รีวิวปีน ‘ภูเขาไฟฟูจิ’ ฉบับมือใหม่หัดปีน เส้นทาง ‘โยชิดะเทรล’
สำหรับสายเทคกิ้งหรือนักปีนเขามือสมัครเล่นที่มองหาความท้าทายในการไปพิชิตยอดภูเขาสูงแบบที่ไม่ต้องโหดร้ายมากนัก เชื่อว่าภูเขาไฟฟูจิ คือหนึ่งในเป้าหมายที่นักปีนเขาทุกคนอยากจะไปให้ถึงจุดสูงสุดของญี่ปุ่นด้วยขาทั้งสองข้าง
สำหรับคนที่อาจจะไป แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ‘แซม So Nice’ หนึ่งในทีมงาน Mango Zero ได้ไปปีนภูเขาไฟฟูจิ มาแล้วและนี่คือประสบการณ์จากเรา
รู้จักกับภูเขาไฟฟูจิก่อนไปพิชิต
ก่อนจะไปถึงภูเขาไฟฟูจิ เรามารู้จักรายละเอียดคร่าวๆ ของภูเขาไฟลูกนี้กันก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจในภูเขาลูกนี้มากขึ้น รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางไปยังภูเขาไฟลูกนี้เพื่อความอิน
- ภูเขาไฟฟูจิ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นกินอาณาบริเวณถึง 3 จังหวัดมีทั้งสิ้น 10 สถานี ความสูงทั้งสิ้น 3,776 เมตร
- ทางขึ้นที่คนนิยมไปมากที่สุดเพราะปีนง่าย และเหมาะกับมือใหม่ก็คือ ‘โยชิดะเทรล’ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดคาวากูชิโกะ โดยเริ่มต้นปีนจากสถานีที่ 5 ซึ่งเป็นจุดที่รถขึ้นมาถึงหลังจากนั้นต้องเดินล้วนๆ ระยะทางประมาณ 1,546.4 เมตร ดังนั้นมือใหม่แนะนำให้มาเส้นทางนี้จะดีที่สุด
- ฤดูที่เปิดให้ปีนภูเขาไฟคือกรกฏาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน หลังจากนั้นจะปิดเนื่องจากอากาศด้านบนจะหนาวนรกมากๆ
- ในอดีตตอนที่สำรวจความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ครั้งแรกผู้สำรวจถือคบเพลิงเดินขึ้นเขา ถ้าไฟดับตรงไหนก็นับเป็น 1 สถานี
- ฤดูที่เปิดให้ปีนภูเขาไฟคือกรกฏาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน หลังจากนั้นจะปิดเนื่องจากอากาศด้านบนจะหนาวนรกมากๆ
- ในอดีตตอนที่สำรวจความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ครั้งแรกผู้สำรวจถือคบเพลิงเดินขึ้นเขา ถ้าไฟดับตรงไหนก็นับเป็น 1 สถานี
- สถานีที่ใช้เวลาเดินนานที่สุดคือสถานี 7 – 8 ระยะเวลาเฉลี่ย 3 ชั่วโมงหรืออาจมากกว่านี้
- แม้จะเป็นฤดูร้อน แต่ก็มีโอกาสที่พายุจะเข้าซึ่งบนเขาถ้าฝนตก การเดินขึ้นฟูจิก็เป็นเรื่องที่ทรหดสุดๆ (เราโชคดีไปวันที่อากาศดี ฟ้าเปิด มองเห็นวิวสวยงามมาก แต่หลังจากลงมาฝนตกกระหน่ำไปอีกหลายวัน)
- ภูเขามีอากาศเป็นของตัวเอง ดังนั้นภาวนาให้อากาศดีแค่นั้นแหละ
- ค่าธรรมเนียมขึ้นฟูจิ 1,000 เยน
การเดินทางไปคาวาคูจิโกะ จากโตเกียว
การเดินทางไปปีนฟูจิ เพื่อไปให้ถึงสถานีที่ 5 สามารถทำได้ 2 แบบสำหรับนักท่องเที่ยวนั้นสามารถใช้บริการขนส่งมวลชนได้ตามสะดวกดังนี้
