ไม่มีใครอยากป่วยแต่เมื่อป่วยแล้ว สิ่งที่เราทุกคนต้องการก็คือการดูแลเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิตใจ เรื่องสุขภาพให้กลับมาแข็งแรง ยิ่งเป็นผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงแล้วยิ่งต้องดูแลให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้กลับมาแข็งแรงสดใสเหมือนเดิม การดูแลคนผู้สูงอายุอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป วันนี้ยังไม่มีผู้สูงอายุให้ดูแล แต่วันข้างหน้าไม่แน่…เราเลยขอแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุเบื้องต้นมาฝาก ดูแลสุขภาพจิตใจ เรื่องสุขภาพใจของผู้ป่วยสูงอายุถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้ปัญหาด้านจิตใจจะไม่แสดงออกโดยตรง แต่ส่งผลเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพของร่างกายของผู้ป่วย ยิ่งผู้สูงอายุท่านใดสุขภาพใจไม่แข็งแรง สุขภาพร่างกายก็จะแย่ลงด้วย ปัจจัยส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุของสุขภาพปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุมักจะมีสาเหตุมาจาก ความรู้สึกเกี่ยวกับสมรรถนะทางร่างกายที่ลดลง, ความรู้สึกสูญเสีย, ความรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับหรือเป็นภาระ วิธีการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยสูงอายุ ใช้เวลากับผู้สูงอายุมากขึ้น – การใช้เวลาร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยสูงอายุได้ เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่เหงาหรือโดดเดี่ยว หาสัตว์เลี้ยงช่วยคลายเหงา – การเลี้ยงสัตว์ช่วยคลายเหงาสำหรับผู้สูงอายุก็สามารถลดระดับความเครียดและแก้เบื่อได้เป็นอย่างดี หางานอดิเรกให้ผู้สูงอายุ – งานอดิเรกที่ผู้ป่วยสูงอายุควรมี เช่น การฟังดนตรี รดน้ำต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองมากขึ้น และยังช่วยบำรุงสมองอีกด้วย หลีกเลี่ยงเรื่องเครียด – ความเครียดส่งผลกับปัญหาด้านจิตใจโดยตรง เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลผู้ป่วยสูงอายุจึงควรให้ผู้สูงอายุรู้สึกไม่เครียด วิตกหรือกังวล ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยอาจใช้อารมณ์ขันในการสร้างบรรยากาศที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ ดูแลสุขภาพกาย การดูแลสุขภาพกายก็เป็นอีกเรื่องที่เราควรใส่ใจ เพราะหากสุขภาพกายของผู้ป่วยสูงอายุไม่แข็งแรงก็ยิ่งทำให้โรคต่าง ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลสุขภาพกายจึงถือเป็นการป้องกันและดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง วิธีการดูแลสุขภาพกายของผู้ป่วยสูงอายุ หมั่นออกกำลังกายหรือทำกายภาพบำบัด – สำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถขยับตัวได้อาจจะเลือกออกกำลังกาย เช่น การเดินแกว่งแขนไปมา เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และหลีกเลี่ยงการออกกายกำลังที่เสี่ยงให้เกิดอาการบาดเจ็บ ส่วนผู้ป่วยสูงอายุที่ติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร ให้ใช้การออกกำลังกายโดยการกายภาพบำบัดแทน สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายผู้ป่วย – เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุบางท่านอาจจะไม่สามารถบอกถึงความผิดปกติหรือความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายตนเองได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร เพราะฉะนั้นแล้วการสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ – นอกจากเรื่องสุขภาพที่ต้องดูแลแล้ว การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุก็สำคัญไม่แพ้กัน บ่อยครั้งที่เรามักพบว่าผู้สูงอายุหลายคนมักจะประสบอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้มหรือหกล้ม เพราะฉะนั้นแล้วการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุจึงถือเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็น การติดราวจับบริเวณบันไดหรือห้องน้ำ หรือใช้ไม้เท้า เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วย – การควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วยสูงอายุไม่ให้มาก หรือน้อยเกินไปก็เป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น ดูแลความสะอาด การดูแลความสะอาดหมายถึงการจัดการสภาพแวดล้อมที่ผู้ป่วยสูงอายุอาศัยอยู่ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดจากเชื้อโรคหรือความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมากขึ้น และรวมถึงการดูแลความสะอาดของผู้ป่วยด้วย วิธีการดูแลความสะอาดของผู้ป่วยสูงอายุ ใส่ใจเรื่องอากาศ – การได้รับอากาศบริสุทธิ์จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ได้ และวิธีเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ให้กับผู้ป่วยสูงอายุก็ทำได้ง่าย ๆ เช่น ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ, อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก, ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ดูแลความสะอาดของผู้ป่วย – เนื่องจากผู้สูงอายุบางท่านที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร จะไม่สามารถทำความสะอาดร่างกายด้วยตนเองได้ เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลความสะอาดให้ผู้ป่วยจึงสำคัญ และช่วยลดการสะสมเชื้อโรคได้อีกด้วย ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ – สภาพแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้ผู้ป่วยมีความสุขและรู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่น ติดภาพครอบครัว ทำความสะอาดให้ไม่ให้รก เป็นต้น ดูแลสมองและระบบประสาท การดูแลสมองและระบบประสาทเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการคิด ความจำ เพราะโรคที่ผู้สูงอายุเป็นโดยส่วนมากก็คือ โรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นการดูแลสมองและระบบประสาทจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการดูแลสมองและระบบประสาทของผู้ป่วยสูงอายุ ลงเรียนคอร์สต่าง ๆ – สำหรับผู้สูงอายุการลงเรียนคอร์สต่าง ๆ ก็ช่วยกระตุ้นสมองและฝึกทักษะให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงเรียนทำอาหาร จัดสวน หรือฝึกภาษา และตอนนี้การลงเรียนคอร์สออนไลน์ก็ทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เล่นเกมฝึกสมอง – การเล่นเกมก็ถือว่าเป็นทักษะที่ช่วยกระตุ้นสมองได้ดี เช่น เกมทายคำ การต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว – การพูดคุยก็ถือเป็นกิจกรรมที่พัฒนาสมองได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ควรจะมีการพาผู้สูงอายุไปพบปะกับผู้คนใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทของผู้สูงอายุ ดูแลเรื่องอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการดูแลร่างกาย จิตใจ สมองและความสะอาดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุก็คือการดูแลเรื่องอาหาร เพราะอาหารที่ดีจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส สุขภาพสมองดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลเรื่องอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการดูแลเรื่องอาหารของผู้ป่วยสูงอายุ หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก – เพื่อเรื่องระบบการย่อยอาหารและช่วยดูแลเรื่องระบบขับถ่ายของผู้ป่วยสูงอายุ ยิ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือให้อาหารทางสายให้อาหาร ควรเน้นอาหารที่มีกากใยสูงและย่อยง่าย เพราะง่ายต่อการดูดซึมและง่ายต่อการขับถ่าย ไม่เป็นภาระต่อร่างกายของผู้สูงอายุ งดอาหารรสจัดและไขมันสูง – อาหารรสจัดและไขมันสูงเป็นอาหารที่ไม่ควรให้ผู้ป่วยสูงอายุทาน เพราะทำให้ระบบย่อยและไตทำงานหนักในการย่อยและขับของเสียออกจากร่างกาย เลือกอาหารที่มีประโยชน์ – ผู้ป่วยสูงอายุควรทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อนำสารอาหารไปบำรุง และซ่อมแซมร่างกาย ดูแลกันด้วยใจด้วย Smart Soup อาหารสำหรับผู้ป่วย กรณีที่ผู้สูงอายุที่เราดูแลอยู่นั้นป่วย และไม่สามารถทานอาหารด้วยวิธีปกติได้ ต้องรับประทานอาหารทางสายให้อาหารเท่านั้น การเลือกอาหารที่เหมาะกับการกินด้วยวิธีนี้จึงต้องละเอียด และคำนึงถึงหลักโภชนาการเป็นหลักเพราะสารอาหารจำเป็นต่อผู้ป่วยในการทำให้ร่างกายแข็งแรง สำหรับอาหารของผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหารอย่างมีอยู่ 2 ประเภทคือ อาหารปั่นผสมครบ 5 หมู่ หรือ Blenderized Diet เป็นอาหารที่ต้องเตรียมวัตุดิบตามที่นักโภชนาการระบุไว้ให้กรณีที่เราต้องปั่นอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยกินเอง ส่วนใหญ่มีทั้งผัก เนื้อสัตว์ และผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิอย่างไข่ไก่ ตับ อกไก่ กล้วย น้ำมันพืช ปั่นรวมกัน อาหารทางการแพทย์ หรือ Commercial Formula เป็นอาหารที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อดื่ม หรือให้ทางอาหารทางสายให้อาหาร เน้นคุณค่าทางโภชนาการที่เข้มข้นบริโภคง่าย มีหลายสูตรขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วยที่มีความต้องการสารอาหารในขณะนั้น ผู้ป่วยสูงอายุก็จะกินอาหารอีกแบบ, ผู้ป่วยโรคลำไส้ก็จะกินอีกแบบเป็นต้น การเตรียมอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยบริโภคทางอาหารทางสายให้อาหารนั้นดูจะเป็นเรื่องยาก และต้องเตรียมตัวมากมาย อาจจะไม่สะดวกในการเตรียมพร้อม รวมถึงก็ไม่มั่นใจว่าอาหารที่เราเตรียมไว้นั้นมีคุณค่าทางอาหารเพียงพอไหม และสะอาดพอหรือเปล่า แต่ถ้าเลือกใช้อาหารปั่นผสมสำเร็จรูป ‘Smart Soup’ อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ต้องให้ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร ที่แค่ฉีกซองก็พร้อมรับประทานได้ทันทีหรือจะอุ่นให้ร้อนก็ทำได้โดย เทซุปลงภาชนะที่สามารถเข้าไมโครเวฟแล้วอุ่นด้วยที่อุณภูมิ 90-100 องศาเซลเซียสในเวลา 4-6 นาที ใช้ความร้อนปลางกลาง 800 วัตต์ 1.00-1.30 นาที และใช้ความร้อนปานกลาง 1,300 วัตต์ 0.30-0.45 นาที หรือจะต้มทั้งถุงในน้ำร้อนก็ได้ ประโยชน์ของซุปไก่ผสมฟักทองและไข่ ลดระยะเวลาในการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมีการฟื้นตัวของผู้ป่วยเร็วขึ้น ย่อยง่ายและดูดซึมได้ง่าย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี สะดวกและง่ายต่อการรับประทาน เขย่าฉีกซองสามารถรับประทานได้ทันที แถมยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง โคเลสเตอรอล 100 มก. ต่อ 300 ก. ไนอะซินสูง มีกรดแพนโทธินิค มีวิตามินบี2 มีวิตามินอี มีแคลเซียม หาซื้อได้แล้วที่ Rama Health Shop, CP Freshmart, CP Food Shop (CP Tower สีลม ชั้นใต้ดิน), เซเว่น-อีเลฟแว่น สาขาในโรงพยาบาล นวศรีเนอสซิ่งโฮม และ 24Catolog.com https://bit.ly/2QVgxaL ที่มา – คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี