วันนี้ (26 สิงหาคม 2565) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ลงแถลงข่าวรายงานภาวะสังคมไทย Social situation and outlook ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม 2565
จากรายงานผลการศึกษาภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 พบสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาการหมดไฟในการทำงาน จากการศึกษาของ เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP ที่สำรวจ SMEs จำนวน 1,363 แห่ง จาก 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
โดยมี SMEs ในประเทศไทย จำนวน 207 แห่ง ระหว่างปี 2564 – 2565 พบว่า SMEs ไทยกว่าร้อยละ 47 มีพนักงานลาออกมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 12 เดือนที่แล้ว ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่ (The great resignation ซึ่งผลสำรวจของ The Adecco Group ในรายงานเรื่อง Resetting Normal: Defining the New Era of Work 2021 พบว่า พนักงานทั่วโลกมากกว่ากว่า 4 ใน 10 มีภาวะหมดไฟ
สอดคล้องกับการสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลในปี 2562 ที่ทำการสำรวจวัยแรงงานในกรุงเทพฯ จำนวน 1,280 คน และพบว่า ร้อยละ 12 อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน และร้อยละ 57 มีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ
ซึ่งกลุ่มอาชีพที่มีภาวะหมดไฟมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ 77%
2. พนักงานบริษัทเอกชน 73%
3. ข้าราชการ 58%
4. ธุรกิจส่วนตัว 48%
ทั้งนี้สาเหตุหลักของภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้แก่ ภาระงานที่หนัก เครื่องมือ การสนับสนุนในการทำงานที่ไม่เหมาะสม หัวหน้างานที่ขาดความรับผิดชอบไม่รับฟังความคิดเห็น และโครงสร้าง องค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่น
ดังนั้น นายจ้าง/องค์กรต่าง ๆ อาจการต้องกระตุ้นให้มีโครงการที่สร้างสรรค์และ ออกแบบให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน
ส่วนภาพรวมอื่น ๆ ตั้งแต่ไทยรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 พบว่า อัตราการว่างงานมีการปรับตัวดีขึ้น หนี้สินครัวเรือนกำลังขยายตัว 3.6% ขณะที่เงินเฟ้อสูงขึ้น กดดันให้ครัวเรือนต้องการสินเชื่อมากขึ้น
ด้านสาธารณสุขไตรมาสนี้ พบผู้ป่วยจากโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 50.6% จากโรคที่ว่ากับฤดูฝน นอกจานี้ยังต้องเฝ้าระวังผลกระทบทางด้านสุขภาพจากการใช้กัญชาที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง และกำชับประชาชนถึงความสำคัญของมาตรการป้องกันโรค COVID-19 ส่วนบุคคลต่อไป