Mango Zero

รู้จักกับ โรค PTSD อาการหลังเจอเหตุการณ์ร้ายแรงสะเทือนใจ

จากเหตุการณ์ที่สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้ง 13 คนออกจาก ถ้ำหลวงนางนอน ได้นั้น อาจทำให้เด็กๆ เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา นั้นก็คือ ภาวะจิตใจผิดปกติหลังจากเกิดความเครียด หรือ เหตุการณ์สะเทือนใจ ที่เรียกว่า โรค PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) ตามมาดูกันว่า โรคนี้คืออะไร ใครมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้บ้าง มีอาการ และ การรักษาได้อย่างไร

โรค PTSD คืออะไร

โรค PTSD คือ “ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ” มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรงซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต เช่น อยู่ในเหตุการณ์ภัยพิบัติ (ไฟไหม้ ,สึนามิ ,น้ำท่วม , แผ่นดินไหว หรือ ติดในถ้ำ เป็นต้น) อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล โดนทำร้าย โดนปล้น หรือ พบเห็นเหตุการณ์ร้ายแรงไม่คาดฝันต่างๆ รวมถึงบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามา แล้วรู้สึกกลัว จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

อาการของโรค

สำหรับอาการของ PTSD นั้นจะแสดงออกมาเป็น 2 ระยะ

การแสดงอาการแบ่งออกมา 3 กลุ่ม ดังนี้

ประเภทของ PTSD

การรักษา

โรค PTSD มักจะรักษาด้วยการให้ยา และ การทำจิตบำบัด หรือการทำทั้งสองอย่างควบคู่กัน ผู้ป่วยโรค PTSD หายจากโรคนี้หลังได้รับการรักษาเพียง 6 เดือน ในขณะที่บางคนจะมีอาการของโรคนี้ไปตลอดชีวิต

โดยทั่วไปโรค PTSD สามารถรักษาได้ 2 วิธี คือ

การรักษาทางจิตวิทยา  

คือการทำพฤติกรรมบำบัดให้ผู้ป่วยสงบลง รักษาด้วยการให้ผู้ป่วยเข้าหาและเผชิญหน้า (exposure therapy) กับเหตุร้ายและกระตุ้นซ้ำๆ โดยทำแบบค่อยเป็นค่อยไป การเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การให้กำลังใจอยู่เสมอ ป้องกันสิ่งที่มากระทบต่อจิตใจ ซึ่งบางรายอาจจะยังคงกลัว หวาดระแวง รู้สึกผิด จึงก็ต้องใช้วิธีจิตบำบัด (psychotherapy) ร่วมด้วย เพื่อรักษาสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะคงที่

สำหรับในเด็ก สิ่งที่สามารถทำได้คือ ต้องให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย เผชิญกับความกลัวนั้น ปรับเปลี่ยนความคิด การรับมือกับอารมณ์นั้น อาจจะเล่าเหตุกาณ์ วาดภาพ โดยมีผู้ปกครองเข้าร่วมด้วยเพื่อสร้างความเข้าใจ ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ และ เกิดการบำบัดไปในทางเดียวกันกับแพทย์ เพราะ ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้เด็กหายจากโรคนี้ได้

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาร่วมด้วย จิตแพทย์อาจให้ยาในกลุ่มยาแก้ซึมเศร้า เช่น fluoxetine, escitalopram, sertraline ร่วมด้วย โดยยากลุ่มนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มออกฤทธิ์ แต่หากผู้ป่วยรายใดมีอาการใจสั่น ตกใจง่าย กระวนกระวาย แพทย์จะให้ยารักษาอาการเหล่านี้ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแพทย์มักจะหลีกเลี่ยงยาคลายกังวลในกลุ่ม diazepam หรือ alprazolam แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้แพทย์จะพยายามให้ผู้ป่วยใช้ในระยะสั้น ๆ เพื่อป้องกันการเสพติด

นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น จิตบำบัด หรือ Group therapy การพูดคุย โดยรู้จักกับคนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ หรือ พบเจอกับเหตุการณ์ใกล้เคียง เพื่อแลกเปลี่ยน บำบัดซึ่งกันและกัน , รักษาสุขภาพตัวเองให้ดี พักผ่อน กินอาหารที่ดี หลีกเลี่ยงสารเสพติด เป็นต้น

ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็น PTSD ได้บ้าง

ผู้ที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรง อาจจะไม่ได้เป็นโรคนี้ทุกคน โดยทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคนี้ราว 20 % หากบางคนฟื้นฟูสภาพจิตใจได้เร็ว ก็อาจจะมีอาการผิดปกติทางจิตใจในระยะสั้นๆ ไม่นับว่าเป็น PTSD แต่ถ้าใครเป็นลักษณธของอาการเกิน 1 เดือน อาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็น

จะทำอย่างไรถ้าเราเป็นโรค PTSD

นอกจากตัวเราเองรู้ว่าเป็นโรคนี้ การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรค ภาวะเสี่ยงต่างๆ คนรอบข้างของผู้ป่วยก็ต้องมีความรู้ปละความเข้าใจต่อโรค และ ตัวผู้ป่วยด้วย การรับฟังปัญหา สอบถามอาการสม่ำเสมอ ดูแลให้กำลังใจ ช่วยเหลือที่สามารถช่วยได้ หรือ พาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยบำบัดต่อสภาวะจิตใจไม่ปกติดังกล่าว