- รถไฟ และต่อรถบัส : นั่งรถไฟจากสถานีชินจูกุ ไปสถานีคาวาคูจิโกะ ได้เลย ซึ่งต่อรถไฟไม่เกิน 3 สาย ใช้เวลาเดินทางราว 2 – 3 ชั่วโมง (ของเราต่อรถไฟทั้งสิ้น 3 สายเนื่องจากพลาดรถไฟที่เดินทางสองชั่วโมงถึง) ค่าใช้จ่าย 2,140 เยน แล้วต่อรถบัสไปสถานที่ 5 บนภูเขาไฟฟูจิ 1,100 เยน
- รถบัสยาวๆ : หากไปรถบัสสามารถขึ้นได้ที่สถานีชินจูกุ ไปได้เลยระยะเวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง ราคา 1,750 เยน ก็ถืงสถานีคาวาคูจิโกะแล้วต่อรถท้องถิ่นไปอีกหนึ่งชั่วโมงราคา 1,100 เยน หรือถ้าจะไปสถานีที่ 5 ของภูเขาไฟฟูจิเลย ราคาตั๋วอยู่ที่ 2,700 เยน (แต่ต้องจอง ใครบอกว่าไม่จองก็ได้ไม่เต็ม อย่าไปเชื่อ เราเจอมาแล้ว ฮืออออ)
- แท็กซี่ : อาจจะสะดวกสบายก็จริง แต่ไม่ควรเพราะจะหมดตัวเอาได้ง่ายๆ ราคาอยู่ที่ 40,500 เยน มากัน 4 คนก็ไม่คุ้มอยู่ดี
การเตรียมตัวก่อนขึ้นยอดฟูเขาไฟฟูจิ
หลังจากที่มาถึงคาวาคูจิโกะ แล้วการจะปีนขึ้นยอดฟูจิไปโดยที่ไม่เตรียมอะไรไปเลยนั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ เพราะในความเป็นจริงแล้ว การปีนขึ้นฟูจิ แม้จะไม่ได้อันตรายเหมือนพิชิตยอดเขาอื่นๆ ที่สูงกว่านี้
แต่หากเตรียมตัวมาดีการปีนก็จะราบรื่น ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณนึงลย มาดูกันว่าก่อนจะพิชิตฟูจิ มีสิ่งใดที่ต้องเตรียมตัวไปก่อนเนิ่นๆ บ้าง
- รองเท้า ควรเป็นรองเท้าที่พื้นหนาๆ หน่อยพวกรองเท้าวิ่งเทรล ถือว่าลุยได้ แต่ส่วนตัวเราใส่รองเท้าวิ่งแบบหุ้มข้อ (Nike Lunarepic Flyknit High) ขึ้นไปซึ่งเดินขึ้นไม่มีปัญหา แต่เดินลงนี่ลื่นล้มไปรอบนึง ถ้าเป็นรองเท้าเทรล หรือรองเท้าเดินป่าจะเห็นประโยชน์ตอนขาลงนี่แหละ มีคนเปรี้ยวใส่รองเท้าผ้าใบที่ไม่มีซัพพอร์ต ซึ่งทำให้การขึ้นฟูจิ และลงฟูจิ เป็นหายนะเลย
- เสื้อกันหนาวที่สามารถกันอุณหภูมิได้ราว 0 – 4 องศา ด้านบนอากาศหนาว ดังนั้นพยายามทำยังไงก็ได้ให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่เทอะทะก็พอ กระนั้นเราก็เห็นนักปีนเขา บางคนใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ เสื้อกันลม หรือเสื้อขนเป็ดขึ้นฟูจิเหมือนกัน ซึ่งวันที่เราไปปีนก็ไม่ได้หนาวมาก กำลังดี
- ไม้เท้าจำเป็นมากพอๆ เหมือนเรามีขาที่สามในการช่วยพยุงร่างกาย ไม่พบว่ามีนักปีนเขาหน้าใหม่คนไหนไม่ใช้ไม้เท้าในการช่วยเดินขึ้นเขา (ยกเว้นนักวิ่งเทรล) ใครไม่มีไม้เท้าปีนเขาบอกเลยว่าโคตรพลาด มันจำเป็นจริงๆ นะ
- ไฟฉายคาดหัว หรือเฮดแลมป์ มีความสำคัญไม่ต่างอะไรกับตาที่สาม เนื่องจากการปีนเราต้องใช้มือคอยช่วยด้วย การถือไฟฉายธรรดาๆ นั้นจะทำให้ความสามารถในการขึ้นเขาลดลง 70% ดังนั้นเฮดแลมป์โคตรจำเป็น อย่าทำเก๋าโดยการไม่เตรียมขึ้นไป
