ไพบูลย์เสนอทำประชามติ “ห้ามชุมนุมการเมือง 2 ปี” ในเลือกตั้ง นายก อบจ. 20 ธ.ค.นี้


: 2 พฤศจิกายน 2563

วันนี้ (2 พฤศจิกายน) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์แก่สื่อว่า ได้อภิปรายในที่ประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเสนอทางออกของประเทศในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทย 

โดยเสนอให้ใช้มาตรา 166 ทำประชามติประชามติถามประชาชนทั้งประเทศแทนการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ เพราะเห็นว่าการยุบสภาจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์เศรษฐกิจให้มีปัญหามากขึ้น และการยุบสภาไม่สามารถยุติความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองได้

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การตั้งคำถามผิดเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญที่ห้ามเรื่องบุคคล หรือ เรื่องที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ตนเสนอให้ใช้คำถามว่า

“ท่านเห็นอย่างไร หากรัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด ห้ามไม่ให้มีการจัดชุมนุมทางการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายชุมนุมสาธารณะ มีการกระทำก้าวล่วงรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 อันเป็นเหตุให้กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และมีผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจากความขัดแย้งของคนในชาติ และให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชน สามารถดำเนินการได้ลุล่วง รัฐบาลจึงจะใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด ห้ามชุมนุมการเมืองดังกล่าวเป็นระยะเวลา 2 ปี นับจากวันออกเสียงประชามติ”

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้การออกเสียงประชามติซึ่งเป็นทางออกของประเทศ ทำได้รวดเร็วและประหยัดงบประมาณแผ่นดิน จึงเสนอให้การออกเสียงประชามติทำพ่วงไปพร้อมกับการเลือกตั้ง สมาชิกสภา อบจ. และนายก อบจ. ทั้ง 76 จังหวัดในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ กำหนดเพิ่มเขตกรุงเทพมหานครให้ กกต.จัดออกเสียงประชามติเพียงอย่างเดียว 

ซึ่งจะทำให้ใช้งบประมาณทำประชามติจำนวนไม่มาก ขณะที่กระบวนการทำประชามติระหว่างที่ไม่มีกฎหมายประชามติใช้บังคับนั้น ควรใช้อำนาจตราพระราชกำหนดใช้เป็นการเฉพาะ เพราะถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ

ที่มา : Thairath, The Standard

TAG :
Writer Profile : jazz.ordinaryday
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save