เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล ทางครม. มีมติเห็นชอบให้การแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ 7 มาตรการ ทั้งระยะสั้น กลาง ยาวโดยใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท ทางรัฐบาลมั่นใจว่าจะจบปัญหาปลาหมอคางดำได้ภายในปี 2570 ปัจจุบันปลาหมอคางดำ ยังคงระบาดหนักและทำลายระบบนิเวศโดยรวมอย่างมาก ส่งผลกระทบไปยังการเกษตรของประชาชนทั่วทุกสารทิศ 7 มาตรการในแก้ไข้ปัญหาปลาหมอคางดำ ดังนี้ 1.จับลดปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งแพร่ระบาด 4,000,000 กิโลกรัม หรือ 4,000 ตันภายในกลางปี 2568 2.ส่งปลาผู้ล่าหลังลดปลาหมอคางดำ เช่น ปลากะพง ปลาอีกง 3.นำปลาหมอคางดำที่ได้ไปทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพน้ำปลาร้า ปลาป่น เพื่อให้ปลาที่จับมาไม่สูญเปล่า 4.ป้องกันการแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำข้างเคียง 5.ให้ความรู้กับประชาชนในการสังเกตป้องกันอันตราย หากระบบนิเวศถูกสัตว์น้ำต่างถิ่นเข้ามารุกราน 6.แผนระยะกลางและระยะยาวใช้เทคโนโลยีด้านการเหนียวนำโครโมโซมของปลาหมอคางดำจาก 2N เป็น 4N จะทำให้ให้เป็นหมัน เมื่อเข้าไปผสมกับธรรมชาติลูกปลาหมอคางดำที่ออกมาจะกลายเป็น 3N ทำให้ได้ปลาหมอคางดำที่เป็นหมัน 7.การฟื้นฟูแหล่งน้ำที่โดนปลาหมอคางดำทำลายโดยกรมประมงจะนำสัตว์น้ำกลับคืนถิ่นเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของแหล่งน้ำนั้นตามข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ เห็นได้จากเคสตัวอย่างของ นางจำปี พรหมงาม เจ้าของบ่อเลี้ยงปู ในอำเภอบางบ่อ ที่ต่อสู้กับปลาหมอคางดำมาแล้ว 2 ปี ปล่อยปูลงบ่อ 9,000 ตัว รวมลงทุน 100,000 กว่าบาท ผ่านไป 3 เดือน ปรากฏว่าได้ปูที่รอดมา มีเพียง 20 กิโล ขายได้แค่ 8,000 บาท และในบ่อปูกลับเต็มไปด้วยปลาหมอคางดำ เกือบ 4,000 กิโล คาดว่าต้องมีการเร่งแก้ไขปัญหาระยะสั้นให้เกิดประสิทธิภาพก่อนที่ปลาหมอคางดำจะทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปลาชนิดอื่นๆ เพราะแม้แต่นกที่กินไข่ปลาหมอค้างดำไปแล้ว ถ่ายออกมา ไข่ยังฟักเป็นตัวปลาได้อีก อ้างอิง ข่าวสด, Thai PBS News