- เป้ใส่ของ แนะนำเป้แบบทะมัดทะแมน เพื่อความคล่องตัว และความจุในการขนของ
- การขึ้นฟูจิ มีสองแบบคือ เดินขึ้นตอนค่ำแล้วไปรอชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าแล้วลงเลย ซึ่งการเดินขึ้นจะใช้เวลาราวๆ 6 – 7 ชั่วโมงโดยประมาณขึ้นอยู่กับความฟิต
- หรือจะขึ้นไปพักที่ชั้น 7 หรือ 8 ก่อนเพื่อนอนเอาแรง แล้วค่อยเดินขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนตีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปในช่วงเทศกาลขึ้นภูเขาไฟฟูจิ ด้านบนมีที่พักเหลืออยู่บ้าง แต่ทางที่ดีควรจอง โดยเราพักที่ชั้น 7 เชลเตอร์ชื่อว่า TomeKun
- ไฟฉายคาดหัว หรือเฮดแลมป์ มีความสำคัญไม่ต่างอะไรกับตาที่สาม เนื่องจากการปีนเราต้องใช้มือคอยช่วยด้วย การถือไฟฉายธรรดาๆ นั้นจะทำให้ความสามารถในการขึ้นเขาลดลง 70% ดังนั้นเฮดแลมป์โคตรจำเป็น อย่าทำเก๋าโดยการไม่เตรียมขึ้นไป
- เป้ใส่ของ แนะนำเป้แบบทะมัดทะแมน เพื่อความคล่องตัว และความจุในการขนของ
- การขึ้นฟูจิ มีสองแบบคือ เดินขึ้นตอนค่ำแล้วไปรอชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าแล้วลงเลย ซึ่งการเดินขึ้นจะใช้เวลาราวๆ 6 – 7 ชั่วโมงโดยประมาณขึ้นอยู่กับความฟิต
- หรือจะขึ้นไปพักที่ชั้น 7 หรือ 8 ก่อนเพื่อนอนเอาแรง แล้วค่อยเดินขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนตีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปในช่วงเทศกาลขึ้นภูเขาไฟฟูจิ ด้านบนมีที่พักเหลืออยู่บ้าง แต่ทางที่ดีควรจอง โดยเราพักที่ชั้น 7 เชลเตอร์ชื่อว่า TomeKun
- ถ้าไม่อยากพักในเชลเตอร์ ก็สามารถเอาถุงนอนไปกางนอนได้ มีนักปีนเขาหลายคนกางถุงนอนแล้วหามุมหลบนอน เพื่อพักผ่อน แต่ถุงนอนควรจะหนาหน่อย เพราะลมแรง แต่ไม่มีน้ำค้าง ดังนั้นสบายใจได้เรื่องความเปียกชื้น เนื่องจากความสูงที่เราอยู่นั้นมันเหนือเมฆของแท้
- เอาครีมกันแดด ไปด้วยเนื่องจากด้านบนแดดแรงมาก เพราะไม่มีเมฆบังแดดเลย (เราอยู่เหนือเมฆนี่เนอะ) ถ้าไม่อยากเกรียมเตรียมไปด้วย
- เพราะบนภูเขาอากาศเปลี่ยนได้ตลอดอาจจะเจอฝนมาทักทาย เตรียมเสื้อกันฝนดีๆ ประเภทเสื้อกันฝนพลาสติกราคา 29 บาทอาจจะลำบากหน่อยนะ
- เตรียมอาหารให้พลังงานให้พร้อมและน้ำเตรียมไปให้เพียงพอ เนื่องจากด้านบนของราคามหาโหดมากๆ น้ำขวดละ 500 เยน, ช็อคโกแลตแท่งละ 400 – 500 เยน, เจลพลังงาน 600 เยน บางคนขึ้นเขาร่างกายจะใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ (เช่นผมนี่แหละ) ร่างกายจะโหยมากๆ ดังนั้นเตรียมไปเถอะ ซื้อจากด้านล่างไปถูกกว่ามาก
- เตรียมเหรียญ 100 เยนไปเยอะๆ เพราะบนเขาไม่รับแลกเหรียญ ซึ่งเหรียญจำเป็นตรงที่เอาไว้เข้าห้องน้ำ ครั้งละ 200 – 300 เยน ถ้าไม่มีเหรียญก็ต้องแตกแบงค์เพื่อขอเหรียญแน่นอนเปลืองไปอี๊ก!!
