category Philosophical Love นักปรัชญาพูดถึงความรักว่ายังไงกันบ้างนะ

Writer : Yoom

: 12 กรกฏาคม 2562

ความรักคืออะไร บางก็ว่าความรักคือการให้ บางก็ว่าความรักคือการเสียสละ บางก็ว่าความรักคือยาพิษ หรือรักอาจจะเป็นเพียงแค่สารในสมองของมนุษย์ก็เท่านั้น แต่ละคนคงมีความหมายของคำว่า “รัก” ไม่เหมือนกันและเพื่อให้เข้าใจถึงความหมายของคำว่ารักให้มากขึ้น วันนี้เราจึงได้รวมเอามุมมองต่อ “ความรัก” จากมุมของทางปรัชญามารวมเอาไว้ด้วยกัน เพื่อให้เราสามารถเข้าใจความรักในหลากหลายนิยามมากขึ้น

ธรรมชาติของความรัก 

เพื่อให้รู้ถึงความเป็นความหมายของความรักอย่างชัดเจน ในปรัชญากรีกมีการแบ่งระดับของความรักออกเป็น 3 คำคือ

  • Eros คือความรักหรือความปรารถนา ความรักแบบ Eros จะเป็นความรักที่มีความต้องการในการครอบครองสิ่งนั้น เช่นอยากเป็นความรักแบบคู่รัก นอกจากนั้นแล้ว Eros จะมีความต้องการทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
  • Philia ก็แปลได้ว่าความรักเช่นกัน แต่แตกต่างกับคำว่า Eros ตรงที่ว่าไม่มีความต้องการที่จะครอบครองหรือความต้องการทางเพศเข้ามาเกียวข้อง ถ้าเป็นเป็นระดับบุคคลคือเป็นความรักแบบมิตรภาพ การเคารพในตัวบุคคล หรือ Philia ไม่ได้เป็นแค่ความรักระหว่างบุคคลกับบุคคลเท่านั้น แต่เป็นความรักที่เกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างเช่น ความรักในสถาบัน เป็นต้น
  • Agape คือความรักระดับสากลเป็นสิ่งสูงสุดระดับสูงสุดทางศาสนา ความรักในระดับนี้จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเงื่อนไข ถ้าพูดยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือความรักนะหว่างบุคคลกับพระเจ้า เป็นต้น

ทำไมเราถึงต้องรักกันนะ ?

หากพูดถึงจุดประสงค์ความรักจากนิยามของวิทย์ศาสตร์และจิตวิทยาคงบอกได้ว่าความรักเป็นเพียงความต้องการทางธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์เท่านั้น แต่ในทัศนะของนักปรัชญานั้นได้พูดถึงความรักไว้ต่างกันออกไป

Plato : รักแท้เป็นเพียงแค่อุดมคติเท่านั้นไม่มีอยู่จริง 

เนื่องจากเพลโตมีทัศนะเกี่ยวกับโลกและสิ่งที่ต่างๆ ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นมาได้เพราะมีแบบ (Form) และแบบเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ สิ่งที่ปรากฏขึ้นบนโลกเป็นแค่ของที่ลอกเลียนแบบมาเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นแล้วความรักที่เกิดขึ้นบนโลกจึงเป็นความรักที่ลอกเลียนมาจากความรักในอุดมคติเท่านั้น

Aristotle : รักแท้สามารถเข้าใจได้โดยใช้เหตุผล 

อริสโตเติลเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวในสังคม เพราะฉะนั้นแล้วมนุษย์จึงต้องอยู่ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกันและกัน และความรักเกิดจากการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มนุษย์เอาเปรียบจากความรัก มนุษย์ทุกคนต้องใช้เหตุผลและคุณธรรมในการดำรงชีวิต

Christianity : ความรักคือความปรารถนาดี ความเมตตาและการให้อภัย 

ความรักในศาสนาคริสต์เทียบได้กับคำว่า Agape ในปรัชญากรีก และความรักของศาสนาคริสต์คือหัวใจสำคัญของทุกคำสอนในศาสนาคริสต์ โดยแบ่งความรักออกเป็น 2 ระดับคือ มนุษย์กับมนุษย์ (ความหวังดี ความเมตา การให้อภัย) และมนุษย์กับพระเจ้า (ความศรัทธา) แต่ใจความสำคัญของความรักในศาสนาคริสต์คือความปรารถนาดีที่เรามีให้แก่ผู้อื่นนั้นเอง

Buddhism : ความรักคือความทุกข์

“ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์” ความรักในทัศนะของพุทธแล้วถือว่าเป็นกิเลสอย่างหนึ่งของมนุษย์ และทำให้มนุษย์ไม่สามารถหลุดพ้นออกจากความทุกข์ได้ เพราะมนุษย์ต้องยึดติดกับความรัก อยากครอบครองและเป็นทุกข์เมื่อเสียมันไป เพราะฉะนั้นแล้วความรักในศาสนาพุทธจึงถือว่าเป็นความทุกข์และวิธีที่ใช้เพื่อดับทุกข์นั่นก็คือมรรค 8

ที่มา : Philosophy of Love ทฤษฎีความรัก ปรัชญากับความรัก

 

 

Writer Profile : Yoom
เด็กหนุ่มจบปรัชญาและศาสนาแต่มาทำงานเป็น Content Creator รักการปีนเขา เวลาว่างชอบเล่นกับแมว และชอบถ่ายวิดิโอเป็นชีวิตจิตใจ
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save