ความฝันของนักเรียนม.ปลายหลายคน แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นต้องเป็นเรื่อง เรียนต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ ประเทศไทยได้มีระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ากว่าจะถึงปัจจุบันเราได้ใช้ระบบไหนกันบ้างและเป็นอย่างไร ปี 2504 Old Entrance สอบครั้งเดียว เลือก 6 อันดับ ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น 4 อันดับเท่านั้น ประกาศวันเดียว ครั้งเดียว ทั่วประเทศ ปี 2542 New Entrance สอบ 2 ครั้ง เลือกคะแนนที่ดีที่สุด เลือก 4 อันดับ ประกาศวันเดียว ครั้งเดียว ทั่วประเทศ + คิดคะแนน GPA 10% ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น 25% ปี 2549 Admissions GPAX 10% GPA 20% A-NET 0-35% O-NET 35-70% คะแนน A-NET และ O-NET แต่ละมหาลัยต่างกัน ปี 2553 Admissions GPAX 20% ยกเลิก A-NET O-NET 30% GAT PAT 50% – สอบ 4 ครั้ง + จัดการสอบ กสพท. สำหรับเด็กที่อยากเป็นหมอ ปี 2556 Admissions GPAX 20% O-NET 30% GAT PAT 50% – สอบ 2 ครั้ง + 7 วิชาสามัญ และ เริ่มระบบ Clearing House ปี 2559 Admissions GPAX 20% O-NET 30% GAT PAT 50% – สอบ 2 ครั้ง Clearing House เพื่อยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาสำหรับคนที่ติดรับตรงและตัดสิทธิ์ออกจากระบบแอดมิชชั่น + เปลี่ยนจาก 7 วิชาสามัญเป็น 9 วิชาสามัญเพื่อน้องๆ สายศิลป์ ปี 2561 TCAS มีทั้งหมด 5 รอบด้วยกัน รอบยื่น Portfolio รอบรับตรงโควตา รับตรงร่วมกัน Admission รับตรงอิสระ (รอบเก็บตก) ปี 2561 TCAS มีทั้งหมด 5 รอบด้วยกัน รอบยื่น Portfolio รอบรับตรงโควตา รับตรงร่วมกัน Admission รับตรงอิสระ (รอบเก็บตก) ————- เป็นยังไงบ้างคะ สำหรับระบบการศึกษาไทยของเรา ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงมากมายตั้งแต่การเปลี่ยนระบบ การเพิ่ม O-NET A-NET GATPAT และจาก 7 วิชาสามัญก็ขยายเป็น 9 วิชาสามัญอีกด้วย ทั้งยังมีระบบใหม่ที่ชื่อ TCAS ที่เพิ่งเปลี่ยนไปไม่นาน ในอนาคตคาดเดาไม่ได้เลยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกรึเปล่านะ ที่มา : unigang, seniorswu