Mango Zero

GrabNEXT เปิดข้อมูล “Gig Economy” เทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่สร้างรายได้และโอกาสสู่โลกอนาคต

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันแทบทุกช่วงเวลา ส่งผลให้ไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตของผู้คน มีความเป็นไปได้ที่หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงทัศนคติในการทำงานของคนยุคใหม่ที่มองหาความเป็นอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่ายุคก่อน

เกิดเป็นเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ที่กำลังมาในบ้านเรา โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา นั่นก็คือ Gig Economy หรือ Gig Worker ซึ่งเป็นการทำงานโดยเน้นการจ้างงานในรูปแบบชั่วคราว หรือแม้แต่ธุรกิจส่วนตัวที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้านายตัวเอง ไม่ผูกมัดกับวิธีการทำงานในระบบแบบเดิม ๆ อีกต่อไป

อีกทั้งการเข้ามาของธุรกิจแพลตฟอร์มอย่าง Grab เองก็ได้มีส่วนในการสนับสนุนเทรนด์การทำงานในรูปแบบนี้ ผ่านการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นบริการเรียกรถ หรือบริการเดลิเวอรี โดยไม่จำกัดเพศ วัย การศึกษาให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงช่องทางการหารายได้หลากหลายมากขึ้น

ล่าสุดไม่นานมานี้ Mango Zero ได้มีโอกาสไปร่วมงาน “GrabNEXT ยกระดับประเทศไทย เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ซึ่งเป็นเวทีเสวนาเชิงนโยบายประจำปีครั้งแรกของแกร็บ ประเทศไทย โดยภายในงานนี้คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการบริหาร แกร็บประเทศไทยก็ได้แชร์ข้อมูลน่าสนใจ เกี่ยวกับเทรนด์การทำงานรูปแบบ Gig Economy ที่ Grab ไว้ให้ได้ฟังกันด้วย ซึ่งจะมีข้อมูลสถิติที่เป็นประโยชน์ สำหรับคนที่กำลังมองหาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ ๆ อย่างไรบ้าง เราสรุปมาให้แล้วที่นี่

Gig Economy คืออะไร ? 

Gig Economy หรือ Gig Worker ถือเป็นเทรนด์การทำงานในยุคใหม่ที่เน้นการจ้างงานในรูปแบบชั่วคราว หรือการทำงานแบบฟรีแลนซ์ รวมไปถึงการทำธุรกิจในรูปแบบคนเดียว รับจ้างทั่วไป ธุรกิจส่วนตัว ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งสินค้าเดลิเวอรี และลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งเป็นงานที่อยู่นอกเหนือจากงานในระบบประจำ

Gig Economy เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในหลายประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในไทยหลังวิกฤตโควิด-19 ที่เศรษฐกิจซบเซา ตลาดแรงงานรองรับแรงงานใหม่เข้าสู่ระบบได้น้อยลง ขณะที่ผู้คนหนุ่มสาวยุคใหม่เองก็ต้องการอิสระและความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น การทำงานลักษณะนี้จึงตอบโจทย์มากกว่า ทำให้มีการประเมินว่าแรงงานประเทศไทยยุคต่อไปจะเป็น “Gig Worker” เพิ่มมากขึ้นตามการพัฒนาของสังคมและเทคโนโลยี

ในการกลับกัน Gig Economy ในไทยเองก็ยังมีจุดที่น่าสังเกตอยู่ซักนิด ตรงที่งานลักษณะนี้ เป็นกลุ่มแรงงานที่อยู่นอกระบบ ทำให้อาจจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากภาคบริหารเท่าที่ควร จึงต้องอาศัยการบริหารจัดการและดูแลตัวเองมากกว่ากลุ่มในระบบ ทั้งเรื่องประกันหรือแผนการออมเงินเมื่อเกษียณ

แต่สำหรับกลุ่ม Gig Workers ที่ Grab อย่างพาร์ทเนอร์คนขับ ทางแกร็บประเทศไทยเองก็ได้มองเห็นข้อสังเกตในจุดนี้ จึงได้มีนโยบายสิทธิประโยชน์ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุน Gig Economy ให้สามารถสร้างรายได้และโอกาสได้อย่างยั่งยืนผ่าน “5อ” ดังนี้

อิสระในการทำงาน 

เนื่องจากในปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่ต้องการทำงานแบบกำหนดเวลาของตัวเองได้ เพื่อจัดสรรเวลาในการหารายได้มากกว่า 1 ช่องทาง รวมถึงจัดสรรเวลาพักผ่อนได้เท่าที่ต้องการ

สอดคล้องกับสติถิจำนวนพาร์ทเนอร์คนขับของ Grab ที่มีมากถึงหลายแสนคนในประเทศไทย ในจำนวนนี้มากกว่า 71% ขับแกร็บเป็นอาชีพเสริม โดยทำงานน้อยกว่าวันละ 8 ชั่วโมง เฉลี่ยประกอบเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มวันละ 3-4 ชั่วโมง หรือทำในช่วงเสาร์-อาทิตย์

