คุณอยู่ในช่วงวัยที่กำลังหมดไฟหรือเปล่า

Writer : incwaran

: 3 กุมภาพันธ์ 2563

ยังจำความรู้สึกตอนเป็นวัยรุ่นได้ไหม ช่วงนั้นอะไรก็ดูน่าสนใจ มีไฟทำหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเรียนต่อ หางานทำ ออกเดินทาง มีโปรเจกต์นู่นนี่นั่นเต็มไปหมด แต่พอเข้าสู่วัยทำงานได้สักพัก ไฟที่เคยเป็นแรงผลักดัน เหมือนติดจรวดไปสู่ความฝันก็เริ่มหายไป นั่นเป็นเพราะว่าช่วงวัยมีความสัมพันธ์กับการหมดไฟนั่นเอง

จุดสูงสุดของการมีไฟคือวัย 33 ปี

การศึกษาของทีมวิจัย นำโดย Dr.Naveen Puri จาก Bupa Health Clinics กล่าวว่า ความทะเยอะทะยานหรือภาวะที่เต็มไปด้วยแรงผลักดันของคนเราจะสูงสุดในช่วงอายุ 33 ปี เพราะเป็นวัยที่มีพร้อมทั้งแรงกาย แรงใจ และประสบการณ์ชีวิต

อายุ 35 เริ่มหยุดมองหาการเลื่อนตำแหน่ง

ผลการศึกษาจาก Families and Work Institute พบว่าในช่วงอายุ 35 ปี พนักงานโดยทั่วไปมักจะหยุดมองหาหนทางการเลื่อนตำแหน่งและความรับผิดชอบที่มากขึ้น โดยเฉพาะการมีลูก ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้แรงผลักดันลดลง 

47 คือวัยที่มีความเครียดและซึมเศร้ามากสุด

ผลการวิจัยจาก The National Bureau of Economic Research (NBER) รายงานว่า ในวัย 47 ปี เป็นช่วงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด จริงๆ แล้วการมองโลกในแง่ดียังคงมีอยู่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เพียงแต่แสดงความรู้สึกร่าเริง แจ่มใส ออกมาน้อยกว่าตอนเป็นวัยรุ่นเท่านั้นเอง  

Dr. Puri กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนความคาดหวังในแต่ละช่วงวัย ไม่ใช่ความล้มเหลวแต่เป็นธรรมชาติของความเป็นผู้ใหญ่                                 

เหตุผลที่คนหมดไฟ 

หมดไฟเพราะเป้าหมายไม่ส่งเสริมกัน 

ผลสำรวจ โดย Bupa Health จากผู้ตอบแบบสำรวจ 2,000 คน พบว่า 3 เป้าหมาย ที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีร่วมกันคือ กินอาหารดีมีประโยชน์บ่อยขึ้น เก็บเงิน และมีรูปร่างดี 

การเก็บเงินเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้คนไม่สามารถบรรลุอีกสองเป้าหมายที่เหลือได้ เพราะอาหารดีๆ มักมีราคาสูง หรือการทำงานเพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทำให้ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย

คนเรามีแนวโน้มจะหมดไฟเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน 

ผู้ตอบแบบสำรวจกว่าครึ่งเปิดเผยว่าการรักษาแรงผลักดันในการทำสิ่งต่างๆ ถือว่าเป็นความท้าทายในแต่ละวันเลยทีเดียว ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่านั่นเป็นเพราะคนเรามีแนวโน้มจะหมดไฟเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน 

วิธีเติมแรงบันดาลใจ ในวันที่ไฟเริ่มมอด

เติมไฟด้วยการบรรลุเป้าหมายเล็กๆ 

การตั้งเป้าหมายเล็กๆ นำไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต Puri ยกตัวอย่างว่า ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่เคยวิ่งออกกำลังกายมาก่อน ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ อย่างการลงโปรแกรมวิ่ง 5 กม. ภายในเวลา 3 เดือน แทนการตั้งเป้าหมายที่ใหญ่กว่าอย่างการลงวิ่งมาราธอนภายใน 1 ปี ถ้าหากเราทำเป้าหมายเล็กๆ สำเร็จแล้ว รสชาติอันหอมหวานของความสำเร็จจะเป็นการเติมไฟสำหรับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าในอนาคต

หาแรงบันดาลใจใกล้ๆ ตัว / แรงบันดาลใจหาได้รอบตัว

แรงบันดาลใจไม่ใช่แค่การตั้งหน้าตั้งตาเดินทางไปเป้าหมายเท่านั้น แต่มันอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด  ลองใจดีกับตัวเอง ไปเที่ยวในที่ที่อยากไป ฝึกฝนการเป็นคนใจกว้าง เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ เลิกพฤติกรรมไม่ดี ออกกำลังกายวันละนิด ก็นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจง่ายๆ จากอะไรใกล้ๆ ตัว 

ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับความสามารถ 

แรงผลักดันเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป้าหมายจะเป็นอะไรใดก็ตาม ทุกคนต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่บางครั้งมันไม่ง่ายอย่างที่เราคิด Dr.Naveen Puri แนะนำว่า ให้ตั้งเป้าหมายโดยคำนึงถึงความสามารถของตัวเองด้วย อย่าตั้งเป้าหมายยากเกินไป จนแม้แต่เราเองก็ยังไม่มั่นใจว่าจะทำได้ 

ที่มา theladders, express.co.uk 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save