Mango Zero

ย้อนดูไทม์ไลน์ การต่อสู้ในสภาเพื่อสิทธิที่ทัดเทียมของชาว LGBTQIA+ ใน “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” 

 

แม้ว่าทุกวันนี้สังคมไทยจะเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้นแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิทธิทางกฏหมายของกลุ่ม LGBTQIA+ ในฐานะพลเมืองนั้นก็ยังไม่เท่าเทียมกับคนอื่น

ในการต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่ม LGBTQIA+ ของไทย เรียกได้ว่ามีมานานแล้วนะ มีกฏหมายที่ได้รับเสนอในสภามาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ถูกบังคับใช้ ซึ่งหลายคนก็ตั้งตารออยู่

โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนนี้ ครบกำหนดที่ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม จะได้รับการอภิปรายในสภาอีกครั้ง  และในวันที่ 15 มิถุนายน 2565  พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมได้ผ่านวาระแรกเป็นที่เรียบร้อย เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความหวังในการได้สมรสเท่าเทียมเต็มใบ Mango Zero ชวนทุกคนมาย้อนไทม์ไลน์การต่อสู้ในสภาเพื่อเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียม และทำความเข้าใจกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศผ่านการผลักดันพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมไปพร้อมกัน

จุดเริ่มต้นของพ.ร.บ.คู่ชีวิต

พ.ร.บ.คู่ชีวิต สมรสเท่าเทียม

ในระหว่างนั้นก็มีความเห็นจากภาคประชาชน ทั้งกลุ่มที่พอใจกับพ.ร.บ.คู่ชีวิต และกลุ่มที่ยังแคลงใจกับสิทธิที่ได้รับ เพราะหลายคนต่างก็มองว่าพ.ร.บ.คู่ชีวิตเป็นการเดินผิดเส้นทางหรือเปล่า ?

พูดให้ง่าย ๆ ก็คือ พ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นพ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้สิทธิกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะ

ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าดี แต่ในขณะเดียวกัน ตัวกฎหมายของพ.ร.บ.คู่ชีวิตไม่ได้ให้สิทธิครอบคลุมถึงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกหลายอย่าง จึงมีการผลักดันเพื่อแก้กฎหมายสมรสในปัจจุบันให้ครอบคลุมถึงบุคคลทุกเพศแทน

เมื่อพ.ร.บ.คู่ชีวิตไม่ใช่คำตอบ 

ภาคประชาชนจึงร่วมกับพรรคก้าวไกลร่างพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ ป.พ.พ.1448 หรือร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมขึ้น เพื่อเสนอต่อสภา โดยพ.ร.บ. ฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงสิทธิและสวัสดิการที่ขาดหายไปจากพ.ร.บ.คู่ชีวิต 

สิทธิที่เพิ่มขึ้นในพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

     1. สามารถหมั้นและจดทะเบียนสมรสกันได้

     2. เปลี่ยนถ้อยคำจาก “สามี-ภรรยา” เป็นคำว่า “คู่สมรส” และจาก “ชาย-หญิง” เป็น “บุคคล” 

     3. รับบุตรบุญธรรมได้และอุ้มบุญได้

     4. ใช้นามสกุลร่วมกันได้

     5. มีสิทธิในการดูแลรักษาคู่สมรส อาทิ การเซ็นอนุญาตรักษาพยาบาลอีกฝ่าย สิทธิในการจัดการศพ

     6. คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติสามารถขอสัญชาติไทยได้ 

 

การไฟเขียวพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมในครั้งนี้ นับว่าเป็นมุดหมายที่ดีต่อการพิจารณาในสภาสำหรับวาระต่อไป และเพื่อการเรียกร้องสิทธิของชาว LGBTQIA+ ในอนาคต เพราะกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศซึ่งมีความเท่าเทียมกับกลุ่มรักเพศตรงข้ามก็ควรได้รับสิทธิที่เท่าเทียมในชีวิตด้วยเช่นกัน