รีวิวปีน ‘ภูเขาไฟฟูจิ’ ฉบับมือใหม่หัดปีน เส้นทาง ‘โยชิดะเทรล’ สำหรับสายเทคกิ้งหรือนักปีนเขามือสมัครเล่นที่มองหาความท้าทายในการไปพิชิตยอดภูเขาสูงแบบที่ไม่ต้องโหดร้ายมากนัก เชื่อว่าภูเขาไฟฟูจิ คือหนึ่งในเป้าหมายที่นักปีนเขาทุกคนอยากจะไปให้ถึงจุดสูงสุดของญี่ปุ่นด้วยขาทั้งสองข้าง สำหรับคนที่อาจจะไป แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ‘แซม So Nice’ หนึ่งในทีมงาน Mango Zero ได้ไปปีนภูเขาไฟฟูจิ มาแล้วและนี่คือประสบการณ์จากเรา รู้จักกับภูเขาไฟฟูจิก่อนไปพิชิต ก่อนจะไปถึงภูเขาไฟฟูจิ เรามารู้จักรายละเอียดคร่าวๆ ของภูเขาไฟลูกนี้กันก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจในภูเขาลูกนี้มากขึ้น รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางไปยังภูเขาไฟลูกนี้เพื่อความอิน ภูเขาไฟฟูจิ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นกินอาณาบริเวณถึง 3 จังหวัดมีทั้งสิ้น 10 สถานี ความสูงทั้งสิ้น 3,776 เมตร ทางขึ้นที่คนนิยมไปมากที่สุดเพราะปีนง่าย และเหมาะกับมือใหม่ก็คือ ‘โยชิดะเทรล’ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดคาวากูชิโกะ โดยเริ่มต้นปีนจากสถานีที่ 5 ซึ่งเป็นจุดที่รถขึ้นมาถึงหลังจากนั้นต้องเดินล้วนๆ ระยะทางประมาณ 1,546.4 เมตร ดังนั้นมือใหม่แนะนำให้มาเส้นทางนี้จะดีที่สุด ฤดูที่เปิดให้ปีนภูเขาไฟคือกรกฏาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน หลังจากนั้นจะปิดเนื่องจากอากาศด้านบนจะหนาวนรกมากๆ ในอดีตตอนที่สำรวจความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ครั้งแรกผู้สำรวจถือคบเพลิงเดินขึ้นเขา ถ้าไฟดับตรงไหนก็นับเป็น 1 สถานี ฤดูที่เปิดให้ปีนภูเขาไฟคือกรกฏาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน หลังจากนั้นจะปิดเนื่องจากอากาศด้านบนจะหนาวนรกมากๆ ในอดีตตอนที่สำรวจความสูงของภูเขาไฟฟูจิ ครั้งแรกผู้สำรวจถือคบเพลิงเดินขึ้นเขา ถ้าไฟดับตรงไหนก็นับเป็น 1 สถานี สถานีที่ใช้เวลาเดินนานที่สุดคือสถานี 7 – 8 ระยะเวลาเฉลี่ย 3 ชั่วโมงหรืออาจมากกว่านี้ แม้จะเป็นฤดูร้อน แต่ก็มีโอกาสที่พายุจะเข้าซึ่งบนเขาถ้าฝนตก การเดินขึ้นฟูจิก็เป็นเรื่องที่ทรหดสุดๆ (เราโชคดีไปวันที่อากาศดี ฟ้าเปิด มองเห็นวิวสวยงามมาก แต่หลังจากลงมาฝนตกกระหน่ำไปอีกหลายวัน) ภูเขามีอากาศเป็นของตัวเอง ดังนั้นภาวนาให้อากาศดีแค่นั้นแหละ ค่าธรรมเนียมขึ้นฟูจิ 1,000 เยน การเดินทางไปคาวาคูจิโกะ จากโตเกียว การเดินทางไปปีนฟูจิ เพื่อไปให้ถึงสถานีที่ 5 สามารถทำได้ 2 แบบสำหรับนักท่องเที่ยวนั้นสามารถใช้บริการขนส่งมวลชนได้ตามสะดวกดังนี้ รถไฟ และต่อรถบัส : นั่งรถไฟจากสถานีชินจูกุ ไปสถานีคาวาคูจิโกะ ได้เลย ซึ่งต่อรถไฟไม่เกิน 3 สาย ใช้เวลาเดินทางราว 2 – 3 ชั่วโมง (ของเราต่อรถไฟทั้งสิ้น 3 สายเนื่องจากพลาดรถไฟที่เดินทางสองชั่วโมงถึง) ค่าใช้จ่าย 2,140 เยน แล้วต่อรถบัสไปสถานที่ 5 บนภูเขาไฟฟูจิ 1,100 เยน รถบัสยาวๆ : หากไปรถบัสสามารถขึ้นได้ที่สถานีชินจูกุ ไปได้เลยระยะเวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง ราคา 1,750 เยน ก็ถืงสถานีคาวาคูจิโกะแล้วต่อรถท้องถิ่นไปอีกหนึ่งชั่วโมงราคา 1,100 เยน หรือถ้าจะไปสถานีที่ 5 ของภูเขาไฟฟูจิเลย ราคาตั๋วอยู่ที่ 2,700 เยน (แต่ต้องจอง ใครบอกว่าไม่จองก็ได้ไม่เต็ม อย่าไปเชื่อ เราเจอมาแล้ว ฮืออออ) แท็กซี่ : อาจจะสะดวกสบายก็จริง แต่ไม่ควรเพราะจะหมดตัวเอาได้ง่ายๆ ราคาอยู่ที่ 40,500 เยน มากัน 4 คนก็ไม่คุ้มอยู่ดี การเตรียมตัวก่อนขึ้นยอดฟูเขาไฟฟูจิ หลังจากที่มาถึงคาวาคูจิโกะ แล้วการจะปีนขึ้นยอดฟูจิไปโดยที่ไม่เตรียมอะไรไปเลยนั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ เพราะในความเป็นจริงแล้ว การปีนขึ้นฟูจิ แม้จะไม่ได้อันตรายเหมือนพิชิตยอดเขาอื่นๆ ที่สูงกว่านี้ แต่หากเตรียมตัวมาดีการปีนก็จะราบรื่น ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณนึงลย มาดูกันว่าก่อนจะพิชิตฟูจิ มีสิ่งใดที่ต้องเตรียมตัวไปก่อนเนิ่นๆ บ้าง รองเท้า ควรเป็นรองเท้าที่พื้นหนาๆ หน่อยพวกรองเท้าวิ่งเทรล ถือว่าลุยได้ แต่ส่วนตัวเราใส่รองเท้าวิ่งแบบหุ้มข้อ (Nike Lunarepic Flyknit High) ขึ้นไปซึ่งเดินขึ้นไม่มีปัญหา แต่เดินลงนี่ลื่นล้มไปรอบนึง ถ้าเป็นรองเท้าเทรล หรือรองเท้าเดินป่าจะเห็นประโยชน์ตอนขาลงนี่แหละ มีคนเปรี้ยวใส่รองเท้าผ้าใบที่ไม่มีซัพพอร์ต ซึ่งทำให้การขึ้นฟูจิ และลงฟูจิ เป็นหายนะเลย เสื้อกันหนาวที่สามารถกันอุณหภูมิได้ราว 0 – 4 องศา ด้านบนอากาศหนาว ดังนั้นพยายามทำยังไงก็ได้ให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่เทอะทะก็พอ กระนั้นเราก็เห็นนักปีนเขา บางคนใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ เสื้อกันลม หรือเสื้อขนเป็ดขึ้นฟูจิเหมือนกัน ซึ่งวันที่เราไปปีนก็ไม่ได้หนาวมาก กำลังดี ไม้เท้าจำเป็นมากพอๆ เหมือนเรามีขาที่สามในการช่วยพยุงร่างกาย ไม่พบว่ามีนักปีนเขาหน้าใหม่คนไหนไม่ใช้ไม้เท้าในการช่วยเดินขึ้นเขา (ยกเว้นนักวิ่งเทรล) ใครไม่มีไม้เท้าปีนเขาบอกเลยว่าโคตรพลาด มันจำเป็นจริงๆ นะ ไฟฉายคาดหัว หรือเฮดแลมป์ มีความสำคัญไม่ต่างอะไรกับตาที่สาม เนื่องจากการปีนเราต้องใช้มือคอยช่วยด้วย การถือไฟฉายธรรดาๆ นั้นจะทำให้ความสามารถในการขึ้นเขาลดลง 