดโดน หากใครเป็นร้อนในเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์แล้วยังไม่หาย แผลมีอาการลุกลาม เป็นแผลร้อนในพร้อมมีไข้สูงไปด้วย ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นต้น ขอบคุณที่มา : Poppad, Sanook Health, FemaleFirst