- เตรียมอาหารให้พลังงานให้พร้อมและน้ำเตรียมไปให้เพียงพอ เนื่องจากด้านบนของราคามหาโหดมากๆ น้ำขวดละ 500 เยน, ช็อคโกแลตแท่งละ 400 – 500 เยน, เจลพลังงาน 600 เยน บางคนขึ้นเขาร่างกายจะใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ (เช่นผมนี่แหละ) ร่างกายจะโหยมากๆ ดังนั้นเตรียมไปเถอะ ซื้อจากด้านล่างไปถูกกว่ามาก
- เตรียมเหรียญ 100 เยนไปเยอะๆ เพราะบนเขาไม่รับแลกเหรียญ ซึ่งเหรียญจำเป็นตรงที่เอาไว้เข้าห้องน้ำ ครั้งละ 200 – 300 เยน ถ้าไม่มีเหรียญก็ต้องแตกแบงค์เพื่อขอเหรียญแน่นอนเปลืองไปอี๊ก!!
ระหว่างขึ้น Mr.Fuji มีอะไรบ้าง
สำหรับคนที่ยังไม่เคยเดินขึ้นไปด้านบนแล้วกำลังสงสัยว่าด้านบนเมื่อปีไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นอะไรบ้าง หรือตลอดสองข้างทางเป็นอย่างไรกว่าจะไปถึงยอด นี่คือแนวข้อสอบจากเราให้เตรียมตัวไว้ว่าจะพบอะไร
- ช่วงสถานีที่ 5 ไปสถานีที่ 6 คุณจะไม่ได้เห็นอะไรมากเท่าไหร่นอกจากเมฆ หมอก และป่าไม้รอบๆ ความชันระดับเบสิคไม่โหดหิน บางคนอาจจะงงว่าทำไมมีป่า มีต้นไม้ด้วย เห็นในภาพถ่ายภูเขาไฟมันก็โล้นๆ นี่หว่า ใช่…ด้านบนน่ะโล้น แต่ช่วงด้านล่างก็ป่าทึบดีๆ นี่เอง
- สถานีที่ 6 ไปจนถึงสถานีที่ 7 คุณจะเริ่มไต่สู้กับความชัน และทัศนียภาพรอบข้างเปลี่ยนไป จากป่า กลายเป็นหิน หิน และหิน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอดีตลาวาที่เคยปะทุออกมาเมื่อ 309 ปีก่อน เราจะได้เจอหินรูปร่างประหลาด และก้อนกรวดสีดำมหาศาล ซึ่งทำให้การเดินขึ้นของเราค่อนข้างจะลื่นเอาได้
- ระหว่างสถานีที่ 7 หากคุณมาในช่วงอากาศดีฝนไม่ตก มองไปด้านหลังคุณจะเริ่มเห็นว่าเมฆ นั้นอยู่ต่ำกว่าคุณ และมองเห็นทะเลเมฆไกลสุดลูกหูลูกตาซึ่งวิวนี้แหละจะอยู่เป็นเพื่อนคุณไปยัน Fuji Summit บางช่วงอาจจะได้เห็นเมืองด้านล่างด้วย
- ระหว่างทางตั้งแต่สถานีที่ 6 ไปจนถึง Fuji Summit (สถานีที่ 10 ) จะมีเชลเตอร์ หรือที่พักกระจายอยู่โดยรอบให้บริการที่พักและอาหาร ที่พักจะเป็นลักษณะเหมือนเตียงรวมเด็กหอที่มีแค่ถุงนอนกับหมอนไว้พอแค่พักผ่อน เพราะนอนแป๊บเดียวก็ต้องปีนต่อ แน่นอนว่าราคาโหดสัสมากๆ อยู่ที่คืนละ 2,400 บาทไทย
- วิวยิ่งสูง ยิ่งสวย หากคุณอยากจะเดินไปให้ทันดูแสงแรกของวันก็ควรจะรีบเดินขึ้นตั้งแต่เที่ยงคืน (กรณีที่พักชั้น 7) ระหว่างเดินขึ้นสูงทางจะยิ่งชันมากขึ้นเรื่อยๆ สลับกับทางเดินปกติ แต่ไฮไลท์คือวิวที่โคตรสวยที่สุดจะอยู่กับคุณไปจนถึงยอดเขา