70% ดังนั้นเฮดแลมป์โคตรจำเป็น อย่าทำเก๋าโดยการไม่เตรียมขึ้นไป เป้ใส่ของ แนะนำเป้แบบทะมัดทะแมน เพื่อความคล่องตัว และความจุในการขนของ การขึ้นฟูจิ มีสองแบบคือ เดินขึ้นตอนค่ำแล้วไปรอชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าแล้วลงเลย ซึ่งการเดินขึ้นจะใช้เวลาราวๆ 6 – 7 ชั่วโมงโดยประมาณขึ้นอยู่กับความฟิต หรือจะขึ้นไปพักที่ชั้น 7 หรือ 8 ก่อนเพื่อนอนเอาแรง แล้วค่อยเดินขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนตีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปในช่วงเทศกาลขึ้นภูเขาไฟฟูจิ ด้านบนมีที่พักเหลืออยู่บ้าง แต่ทางที่ดีควรจอง โดยเราพักที่ชั้น 7 เชลเตอร์ชื่อว่า TomeKun ไฟฉายคาดหัว หรือเฮดแลมป์ มีความสำคัญไม่ต่างอะไรกับตาที่สาม เนื่องจากการปีนเราต้องใช้มือคอยช่วยด้วย การถือไฟฉายธรรดาๆ นั้นจะทำให้ความสามารถในการขึ้นเขาลดลง 70% ดังนั้นเฮดแลมป์โคตรจำเป็น อย่าทำเก๋าโดยการไม่เตรียมขึ้นไป เป้ใส่ของ แนะนำเป้แบบทะมัดทะแมน เพื่อความคล่องตัว และความจุในการขนของ การขึ้นฟูจิ มีสองแบบคือ เดินขึ้นตอนค่ำแล้วไปรอชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าแล้วลงเลย ซึ่งการเดินขึ้นจะใช้เวลาราวๆ 6 – 7 ชั่วโมงโดยประมาณขึ้นอยู่กับความฟิต หรือจะขึ้นไปพักที่ชั้น 7 หรือ 8 ก่อนเพื่อนอนเอาแรง แล้วค่อยเดินขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นตอนตีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปในช่วงเทศกาลขึ้นภูเขาไฟฟูจิ ด้านบนมีที่พักเหลืออยู่บ้าง แต่ทางที่ดีควรจอง โดยเราพักที่ชั้น 7 เชลเตอร์ชื่อว่า TomeKun ถ้าไม่อยากพักในเชลเตอร์ ก็สามารถเอาถุงนอนไปกางนอนได้ มีนักปีนเขาหลายคนกางถุงนอนแล้วหามุมหลบนอน เพื่อพักผ่อน แต่ถุงนอนควรจะหนาหน่อย เพราะลมแรง แต่ไม่มีน้ำค้าง ดังนั้นสบายใจได้เรื่องความเปียกชื้น เนื่องจากความสูงที่เราอยู่นั้นมันเหนือเมฆของแท้ เอาครีมกันแดด ไปด้วยเนื่องจากด้านบนแดดแรงมาก เพราะไม่มีเมฆบังแดดเลย (เราอยู่เหนือเมฆนี่เนอะ) ถ้าไม่อยากเกรียมเตรียมไปด้วย เพราะบนภูเขาอากาศเปลี่ยนได้ตลอดอาจจะเจอฝนมาทักทาย เตรียมเสื้อกันฝนดีๆ ประเภทเสื้อกันฝนพลาสติกราคา 29 บาทอาจจะลำบากหน่อยนะ เตรียมอาหารให้พลังงานให้พร้อมและน้ำเตรียมไปให้เพียงพอ เนื่องจากด้านบนของราคามหาโหดมากๆ น้ำขวดละ 500 เยน, ช็อคโกแลตแท่งละ 400 – 500 เยน, เจลพลังงาน 600 เยน บางคนขึ้นเขาร่างกายจะใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ (เช่นผมนี่แหละ) ร่างกายจะโหยมากๆ ดังนั้นเตรียมไปเถอะ ซื้อจากด้านล่างไปถูกกว่ามาก เตรียมเหรียญ 100 เยนไปเยอะๆ เพราะบนเขาไม่รับแลกเหรียญ ซึ่งเหรียญจำเป็นตรงที่เอาไว้เข้าห้องน้ำ ครั้งละ 200 – 300 เยน ถ้าไม่มีเหรียญก็ต้องแตกแบงค์เพื่อขอเหรียญแน่นอนเปลืองไปอี๊ก!! เตรียมอาหารให้พลังงานให้พร้อมและน้ำเตรียมไปให้เพียงพอ เนื่องจากด้านบนของราคามหาโหดมากๆ น้ำขวดละ 500 เยน, ช็อคโกแลตแท่งละ 400 – 500 เยน, เจลพลังงาน 600 เยน บางคนขึ้นเขาร่างกายจะใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ (เช่นผมนี่แหละ) ร่างกายจะโหยมากๆ ดังนั้นเตรียมไปเถอะ ซื้อจากด้านล่างไปถูกกว่ามาก เตรียมเหรียญ 100 เยนไปเยอะๆ เพราะบนเขาไม่รับแลกเหรียญ ซึ่งเหรียญจำเป็นตรงที่เอาไว้เข้าห้องน้ำ ครั้งละ 200 – 300 เยน ถ้าไม่มีเหรียญก็ต้องแตกแบงค์เพื่อขอเหรียญแน่นอนเปลืองไปอี๊ก!! ระหว่างขึ้น Mr.Fuji มีอะไรบ้าง สำหรับคนที่ยังไม่เคยเดินขึ้นไปด้านบนแล้วกำลังสงสัยว่าด้านบนเมื่อปีไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นอะไรบ้าง หรือตลอดสองข้างทางเป็นอย่างไรกว่าจะไปถึงยอด นี่คือแนวข้อสอบจากเราให้เตรียมตัวไว้ว่าจะพบอะไร ช่วงสถานีที่ 5 ไปสถานีที่ 6 คุณจะไม่ได้เห็นอะไรมากเท่าไหร่นอกจากเมฆ หมอก และป่าไม้รอบๆ ความชันระดับเบสิคไม่โหดหิน บางคนอาจจะงงว่าทำไมมีป่า มีต้นไม้ด้วย เห็นในภาพถ่ายภูเขาไฟมันก็โล้นๆ นี่หว่า ใช่…ด้านบนน่ะโล้น แต่ช่วงด้านล่างก็ป่าทึบดีๆ นี่เอง สถานีที่ 6 ไปจนถึงสถานีที่ 7 คุณจะเริ่มไต่สู้กับความชัน และทัศนียภาพรอบข้างเปลี่ยนไป จากป่า กลายเป็นหิน หิน และหิน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอดีตลาวาที่เคยปะทุออกมาเมื่อ 309 ปีก่อน เราจะได้เจอหินรูปร่างประหลาด และก้อนกรวดสีดำมหาศาล ซึ่งทำให้การเดินขึ้นของเราค่อนข้างจะลื่นเอาได้ ระหว่างสถานีที่ 7 หากคุณมาในช่วงอากาศดีฝนไม่ตก มองไปด้านหลังคุณจะเริ่มเห็นว่าเมฆ นั้นอยู่ต่ำกว่าคุณ และมองเห็นทะเลเมฆไกลสุดลูกหูลูกตาซึ่งวิวนี้แหละจะอยู่เป็นเพื่อนคุณไปยัน Fuji Summit บางช่วงอาจจะได้เห็นเมืองด้านล่างด้วย ระหว่างทางตั้งแต่สถานีที่ 6 ไปจนถึง Fuji Summit (สถานีที่ 10 ) จะมีเชลเตอร์ หรือที่พักกระจายอยู่โดยรอบให้บริการที่พักและอาหาร ที่พักจะเป็นลักษณะเหมือนเตียงรวมเด็กหอที่มีแค่ถุงนอนกับหมอนไว้พอแค่พักผ่อน เพราะนอนแป๊บเดียวก็ต้องปีนต่อ แน่นอนว่าราคาโหดสัสมากๆ อยู่ที่คืนละ 2,400 บาทไทย วิวยิ่งสูง ยิ่งสวย หากคุณอยากจะเดินไปให้ทันดูแสงแรกของวันก็ควรจะรีบเดินขึ้นตั้งแต่เที่ยงคืน (กรณีที่พักชั้น 7) ระหว่างเดินขึ้นสูงทางจะยิ่งชันมากขึ้นเรื่อยๆ สลับกับทางเดินปกติ แต่ไฮไลท์คือวิวที่โคตรสวยที่สุดจะอยู่กับคุณไปจนถึงยอดเขา ระหว่างทางตั้งแต่สถานีที่ 