category ลึกลับ ดำดิ่ง ลงไปในมหาสมุทร กับเรื่องใต้น้ำที่เราอาจยังไม่เคยรู้

Writer : Kreenp

: 24 ตุลาคม 2561

ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์มาโดยตลอดและมีความซับซ้อนไม่มีที่สุด โดยเฉพาะ มหาสมุทร พื้นที่ที่เกือบจะเป็น 2 ใน 3 ของโลก และไม่มีใครเคยสำรวจได้ทั่ว ถึงกับมีคำกล่าวไว้ว่าเราสำรวจมหาสมุทรบนโลกน้อยกว่าสำรวจพื้นบนดวงจันทร์เสียอีก มารู้จักเรื่องใต้น้ำมหาสมุทรพื้นที่แสนลึกลับที่รอให้เราไปค้นพบความมหัศจรรย์กันดีกว่า

มหาสมุทรต่างกับทะเลยังไง ?

มหาสมุทรเป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่บนโลก โดยมี 5 มหาสมุทรด้วยกันบนโลก คือ มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุดอาร์กติก และมหาสมุทรใต้ โดยปกติทะเลจะมีขนาดเล็กกว่ามหาสมุทร และตั้งอยู่ในส่วนที่ติดกับพื้นทวีป หรือจะเรียกว่าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรก็ได้

  • 70% ของโลกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ มหาสมุทรจึงเป็นดินแดนลึกลับที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสำรวจได้ทั่วถึง
  • มหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีพื้นที่ถึง 30% ของพื้นผิวโลก
  • บริเวณทมหาสมุทรที่ลึกที่สุดในโลกคือ  ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งมีความลึกถึง 11 กิโลเมตร

  • ภูเขาที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ใต้มหาสมุทรหรือเรียกว่า เทือกเขากลางสมุทรโดยมีความยาวกว่า 56,000 กิโลเมตร
  • 70% ของอากาศที่เราหายใจ ถูกสร้างขึ้นจากมหาสมุทร
  • เกรตแบร์ริเออร์รีฟ คือแนวประการังที่ยาวที่สุดในโลก โดยมีความยาวกว่า 2,600 กิโลเมตร โดยสามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ด้วย
  • ตอนนี้เราสามารถสำรวจได้เพียง 5% ของมหาสมุทรทั้งหมดในโลก
  • ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอยู่ที่ประมาณ 3.6 กิโลเมตร
  • วันมหาสมุทรโลกคือวันที่ 8 มิถุนายน

  • พื้นมหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยขยะของมนุษย์จากการพยายามที่จะข้ามมหาสมุทร จากข้อมูลขององค์กร UNESCO พบว่ามีซากเรือกว่า 3 ล้านลำอยู่ใต้มหาสมุทร
  • ขยะ 6 พันล้านตันถูกทิ้งลงในมหาสมุทรทุกปี โดยส่วนมากเป็นขยะพลาสติก
  • 10,000 คอนเทนเนอร์ขนของ หล่นหายไปในทะเลทุกปี 
  • ในมหาสมุทรน้ำมีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1751 กว่า 30%
  • Harold Hackett ใส่ข้อความในขวดแก้วลงไปในมหาสมุทรกว่า 4800 ข้อความ และได้ข้อความตอบกลับกว่า 3,000 ข้อความ
  • สัตว์น้ำ 663 สายพันธุ์ถูกทำร้ายด้วยขยะพลาสติกทุกปี

อ่านต่อ : Natgeokids, Factslides, LiveScience , TV BECtero

 

TAG :
Writer Profile : Kreenp
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save