เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ที่เอสซีจีได้นำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ให้กับชุมชนในภาคเหนือ เริ่มจากจังหวัดลำปางเมื่อปี 2550 มาจนถึงปัจจุบันเอสซีจีได้ทำโครงการเกี่ยวกับน้ำอย่างจริงจังกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย เราในฐานะคนภาคกลางที่ไม่ได้มีปัญหาน้ำป่าไหลหลากหรือการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งก็อาจจะไม่ได้รู้จักกับโครงการนี้ดีนัก บทความนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะสร้างความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ผ่านโครงการ ‘รักษ์น้ำ …จากภูผา สู่มหานที’ ที่ในปีนี้เอสซีจีได้นำทีมไปสร้างบ้านปลาที่บ้านมดตะนอยจังหวัดตรังทางภาคใต้ รู้จักโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที” เป็นโครงการที่ทุกภาคส่วนร่วมกันเพื่อช่วยกันดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรต่างๆ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีแผนจะวางบ้านปลาในพื้นที่ภาคใต้ให้ได้ครบ 400 หลังภายในปีนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ คืนความสมดุลสู่ระบบนิเวศทางทะเล และตั้งใจให้ชุมชนแห่งนี้เป็นต้นแบบขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ จากการพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นอีกด้วย โดยเอสซีจี จะสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งและร่วมกันสร้างต้นน้ำที่ดีเพื่อปลายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ทำไมต้องสร้างบ้านปลา? การสร้างบ้านปลาเป็นอีกส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการน้ำ เราสร้างฝายเพื่อชะลอการไหลของน้ำเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วม เรามีการจัดการระบบแก้มลิงเพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์สูงสุดเมื่อมาถึงหน้าแล้ง การสร้างบ้านปลานั้นมีประโยชน์ดังนี้ เป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ ทั้งในแง่ชนิดและจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่บริเวณบ้านปลาที่วางไม่น้อยกว่า 10 ชนิด เพิ่มแหล่งทำประมงใกล้ชายฝั่ง เพิ่มพื้นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล สิ่งที่ชุมชนบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง เผชิญ ปัญหาที่เกิด : ชุมชนบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นอีกหนึ่งชุมชนประมงพื้นบ้านที่มีความเข้มแข็ง แต่ช่วงหลังทุกๆ ปีที่ผ่านมา ชุมชนประสบปัญหาไม่สามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้ในหน้ามรสุม (มิ.ย. – ก.ย.) เพราะมรสุมที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้รายได้เลี้ยงชีพของชาวประมงไม่เพียงพอ วิธีการแก้ปัญหา : ต้องสร้างบ้านปลาหรือซั้งกอ ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลและพักพิงของสัตว์น้ำมาช่วยเพิ่มทรัพยากรปลาและสัตว์น้ำบริเวณคลองบ้านมดตะนอยและคลองลัดเจ้าไหม ประโยชน์ของการสร้างบ้านปลา : บ้านปลาจะทำให้ชาวประมงสามารถทำการประมงได้แม้ในช่วงหน้ามรสุม โดยไม่ต้องนำเรือออกไปในทะเลใหญ่ ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นและเกิดการประกอบอาชีพประมงอย่างยั่งยืนอีกด้วย นวัตกรรมที่ SCG นำมาใช้สร้างบ้านปลาให้ชุมชนบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง เอสซีจีกับชาวชุมชน ได้ร่วมมือกับจังหวัดตรัง หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และภาคีอื่น ๆ เช่น มูลนิธิอันดามัน และกลุ่มพิทักษ์ดุหยง สานต่อการสร้างบ้านปลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำนวัตกรรมมาใช้สร้างบ้านปลา ได้แก่ ปูนทนน้ำทะเล : ปูนทนน้ำทะเลจะทนสภาพแวดล้อมได้สูงกว่าปูนซีเมนต์ทั่วไป ทำให้คอนกรีตมีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมแม้อยู่ใต้ท้องทะเล 3D Printing : ช่วยตอบสนองความต้องการด้านงานออกแบบได้มากขึ้น ทั้งยังประหยัดเหล็กโครงสร้าง แต่ยังคงความแข็งแรงทนทานตามแบบฉบับงานคอนกรีต ซึ่งบ้านปลาจะช่วยเพิ่มแหล่งทำประมงใกล้ชายฝั่ง คืนวิถีชีวิตที่ยั่งยืนให้ประมงพื้นบ้าน ผลที่ได้จากโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที” โครงการนี้จะส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีผลผลิตเพิ่ม มีรายได้สูงขึ้น เกิดความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชนที่ต้องการยืนหยัดด้วยตนเอง เกิดการศึกษาที่สามารถกระจายความรู้ไปสู่ชุมชนรอบๆ ได้เพิ่มขึ้น เกิดการส่งต่อแนวคิดให้เยาวชนคนรุ่นหลังและจิตอาสาสืบสานสู่แนวปฏิบัติบริหารจัดการน้ำร่วมกันเพื่อทุกชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป 🙂 ติดตามโครงการของ SCG ต่อได้ที่ : www.scg.com หรือ https://www.facebook.com/drawingthefuture/