เช็คก่อน! 4 สัญญาณไมเกรน โรคยอดฮิตพนักงานออฟฟิศ

Writer : Patta.pond

: 15 พฤศจิกายน 2562

เมื่อเข้าสู่ช่วงทำงานระยะหนึ่งแล้ว หลายคนมักเจอกับปัญหาออฟฟิศซินโดรม และยิ่งถ้างานนั้นๆมีความตึงเครียด หรือต้องอยู่ภายใต้สภาวะกดดันเป็นเวลานาน อาจเพิ่มฟังก์ชั่นไมเกรนเป็นอีกหนึ่งโรคประจำได้ ที่สำคัญคือหลายคนที่เป็นอยู่นั้นยังไม่รู้ตัว มาดูกันดีกว่าอาการของโรคนี้เป็นยังไงบ้าง เพื่อการป้องกันที่ทันการ ; )

 ไมเกรน เป็นโรคที่เกิดได้จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักอยู่ในช่วงอายะระหว่าง 25 – 30 ปี อาการหลักที่เกิดขึ้นคือ ปวดหัว คลื่นไส้ หงุดหงิด หรือมีอาการมองเห็นที่ผิดปกติรวมไปถึงมีพฤติกรรมที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนทั่วไป เช่น แสงจ้า เสียงดัง และกลิ่นฉุน และการเคลื่อนไหวต่างๆ

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นไมเกรนยังเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือแบบเป็นครั้งคราว มีระยะเวลาปวดหัวน้อยกว่า 15 วันต่อเดือน และแบบเรื้อรัง ปวดมากกว่า 15 วันต่อเดือน โดยระดับความรุนแรงของไมเกรนนั้น สามารถแบ่งได้ตามระยะอาการปวดหัว ดังนี้ 

ระยะนำ (Prodrome)

เป็นอาการก่อนที่จะมีอาการปวดหัวประมาณ 1-2 วัน และมีอาการคล้ายช่วงก่อนรอบเดือนในผู้หญิง นั่นก็คือมักปวดเมื่อยตามตัว อารมณ์แปรปรวน รวมถึงพฤติกรรมและความอยากอาหารมากกว่าปกติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางระบบสมองที่ควบคุมร่างกาย ถ้าเริ่มคิดว่าตัวเองเปลี่ยนไปโดยเฉพาะในผู้หญิง ต้องเฝ้าสังเกตและติดตามอาการได้แล้วนะ

ระยะเตือน (Aura)

คือการเตือนก่อนเกิดอาการปวดหัว เป็นได้ตั้งแต่ 5-60 นาที อาการนี้จะไม่เกิดกับทุกคน เป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ ซึ่งแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น มองเห็นแสงกระพริบ  แสงซิกแซกเป็นเส้นคลื่น หรือรู้สึกชาที่มือหรือเท้า การพูดลำบาก พูดไม่ชัด ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆเริ่มเกิดขึ้นและจะยังคงมีความรู้สึกนี้เป็นชั่วโมง

ระยะปวดศีรษะ (Headache)

หลายคนเริ่มรู้ตัวว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคไมเกรนในขั้นนี้ นั่นก็คือการปวดหัวข้างเดียวนั่นเอง โดยจะเริ่มจากการปวดด้านใดด้านหนึ่งแบบตุบ ๆ ตามจังหวะหัวใจเต้น มักจะมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน บางคนอาจไวต่อแสงหรือเสียงดัง ซึ่งอาการปวดอาจยาวนาน 4-72 ชั่วโมง เลยทีเดียว 

ระยะหลังจากปวดศีรษะ (Resolution)

เรียกอีกอย่างว่าระยะพัก เป็นช่วงที่อาการต่างๆ ทุเลาลง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งอาจกินระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากหายปวด

วิธีการรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด วิธีการในตอนนี้จึงเป็นการรับมือกับอาการปวดเพื่อทำให้อาการลดลงเร็วที่สุด หรือสามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งมีทั้งแบบการใช้ยา และไม่ใช้ยา ก็คือการหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าต่างๆ เมื่อเกิดอาการ และนอนหลับพักผ่อนให้มากที่สุดนั่นเอง

และเพื่อเป็นการป้องกัน ควรดูแลร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นไมเกรนมากขึ้น ทั้งการนอนหลับให้เพียงพอประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาการและความปวดหัวที่เกิดขึ้น ซึ่งทำได้ด้วยแอปฯ  “SMILE MIGRAINE APPLICATION” ที่สามารถรายงานข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหัว ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญไมเกรนได้อีกด้วย

 อีกทั้งหากผู้ป่วยมีอาการมากกว่าปวดศีรษะจนผิดสังเกต เช่น มีไข้สูง ตาเห็นภาพซ้อน ตาเหล่ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรืออาการปวดหัวชนิดที่แปลกออกไปแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน เช่น ปวดต่อเนื่องยาวนานไม่ดีขึ้นแม้ใช้ยา แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก พูดไม่ออก ถ้ามีอาการแบบนี้ต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

อย่าลืมสังเกตความเปลี่ยนแปลงในตัว เพราะไม่ใครเข้าใจเราได้ดีไปกว่าตัวเองอีกแล้ว

ที่มา Smile Migraine Community

เลือกซื้อวิตามินเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ที่นี่

 

TAG :
Writer Profile : Patta.pond
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save