“กัญชาเสรี” ใช้กัญอย่างไรให้ปลอดภัย?

Writer : Rinrin

: 15 มิถุนายน 2565

หลังกระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อคกัญชง กัญชาออกจากสารเสพติดประเภทที่ 5 แล้ว ประชาชนชาวเราก็สามารถใช้กัญชาได้อย่างเสรีมากขึ้น ด้วยความที่ปลดล็อคเรียบร้อยแล้ว แต่พ.ร.บ. กัญชากลับยังไม่มานี่สิ เลยเกิดปัญหาของข้อมูล และข้อบังคับที่อาจทำให้เกิดการขาดความเข้าใจต่อการใช้กัญชา และไม่นานมานี้ ผู้บริโภคบางคนก็เกิดผลค้างเคียงที่ค่อนข้างน่าตกใจหลังจากกินกัญชาไป เพราะฉะนั้น เราจะพามาดูกันว่า ณ ตอนนี้ กัญชาสามารถใช้อย่างไร รวมถึงข้อควรระวังการใช้กัญชาให้รอดพ้นจากความเสี่ยงทางร่างกายด้วย

มาดูกัญก่อนว่าปลดล็อค ”กัญชา” ณ ตอนนี้ มีผลอย่างไรบ้าง

  • ทุกส่วนของกัญชง กัญชาไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณ THC เกิน 0.2%
  • ปลูกเองได้ ไม่ต้องขออนุญาต แต่มีการขอความร่วมมือให้แจ้งข้อมูลทางแอพหรือเว็บไซต์ “ปลูกกัญ” 
  • บริโภค ควรบริโภคกัญชงหรือกัญชาที่มีปริมาณ THC ไม่เกิน 0.2% 
  • สูบได้ ยกเว้น! ถ้าสูบแล้วก่อความรำคาญจากกลิ่นและควัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือหลังจากสูบแล้วเกิดเมาแล้วขับ มีความผิดตามพรบ.จราจร 
  • ซื้อ-ขาย ทุกส่วนได้ โดยสามารถเช็คแหล่งขายที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน
  • ประกอบอาหารขายได้ ยกเว้นส่วนยอด ช่อ-ดอก หรือสารสกัดและกาก-เศษที่มีปริมาณ THC เกิน 0.2% 
  • ทำผลิตภัณฑ์จากกัญชาขาย ต้องปฏิบัติตามนี้

1.ต้องกำกับดูแลทั้งก่อนและหลังการอนุญาตอย่างเข้มงวด
2.ต้องมีความปลอดภัย โดยมีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานด้านต่าง ๆ เช่น สารปนเปื้อน สารตกค้าง
3.ต้องมีปริมาณ THC ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด โดยมีผลวิเคราะห์ยืนยัน
4.ต้องแสดงคำว่า “กัญชา” หรือ “ส่วนของกัญชา”  ที่ใช้บนฉลากอย่างชัดเจนในส่วนของชื่ออาหารและส่วนประกอบ
5.แสดงคำเตือนและข้อแนะนำในการบริโภค
6.ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่ได้รับเลขสารบบอาหาร จะมีความปลอดภัยเมื่อบริโภคตามคำแนะนำ
7.สำหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่แสดงถึงสรรพคุณ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ต้องได้รับอนุญาตก่อนทุกราย

  • นำเข้าเมล็ดพันธุ์ และส่วนอื่น ๆ ได้ แต่ต้องขออนุญาต 

*ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2565*

ข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์จากกัญชา

  • ง่วงนอน
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิตกกังวล กระวนกระวาย
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบเจอได้ในผู้ที่บริโภคกัญชง กัญชา หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกัญชง กัญชาเกินขนาด หรือบริโภคแล้วเกิดพิษจากกัญชา สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบเกิดจาก ”ช่อ-ดอก” ที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งช่อ-ดอกนั้นมีค่า THC สูงกว่า 5-20% เป็นค่าที่สูงกว่าค่าที่กำหนดมาก ทำให้เกิดผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายได้ในระยะเวลาเฉียบพลัน

ใครควรหลีกเลี่ยง

  • ผู้ที่แพ้สาร THC หรือ CBD (สารสำคัญในกัญชา)
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยโรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรควิตกกังวล เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทมากยิ่งขึ้น
  • สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร สตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และสตรีวัยเจริญพันธ์ุที่ไม่ได้คุมกำเนิด
  • ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพราะจะทำให้พัฒนาการทางสมองล่าช้าลง ส่งผลต่อการเรียนรู้
  • ผู้ที่ขับยานพาหนะเป็นประจำ และทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เพราะสารในกัญชาอาจทำให้ง่วงซึมได้

ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ. 2564, บทความพิษวิทยาของกัญชา วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล

Writer Profile : Rinrin
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save