ทุก ๆ คนเคยบริจารอะไรกันบ้างครับ ? ถ้าการบริจาคอย่างง่ายที่สุดก็คงเป็นสิ่งของหรือไม่ก็เงิน หรืออย่างบ้างคนก็อาจจะเป็นการบริจาคเลือดใช่ไหมครับ ? แต่หากพูดถึงเรื่องบริจาคอวัยวะล่ะ ? คุณคิดว่ามันเป็นเรื่องน่ากลัวหรือยุ่งยากหรือเปล่า คุณไหมว่าจริง ๆ แล้วการบริจาคอวัยวะนั้นทำได้ง่ายมาก ๆ และประเทศไทยในขณะนี้กำลังต้องการผู้บริจาคอวัยวะเป็นจำนวนมาก ทำให้ในบทความนี้ผมอยากจะขอเชิญชวนทุกคนเข้ามาเป็นผู้บริจาคอวัยวะ และช่วยไขข้อข้องใจสำหรับคนที่สงสัยหรือไม่กล้าที่จะบริจาคอยู่ครับ ทำไมถึงควรบริจาคอวัยวะ คำถามแรก คุณรู้ไหมว่าตอนนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นจำนวนเท่าไหร่ ? คำตอบก็คือ ประมาณ 5000-6000 คน ในขณะที่จำนวนผู้บริจาคอวัยวะในปี 64 มีเพียง 315 คนเท่านั้น น่าตกใจกับตัวเลขเหล่านี้ไหมครับ ? แล้วอะไรคือข้อดีของการบริจาคอวัยวะ ? 1.คุณสามารถช่วยชีวิตคนได้มากถึง 8 คน เพียงแค่คุณบริจาคอวัยวะในร่างกาย จะสามารถต่อชีวิตคนได้หลังจากที่เสียไปแล้ว 2.การบริจาคอวัยวะจะช่วยให้คุณสามารถปล่อยวางเรื่อง “ความตาย” ได้มากขึ้น 3.หากคุณเป็นคนเชื่อเรื่องบุญ การบริจาคร่างกายคือการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 4.ทำง่าย ๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย โดยบริจาคผ่านเว็บไซต์ www.organdonate.in.th หรือศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย 5.ร่างกายยังสามารถทำพิธีกรรมทางศาสนาได้ บริจาคอวัยวะ VS บริจาคร่างกาย หลายคนคงสงสัยว่าการบริจาตอวัยวะและการบริจาคร่างกายแตกต่างกันอย่างไรใช่ไหมครับ การบริจาคร่างกายคือ การบริจาคร่างกายเป็นการอุทิศร่างกายให้กับนักศึกษาแพทย์หรือคณะแพทยศาสตร์ เพื่อใช้สำหรับการศึกษาและเป็นบทเรียน ส่วนผู้บริจาคต้องเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติและมีต้องอวัยวะครบทุกส่วนตอนเสียชีวิต นอกจากนั้นแล้วภายใน 24 ชั่วโมงแรกต้องแจ้งเสียชีวิตเพื่อบริจาคร่าง และถูกนำไป “อาจารย์ใหญ่” เป็นระยะเวลา 2 ปีก่อนนำไปประกอบพิธีทางศาสนา การบริจาคอวัยวะคือ การนำอวัยวะที่ผู้บริจาคไปปลูกถ่ายให้กับผู้ที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยที่จะนำอวัยะไปหลังจาก “สมองตาย” เท่านั้น โดยจะมีแพทย์ 3 คนเป็นผู้วินิจฉัยและตรวจอีกครั้งหลังจากผ่านไป 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะนำไปสู่ขั้นตอนของการผ่าตัดเผื่อขนย้ายอวัยวะไปปลูกถ่าย ใครสามารถบริจาคอวัยวะได้ และบริจาคอะไรได้บ้าง ? สำหรับเกณฑ์ในการสมัครเป็นผู้บริจาคอวัยวะได้แก่ 1.มีอายุไม่เกิน 65 ปี 2.ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง 3.ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา 4.ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ อวัยวะที่สามารถบริจาคได้ 1.หัวใจ 2.ตับ 3.ไต 4.ปอด 5.ดวงตา ป.ล.นอกจากนั้นแล้วผู้บริจาคยังสามารถเลือกบริจาคอวัยวะทุกส่วนทุกส่วนที่ยังใช้งานได้ และสามารถบริจาคได้มากกว่า 1 อวัยวะอีกด้วย บริจาคอวัยวะแล้วร่างกายไปไหน ? หลังจากผู้บริจาคอวัยวะถูกแพทย์วินิจฉัยวะมีภาวะสมองตายแล้ว แพทย์จะทำการผ่าตัดอวัยวะที่บริจาคไปปลูกถ่าย หลังจากนั้นจะมีการตกแต่งร่างกายของผู้บริจาคให้อยู่ในสภาพครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วนำร่างของผู้บริจาคส่งคืนให้กับญาติเพื่อนำไปประกอบพิธีการทางศาสนาต่อไป ข้อมูลจาก www.organdonate.in.th