มาอ่านสรุป TCAS ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลับรูปแบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2561 นี้ กันดีกว่า ว่าสรุปแล้วระบบใหม่นี้มันคืออะไรกันแน่? ต่างจากระบบเก่ายังไง? มีข้อดีอะไรบ้าง? แล้วต้องเตรียมสมัครวันไหน? น้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับม.ปลาย โดยเฉพาะคนที่ต้องใช้ระบบ TCAS ในการเข้ามหาวิทยาลัย ต้องมาอ่านกันให้ดีๆ เพื่อเตรียมความพร้อม !
TCAS คืออะไร ?
- TCAS เป็นระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ซึ่งย่อมาจาก Thai University Central Admission System
- ไม่ใช่ระบบเอ็นทรานซ์ แต่เป็นการรวมวิธีการรับนักศึกษาทั้ง 5 รูปแบบมาไว้ด้วยกัน
- สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net ตั้งแต่ 2 มิถุนายน เวลา 18:00 เป็นต้นไป
ต่างจากระบบเดิมยังไงบ้าง ?
- การสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
- GAT/ PAT จัดสอบระหว่างวันที่ 24 – 27 กุมภาพันธ์ 2561
- O-NET จัดสอบระหว่างวันที่ 3 – 4 มีนาคม 2561
- 9 วิชาสามัญ จัดสอบระหว่างวันที่ 17 – 18 มีนาคม 2561
- กสพท. และวิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย จัดสอบระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561
- นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม ภาษาเกาหลี เป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอบ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศด้วย
มีข้อดียังไงบ้าง ?
- เพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย
- ลดปัญหาการกันสิทธิ์คนอื่น (กั๊กที่)
- ลดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจน
- แก้ปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะระบบใหม่จะจัดช่วงเวลาการสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
รายละเอียดการคัดเลือก TCAS ทั้ง 5 รอบ (ปีการศึกษา 2561)
- รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก :
- ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
- ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2561
- ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
- ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
- รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษ
- คะแนนที่ต้องใช้ยื่น : GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – เมษายน 2561
- ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
- รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
- สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
- ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) ซึ่งที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง
- รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
- ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนปีที่ผ่านมา)
- รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
สำหรับเด็กซิ่ว
เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร โดยจะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้
*เด็กซิ่ว = เด็กที่ลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาแล้วกลับมาเข้าระบบเพื่อแอดมิชชั่นใหม่
สำหรับเด็กอินเตอร์
กระทรวงศึกษาธิการเผยว่า เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา โดยสามารถสมัครสอบ(ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด) ได้ 3 รูปแบบ คือ
- การสมัครในรอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 : การรับตรงร่วมกัน, การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- โดยต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
สำหรับเด็กที่จะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
นักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะสามารถสมัครในรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบที่ 4 (Admission) เพราะว่าจะเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 กลุ่มแล้ว
อย่างไรก็ตามสามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน เวลา 18:00 เป็นต้นไป
ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก
- https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_377485
- https://seniorswu.in.th/2017/tcas-admission/
- http://news.thaipbs.or.th/content/263032
- https://blog.eduzones.com/jetty/167926