- ระหว่างทางตั้งแต่สถานีที่ 6 ไปจนถึง Fuji Summit (สถานีที่ 10 ) จะมีเชลเตอร์ หรือที่พักกระจายอยู่โดยรอบให้บริการที่พักและอาหาร ที่พักจะเป็นลักษณะเหมือนเตียงรวมเด็กหอที่มีแค่ถุงนอนกับหมอนไว้พอแค่พักผ่อน เพราะนอนแป๊บเดียวก็ต้องปีนต่อ แน่นอนว่าราคาโหดสัสมากๆ อยู่ที่คืนละ 2,400 บาทไทย
- วิวยิ่งสูง ยิ่งสวย หากคุณอยากจะเดินไปให้ทันดูแสงแรกของวันก็ควรจะรีบเดินขึ้นตั้งแต่เที่ยงคืน (กรณีที่พักชั้น 7) ระหว่างเดินขึ้นสูงทางจะยิ่งชันมากขึ้นเรื่อยๆ สลับกับทางเดินปกติ แต่ไฮไลท์คือวิวที่โคตรสวยที่สุดจะอยู่กับคุณไปจนถึงยอดเขา
- ไปถึงยอดฟูจิ คุณสามารถเดินชมรอบๆ ปากปล่องได้ใช้เวลาไม่นานเท่าไหร่ ถ้าแรงยังเหลือก็เดินได้เลย ด้านบนนี้วิวโคตรสวยที่สุดเท่าที่ขาสองข้างคุณจะพามาถึง เห็นวิวครั้งแรก บอกตามตรงว่าน้ำตาแทบไหล มันสวยจนภาพถ่ายไม่สามารถเก็บได้หมด
- ทางลงเขาอยู่คนล่ะด้านกับทางขึ้น แต่จะไปบรรจบกันตรงชั้นที่ 6 ซึ่งทางลงลาดชันมากกก
- ตอนลงดูป้ายดีๆ ขึ้นโยชิดะเทรล ก็ต้องลงโยชิดะเทรล ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวไปโผล่อีกจังหวัด
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรรู้จะได้ไม่พลาด
- ตรงข้ามสถานีคาวาคูจิโกะ มีร้านขายอุปกรณ์ปีนเขาที่จำเป็น แต่บางอย่างเช่นเฮดแลมป์, เจลพลังงาน, ไม้เท้า สามารถซื้อได้ที่เซเว่นฯ ซึ่งอยู่ถัดไปจากร้านนั้นอีกนิดเดียวในราคาที่ถูกกว่ามาก!! แต่ถ้าของใหญ่ หรือเสื้อกันหนาว ต้องร้านนี้เท่านั้น มีร้านเดียว
- ไม้เท้าขึ้นฟูจิ มีขายหลายที่แต่ราคาไม่เท่ากัน ถ้าซื้อที่สถานีคาวาคูจิโกะ เลยจะแพงที่สุดอยู่ที่ 1,600 เยน แพงกว่าซื้อบนเขาอีก เพราะบนฟูจิสถานีที่ 5 ขายอยู่ที่ 900 – 1,200 เยน แต่…ถ้าเดินข้ามถนนไปซื้อที่เซเว่นฯ เยื้องกับสถานีคาวาคูจิโกะ 650 เยนเท่านั้น ถูกสัส
- ช่วงที่ฟูจิจะเต็มไปด้วยนักปีนเขาคือวันภูเขา ซึ่งตรงกับวันที่ 11 สิงหาคมของทุกปี (และตรงกับวันหยุดยาวสัปดาห์หนึ่งของญี่ปุ่น หรือเทศกาลโอบ้ง) ดังนั้นช่วงนี้หรือก่อนหน้านี้คนจะเยอะมากๆ ถ้ารู้ว่าจะมาปีนช่วงนี้ควรจองรถ และที่พักแต่เนิ่นๆ
- ด้านบนค่าครองชีพสูงยิ่งกว่าในโตเกียวเสียอีก คำนวนการใช้จ่ายดีๆ อย่าเปย์เยอะ
- มีล็อคเกอร์เก็บของที่สถานีคาวาคูจิโกะ แนะนำให้ฝากกระเป๋าสัมภาระทั้งหลายได้ที่นั่นเลย ถ้าล็อคเกอร์ที่สถานีเต็ม บริเวณรอบๆ มีร้านรับฝากของ หรือให้บริการล็อคเกอร์หยอดเหรียญด้วย
- มีเวลาอยากให้พักอยู่ในคาวาคูจิโกะ อีกวันแล้วปั่นจักรยานเที่ยวรอบทะเลสาบคาวาคูจิโกะ และทะเลสาบไซโกะ ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร แต่วิวและเมืองนั้นสวยมากกกกกกก โดยเฉพาะทะเลสาบไซโกะ เงียบสงบสุดๆ