6 ไปจนถึง Fuji Summit (สถานีที่ 10 ) จะมีเชลเตอร์ หรือที่พักกระจายอยู่โดยรอบให้บริการที่พักและอาหาร ที่พักจะเป็นลักษณะเหมือนเตียงรวมเด็กหอที่มีแค่ถุงนอนกับหมอนไว้พอแค่พักผ่อน เพราะนอนแป๊บเดียวก็ต้องปีนต่อ แน่นอนว่าราคาโหดสัสมากๆ อยู่ที่คืนละ 2,400 บาทไทย วิวยิ่งสูง ยิ่งสวย หากคุณอยากจะเดินไปให้ทันดูแสงแรกของวันก็ควรจะรีบเดินขึ้นตั้งแต่เที่ยงคืน (กรณีที่พักชั้น 7) ระหว่างเดินขึ้นสูงทางจะยิ่งชันมากขึ้นเรื่อยๆ สลับกับทางเดินปกติ แต่ไฮไลท์คือวิวที่โคตรสวยที่สุดจะอยู่กับคุณไปจนถึงยอดเขา ไปถึงยอดฟูจิ คุณสามารถเดินชมรอบๆ ปากปล่องได้ใช้เวลาไม่นานเท่าไหร่ ถ้าแรงยังเหลือก็เดินได้เลย ด้านบนนี้วิวโคตรสวยที่สุดเท่าที่ขาสองข้างคุณจะพามาถึง เห็นวิวครั้งแรก บอกตามตรงว่าน้ำตาแทบไหล มันสวยจนภาพถ่ายไม่สามารถเก็บได้หมด ทางลงเขาอยู่คนล่ะด้านกับทางขึ้น แต่จะไปบรรจบกันตรงชั้นที่ 6 ซึ่งทางลงลาดชันมากกก ตอนลงดูป้ายดีๆ ขึ้นโยชิดะเทรล ก็ต้องลงโยชิดะเทรล ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวไปโผล่อีกจังหวัด เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรรู้จะได้ไม่พลาด ตรงข้ามสถานีคาวาคูจิโกะ มีร้านขายอุปกรณ์ปีนเขาที่จำเป็น แต่บางอย่างเช่นเฮดแลมป์, เจลพลังงาน, ไม้เท้า สามารถซื้อได้ที่เซเว่นฯ ซึ่งอยู่ถัดไปจากร้านนั้นอีกนิดเดียวในราคาที่ถูกกว่ามาก!! แต่ถ้าของใหญ่ หรือเสื้อกันหนาว ต้องร้านนี้เท่านั้น มีร้านเดียว ไม้เท้าขึ้นฟูจิ มีขายหลายที่แต่ราคาไม่เท่ากัน ถ้าซื้อที่สถานีคาวาคูจิโกะ เลยจะแพงที่สุดอยู่ที่ 1,600 เยน แพงกว่าซื้อบนเขาอีก เพราะบนฟูจิสถานีที่ 5 ขายอยู่ที่ 900 – 1,200 เยน แต่…ถ้าเดินข้ามถนนไปซื้อที่เซเว่นฯ เยื้องกับสถานีคาวาคูจิโกะ 650 เยนเท่านั้น ถูกสัส ช่วงที่ฟูจิจะเต็มไปด้วยนักปีนเขาคือวันภูเขา ซึ่งตรงกับวันที่ 11 สิงหาคมของทุกปี (และตรงกับวันหยุดยาวสัปดาห์หนึ่งของญี่ปุ่น หรือเทศกาลโอบ้ง) ดังนั้นช่วงนี้หรือก่อนหน้านี้คนจะเยอะมากๆ ถ้ารู้ว่าจะมาปีนช่วงนี้ควรจองรถ และที่พักแต่เนิ่นๆ ด้านบนค่าครองชีพสูงยิ่งกว่าในโตเกียวเสียอีก คำนวนการใช้จ่ายดีๆ อย่าเปย์เยอะ มีล็อคเกอร์เก็บของที่สถานีคาวาคูจิโกะ แนะนำให้ฝากกระเป๋าสัมภาระทั้งหลายได้ที่นั่นเลย ถ้าล็อคเกอร์ที่สถานีเต็ม บริเวณรอบๆ มีร้านรับฝากของ หรือให้บริการล็อคเกอร์หยอดเหรียญด้วย มีเวลาอยากให้พักอยู่ในคาวาคูจิโกะ อีกวันแล้วปั่นจักรยานเที่ยวรอบทะเลสาบคาวาคูจิโกะ และทะเลสาบไซโกะ ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร แต่วิวและเมืองนั้นสวยมากกกกกกก โดยเฉพาะทะเลสาบไซโกะ เงียบสงบสุดๆ