Mango Zero

ว่าด้วยกรมทหาร 🇰🇷ส่องวัฒนธรรมรับใช้ชาติแบบฉบับเกาหลีใต้

ว่าด้วยกรมทหาร 🇰🇷ส่องวัฒนธรรมรับใช้ชาติแบบฉบับเกาหลีใต้ 

แฟนคลับศิลปินเกาหลีจะทราบกันดีว่าเมื่อถึงเวลา “โอป้าของเราก็ต้องโยกย้าย” หยุดพักกิจกรรมของวงเพื่อไปรับใช้ชาติตามกฎหมายเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ทำให้แฟนๆ มีความกังวลนิดๆ และคิดถึงกัน ซึ่งบางครั้งทางค่ายก็จะออกกำหนดการ หรือตัวศิลปินก็ได้ออกมาเขียนจดหมายถึงแฟนคลับ เพื่อให้คำมั่น กำลังใจ และแสดงความรักก่อนเดินทางเข้ากรม

เช่นเดียวกับในวงการซีรีส์หรือภาพยนตร์ ที่มักสะท้อนเรื่องราวในวงการทหารอยู่บ้าง แม้บางเรื่องจะแทรกมานิดๆ หรือเสียดสีชีวิตทหารทั้งเรื่อง (อย่าง D.P.) แต่ก็ถ่ายทอดออกมาเป็นวัฒนธรรมรับใช้ชาติที่ชายส่วนใหญ่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 

ซึ่งระบบทหารของของไทย vs เกาหลีทั้งใต้และเหนือก็มีทั้งความเหมือนและแตกต่างกัน นับเป็นเหรียญสองด้าน ดาบสองคม ที่เผยด้านมืดและสะท้อนความเจ็บช้ำของพลังเบื้องหลังแห่งกองทัพ เมื่อไม่ได้เป็นระบบที่ยุติธรรมขนาดนั้น หรือใช้ความสมัครใจ  

แต่เมื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยใหม่ เราจะเห็นได้ว่าเกาหลีใต้เริ่มผ่อนปรน หรือปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่น (นิ๊ดดดนึง) สำหรับศิลปิน K-POP ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

อย่างไรก็ตามค่านิยมทางการทหารสำหรับชายเกาหลียังคงเหนียวแน่นผ่านความเป็นชาติ ที่โยงใยไปถึงตัวตนในสังคม การทำงาน หรือ Connection เป็นเหมือนใบเบิกทางอีกหนึ่งใบ 

แล้ววัฒนธรรมการรับใช้ชาติของเกาหลีใต้เป็นแบบไหน ? มาเรียนรู้ไปพร้อมกัน.. วันทยาหัตถ์! เริ่ม! 

“ชายสัญชาติเกาหลีทุกคนต้องเข้ารับราชการทหารโดยสุจริต ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ” — กฎหมายรับราชการทหารสาธารณรัฐเกาหลี มาตราที่ 3

ทำไมปัจจุบันถึงยังมีการบังคับเกณฑ์ทหาร ? 

ถึงแม้ว่าสงครามเกาหลีจะยุติด้วยการหยุดยิง แต่ไม่ได้มีการลงนามสันติภาพ ทำให้ระบบรับใช้ชาติยังคงมีอยู่เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะสงครามที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยตามข้อบังคับฝึกทหารมีมาตั้งแต่ปี 1957 ทำให้ผู้ชายสัญชาติเกาหลีใต้ที่มีอายุ 18-28 ปี จะต้องเข้ากรมเพื่อรับการฝึกและปฏิบัติงานในระยะเวลา 18-24 เดือน (ซึ่งตอนนี้ยืดหยุ่นประมาณ 18-21 เดือน)     

โดยคนส่วนใหญ่มองว่าการเกณฑ์ทหารเป็นหน้าที่หนึ่ง และเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งทหารถือเป็นรั้วของชาติที่ช่วยรักษาอำนาจไปจนถึงทรัพยากรในประเทศ ดังนั้น ข่าวการหนีทหารของคนดังหรือไอดอลจึงกลายเป็นประเด็น เป็นเรื่องร้ายแรงที่สามารถดับอนาคต (ถูกประณาม) และดำเนินคดีทางกฎหมายได้  

โดยในกรมทหารยังมีวัฒนธรรมย่อยๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

ถึงแม้จะเป็นข้อบังคับ แต่ทางเกาหลีก็มีข้อยกเว้นการเกณฑ์ทหารที่คล้ายคลึงกับบ้านเราอยู่บ้าง โดยแบ่งได้เป็นหลายด้าน ดังนี้ 

แล้วใครผ่อนผันได้บ้าง ?

ตามข้อกำหนดก็จะเป็นบุคคลที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอย่างนักกีฬาโอลิมปิก, นักดนตรีคลาสสิกระดับโลก, ศิลปินเพลงดั้งเดิม และล่าสุดเพิ่มเติมขึ้นเป็นศิลปิน K-POP จากปรากฏการณ์ BTS ที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก เป็น Soft Power ที่สร้างเม็ดเงินมหาศาล เกิดการปรับกฎหมายจากเดิมที่จะต้องเข้าโดยไม่มีการผ่อนผันที่อายุ 28 ปี เป็นผ่อนผันได้นานสุดที่อายุ 30 ปีนั่นเอง แต่บุคคลนั้นจะต้องได้รับเสนอชื่อโดยกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลีใต้ (MCST) เท่านั้น

แล้วการเกณฑ์ทหาร มีประเภทไหนบ้าง ? จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

อย่างไรก็ตามทั้ง 2 แบบ จะต้องผ่านฝึกขั้นพื้นฐานก่อนภายในระยะ 4-5 สัปดาห์   

นอกจากนี้ แฟนๆ บางคนอาจจะเคยเห็นภาพอาหารในกรมทหาร ซึ่งจากเว็บไซต์ Campus Star ระบุว่า ปริมาณอาหารที่พลทหารต้องได้รับในแต่ละวัน จะตกอยู่ที่ประมาณ 3,100 แคลอรี่ ครบทั้งผัก แป้ง และโปรตีน แถมก็มีพลทหารได้รับหน้าที่พ่อครัวด้วย 

หากใครที่อยากส่องโลกทหารมากกว่านี้ ก็มีซีรีส์หลายประเภท หลากอารมณ์ ที่เสียดสีวงการทหาร 

 

ที่มา Lifestyle Campus, Creatrip, Dek-D