category รู้จักระดับความดังของเสียง คนเรารับเสียงดังได้มากแค่ไหน?

Writer : minn.una

: 4 ตุลาคม 2561

“หู” นับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายของเรา เพราะแทบจะทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน มักจะมี “เสียง” เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นทำให้แต่ละวัน หูของเราจะถูกใช้งานอย่างสารพัด

วันนี้เราเลยพามารู้จักกับ “ระดับความดังของเสียง” หรือ “เดซิเบล” ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดว่าเสียงที่เราเจอในชีวิตประจำวันควรดังประมาณไหน หรือดังแค่ไหนจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

โดยปกติแล้ว เสียงมีหน่วยวัดอยู่หลายหน่วย แต่เดซิเบล (dB) คือหน่วยการวัดระดับความดังเสียงที่เข้าใจง่ายและนิยมในปัจจุบัน โดยการวัดความดังเสียงในหน่วยเดซิเบล (เอ) จะถูกแบ่งออกเป็นระดับเทียบกับเสียงที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

  • ระดับเบามาก (0-20 dB) เช่น เสียงหายใจ เสียงกระซิบ นั่นแปลว่าเสียงที่มนุษย์เริ่มได้ยินก็คือตั้งแต่ 0 dB เลย
  • ระดับเบา (30-40 dB)ช่น เสียงในห้องสมุด เสียงห้องนอนตอนกลางคืน
  • ระดับปานกลาง (50-60 dB) เช่น  เสียงฝนตกเบาๆ เสียงพูดคุยทั่วไป
  • ระดับดัง (70-80 dB) เช่น เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงนกหวีด และไม่ควรฟังเสียงที่ดังตั้งแต่ 85 dB ขึ้นไปเป็นเวลานานๆ เพราะอาจสูญเสียการได้ยิน
  • ระดับดังมาก (90-100 dB) เช่น เสียงเครื่องตัดหญ้า เสียงโรงงาน
  • ระดับดังสุดๆ (110-140 dB) เช่น เสียงเพลงแดนซ์ในผับ เสียงคอนเสิร์ตร็อค เสียงเครื่องบินเจ็ต โดยไม่ควรได้รับเสียงตั้งแต่ 100-120 dB เกิน 1-2 ชม. และเมื่อเสียงดังถึง 130 dB จะเริ่มมีอาการปวดหู

เมื่อทราบกันแล้ว ใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มีเสียงดังบ่อยๆ เมื่อมีโอกาสก็ควรหลีกเลี่ยงนะ โดยสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้ ในกรณีที่มีการใช้เสียงดังบริเวณใกล้เคียง ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (2540) ซึ่งกำหนดมาตรฐานความดังเสียงทั่วไปสูงสุดไม่เกิน 115 dB

นอกจากนี้ บริเวณที่มีการก่อเสียงดังรบกวน เช่น

  • การตั้งวงเหล้า
  • จัดปาร์ตี้
  • เปิดเพลงเสียงดัง
  • ข้างบ้านตะโกนไฟไหม้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
  • สุนัขเห่า
  • เปิดทีวีเสียงดัง
  • เสียงคนทะเลาะกัน
  • ขนของเสียงดัง
  • เสียงก่อสร้างต่อเติมบ้าน

ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ส่วนเสียงสุนัขเห่า อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ที่มา : zen acoustic , geo noise

Writer Profile : minn.una
อดีตนักเรียนวารสารศาสตร์ รักการอ่าน (มากกว่าการเขียนนิดหน่อย) สนใจการเมืองและ K-POP ในเวลาเดียวกัน และเชื่อว่าตัวเองตลกขบขันอยู่ประมาณนึง
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save