Mango Zero

คู่มือยื่นภาษีออนไลน์ ฉบับเฟิร์สจ็อบเบอร์

ช่วงต้นปีแบบนี้ก็เข้าสู่เทศกาลยื่นภาษีกันแล้ว สำหรับชาวเฟิร์สจ็อบเบอร์ที่เพิ่งเรียนจบและเพิ่งเริ่มงานกันไปหมาดๆ ในปีที่แล้ว คงจะงงๆ เรื่องกับสิ่งที่เรียกว่า “ภาษี” กันอยู่ (เพราะเราก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกัน!) วันนี้เราเลยมาแชร์คู่มือการเสียภาษี ฉบับของเฟิร์สจ็อบเบอร์ เอาเป็นว่าให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเราต้นปีนี้เราต้องยื่นภาษีกันอย่างไร มีอะไรที่ลดหย่อนภาษีได้ไหม พร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย

ใครบ้างต้องยื่นภาษี?

ที่เราเคยเข้าใจกันมา คนที่ต้องยื่นภาษีและต้องเสียภาษี ก็คือคนที่มีรายได้แล้วนั่นเอง แต่สำหรับคนที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็อาจจะไม่ต้องยื่นภาษี หรือบางคนที่รายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษีก็มี ใครอยู่ในหมวดไหนก็ไปดูกัน

นั่นแปลว่าใครที่อยู่ใน 2 หมวดหลัง ก็เตรียมตัวยื่นภาษีกันได้เลย ส่วนรายละเอียดที่มาว่าทำไมคนบางกลุ่มต้องยื่นภาษี บางกลุ่มไม่ต้องยื่น ตรงนี้จะรู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้​ ใครงงข้ามได้เลย แต่ถ้าใครอยากเข้าใจมากขึ้นเราก็จะเล่าให้ฟัง

ยื่นภาษีออนไลน์กันเถอะ

ช่องทางยื่นภาษีที่ง่ายที่สุดในตอนนี้ก็คือการยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร นั่นก็คือ epit.rd.go.th/ สำหรับบุคคลทั่วไปอย่างเราๆ สรรพากรก็ได้เปิดให้ยื่นแบบภาษีมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 9 เมษายน 2562 ใครที่เข้าเว็บแล้วก็งงว่าเอ๊ะ ยังไงต่อ เราได้พยายามสรุปมาให้เข้าใจง่ายที่สุด ไปดูกัน

จ่ายภาษีเกิน ขอคืนได้

สำหรับคนที่เมื่อคำนวณภาษีออกมาแล้ว มีภาษีที่จ่ายเกินไป และไม่ได้จะบริจาคให้พรรคการเมือง ก็สามารถขอคืนได้ด้วยนะ โดยตอนนี้ทางสรรพากรจะให้เราลงทะเบียนพร้อมเพย์เอาไว้ และเมื่อยืนแบบเรียบร้อย ระบบจะแจ้งให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย เช่น เอกสารกองทุน ประกันสุขภาพ ทะเบียนสมรส แล้วก็รอรับเงินคืนทางบัญชีพร้อมเพย์ได้เลย สะดวกกว่าเมื่อก่อนที่ต้องรอรับเช็คทางไปรษณีย์เยอะเลย

จ่ายภาษีไม่ครบ ผ่อนชำระได้ 3 งวด

สำหรับคนที่ยื่นภาษีไปแล้วพบว่าตัวเองนั้นยังจ่ายภาษีไม่ครบ ก็แน่นอนว่าต้องมีการถูกเรียกเก็บย้อนหลังกันหน่อย ทางสรรพากรก็เปิดให้เราได้ผ่อนจ่ายได้ถึง 3 งวด ผ่านหลายช่องทาง เช่น โมบายแบงก์กิ้ง E-Payment บัตรเครดิต เคาน์เตอร์เซอร์วิส เลือกชำระได้ตามสะดวกเลยจ้า

แล้วเราลดหย่อนภาษีอย่างไรได้บ้าง?

อย่างที่บอกไปว่ามีหลายช่องทางที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่หลักๆ ที่คนนิยมกัน เพราะว่าสามารถลดหย่อนภาษีลงไปได้เยอะก็คือ

ที่มา : กรมสรรพากร, itax