จากสถิตินี้แกร็บประเทศไทยจึงมุ่งส่งเสริมรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ผ่านฟีเจอร์ที่สามารถเลือกเวลารับงานได้อย่างเป็นอิสระ

อยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย 

การทำงานในรูปแบบ Gig Economy เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถมีอิสระและเข้าถึงโอกาสในการทำงานได้ไม่จำกัดเพศ วัย หรือการศึกษา เห็นได้จากสถิติพาร์ทเนอร์คนขับ Grab มีอยู่หลากหลายในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็น Baby Boomer 1.5%, Gen X 26%, Gen Y 48.5% และ Gen Z 24%

รวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้คนสามารถอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ทั้งกลุ่มพาร์ทเนอร์คนขับ LGBTQ+ หรือกลุ่มผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย เช่น ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ก็สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเหมือนพาร์ทเนอร์คนขับทั่วไป ผ่านฟีเจอร์แจ้งเตือนผู้ใช้สำหรับพาร์ทเนอร์ผู้บกพร่องทางการได้ยินที่ Grab พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับพาร์ทเนอร์คนขับกลุ่มนี้และลูกค้าให้สามารถรับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อบรมเพิ่มทักษะ

จากสถิติในรายงานระบุว่า กว่า 56% ของแรงงานไทยสนใจและให้ความสำคัญกับ “การเพิ่มพูนทักษะ” เพื่อพัฒนาอาชีพการงานของตนอยู่เสมอ

Grab เองก็มองเห็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจนี้ จึงได้จัดหลักสูตร “GrabAcademy” หรือ  “Grabให้ความรู้” สอนการใช้งาน, ความรู้เรื่องการขับขี่ทางกฏหมาย, เทคนิคการสร้างหน้าร้านให้น่าสนใจและความรู้ด้านดิจิทัลอื่น ๆ ให้แก่พาร์ทเนอร์ร้านค้าและพาร์ทเนอร์คนขับที่เข้าร่วม ซึ่งความตั้งใจนี้ก็ได้รับผลตอบรับอย่างดี สะท้อนผ่านยอดสถิติตัวเลขผู้เข้าเรียนกว่า 4 ล้านครั้งตลอดระยะที่เริ่มเปิดหลักสูตรเลยทีเดียว

อุ่นใจปลอดภัยบนท้องถนน

นอกจากความตั้งใจถ่ายทอดข้อมูลความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้แล้ว Grab ยังมุ่งการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อสร้างความอุ่นใจปลอดภัยบนท้องถนนมากขึ้น ผ่านสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุมอบให้ฟรีแก่พาร์ทเนอร์คนขับทุกคน คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท รวมไปถึงคอร์สอบรบด้านความปลอดภัยในการขับขี่แกพาร์ทเนอร์คนขับทุกคนที่สมัครเข้าสู่ระบบอีกด้วย

อดออมเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน


สิทธิประโยชน์อีกด้านที่น่าสนใจในปีนี้ของ Grab คือ การส่งเสริมการอดออมและความรู้ทางการเงินให้แก่พาร์ทเนอร์ เพราะฐานข้อมูลพบว่ากว่า  60% ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือไม่มีเงินเก็บกันเป็นจำนวนมาก ขณะที่สังคมผู้สูงอายุก็กำลังขยายตัวมากขึ้น มีกลุ่มผู้สูงวัยที่ไม่มีเงินเก็บสำหรับใช้ช่วงเกษียณกันมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลไม่น้อย

Grab จึงร่วมผลักดันความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคลให้แก่พาร์ทเนอร์คนขับ โดยส่งเสริมก้าวแรกของการออมเงินให้เริ่มต้นได้ที่  Grab เพื่อโอกาสในด้านการเงินให้แก่พาร์ทเนอร์ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมถึงพาร์ทเนอร์ร้านค้าเองก็สามารถเข้าถึงสินเชื่อรายวันในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจรายเล็กด้วยข้อมูลจากกลุ่มพาร์ทเนอร์ให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่น

และนี่ก็เป็นข้อมูลสถิติและสิทธิประโยชน์ของ Grab สำหรับกลุ่ม Gig Economy ที่น่าสนใจ สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางในการสร้างรายได้และโอกาสในด้านการงานเพิ่มเติม

นอกจากนี้สามารถติดตามรายละเอียดอื่น ๆ ภายในงาน GrabNEXT ได้ที่เว็บไซต์ GrabNEXT รวมถึงข้อมูลรายงานประจำปี 2565 ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของกิจการ (ESG) ระดับภูมิภาคของ แกร็บ ได้ที่ Annual Environment, Social and Governance (ESG) Report

#GrabNEXT #GrabForGood #GrabTH #ทีมGrab