Mango Zero

สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมสภา วันที่ 5 มิถุนายน 2562

หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของประเทศไทยอย่างวาระการโหวตเลือกนายกฯ ทางการจากประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมสภา วันที่ 5 มิถุนายน 2562 ได้ผ่านไปแล้ว โดยในค่ำคืนนั้นมีเหตุการณ์ที่ควรจดจำมากมายเกิดขึ้นเยอะมาก แต่เราได้สรุปเฉพาะสาระสำคัญมาเล่าให้ฟังอีกครั้ง

ตอนนี้ได้ข้อสรุปแล้วนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทยคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยชนะนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถึง 256 เสียง

ในการประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าประชุม 747 คนซึ่งประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา 250 คนสมาชิกผู้แทนราษฎร 497 คน และมีผู้ที่ไม่ได้เข้ารวมการประชุม  3 คน

  • ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ถูกติดสิทธิ์เข้าสภาโดยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ
  • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ลาออกจากการเป็นส.ส.
  • จุมพิตา จันทรขจร ที่ลาเพราะต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

การประชุมครั้งนี้มี ส.ส. เพิ่มเข้ามา 3 คนได้แก่

  • จิตภัสร์ กฤดากร จากพรรคประชาธิปัตย์
  • วทันยา วงษ์โอภาสี จากพรรคพลังประชารัฐ
  • ศรีนวล บุญลือ จากพรรคอนาคตใหม่

การประชุมครั้งนี้มีการเสนอชื่อเข้าชิงนายก 2 คนคือ

  • พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรคพลังประชารัฐ
  • นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคอนาคตใหม่

ผลสรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมสภาวันที่ 5 มิถุนายน 2562

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ 500 เสียงเป็นคะแนนจาก สว. 249 และจาก ส.ส. 251 เสียง
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ 244  เสียงเป็นคะแนนจาก สว. 0 และจากส.ส. 244  เสียง
ในการโหวตครั้งนี้มีการงดออกเสียง 3 คน
และเมื่อรวมผลคะแนนอย่างเป็นทางการแล้วได้ข้อสรุปว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นว่าที่นายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทย

ต่อมาหลังจากจบการเลือกตั้งนายกฯ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้แสดงวิสัยทัศน์นอกสภา และได้แถลงหลังการจบการเลือกตั้งนายกฯ ว่า “พวกเราไม่ได้ยอมแพ้ระหว่างทาง พวกเราได้ต่อสู้อย่างถึงที่สุด การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นเพียงสมรภูมิหนึ่งของการเดินทางสู่ประชาธิปไตย”

ส่วนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่มีแถลงการณ์อะไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งว่าที่นายกในครั้งนี้ สุดท้ายแล้วประเทศจะเดินทางไปในทิศทางไหนเราก็คงจะต้องลุ้นกันต่อไป

เกร็ดความรู้

การเลือกตั้งนายกครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งนายกแบบ “สองสภา” ซึ่งเป็นครั้งที่สองของประเทศไทย ที่ให้สว.มีสิทธิ์ในการครั้งแรกเลือกนายกฯ ครั้งแรกเกิดขึ้นในยุคของ จอมพลถนอม กิตติขจร และครั้งที่สองเกิดขึ้นในยุคของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา