เคยมีความรู้สึกว่างานที่ตัวเองทำนั้นดีและวิเศษมากๆ จนให้เปลี่ยนโลกก็ยังได้บ้างไหม แต่สุดท้ายแล้วผลตอบรับของงานนั้นไม่ได้ดีอย่างที่คิด หากไม่ใช่เพราะคนอื่นเข้าไม่ถึงมันจริงๆ ก็อาจเป็นเพราะเราประเมินค่าของงานสูงไปหรือเปล่า พฤติกรรมนี้เรียกว่า NIHS (Not-Invented-Here Syndrome) ใครเข้าข่ายเป็นบ้าง จะร้ายแรงแค่ไหน มาดูกัน
NHIS คืออะไร
NIHS (Not – Invented – Here Syndrome) คือการที่เราไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากภายนอกบริษัทหรือคนอื่นๆ รวมไปถึงการประเมินค่าการทำงานและผลงานของเราว่าดีมากกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้สุดท้ายแล้ว ผลลัพธ์ของงานอาจออกมาแย่กว่าที่คิด หรืองานชิ้นนั้นอาจล้มเหลวไปเลยก็ได้
ใครบ้างที่เข้าข่ายจะเป็น NHIS
เพราะเป็นอาการมีเรื่องนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นจึงอยู่ในกลุ่มนักพัฒนาซอฟแวร์ โปรแกรมต่างๆ หรือสตาร์ทอัพที่สร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งแอปพลิเคชัน หรือบริการต่างๆ
อาการนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน จนใช้วิธีเดิม และไม่ยอมเปลี่ยนแปลง แม้วันเวลาหรือเทรนด์จะเปลี่ยนก็ตาม
ลักษณะของคนที่เข้าข่าย
- ไม่ให้คุณค่าความสำคัญกับงานคนอื่น สนใจเพียงแค่งานของตัวเองเท่านั้น
- ไม่พยายามเข้าใจงานของคนอื่น ไม่ว่างานนั้นจะยากหรือง่าย
- หลีกเลี่ยงการปะทะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแย่งพื้นที่ส่วนแบ่งทางการตลาด หรือว่าอะไรก็ตาม
- ไม่กล้าเสี่ยง กลัวความไม่แน่นอน อยู่ในพื้นที่เดิมที่คุ้นเคยและถนัด
- ไม่เชื่อใน “Customer Centric” หรือการทำงานแบบเอาลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นหลัก
- เชื่อว่าระบบภายในองค์กรจะมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แม้ไม่มีหลักฐานก็ตาม
โดยเจ้า NHIS อาจดูเหมือนไม่มีผลเสีย ก็แค่ความภาคภูมิใจในผลงานตัวเอง หรือการเชื่อมั่นตัวเองแล้วมันแปลกตรงไหน? แต่ลองคิดดูว่า หากงานนั้นยังไม่ดีพอ หรือสร้างขึ้นมาโดยไม่ได้เป็นการเข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง สุดท้ายแล้วอาจทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรมากมายโดยไม่จำเป็นได้
ทำอย่างไรให้หายจาก NHIS
- ทบทวนข้อดีข้อเสียจากการเลือกทำสิ่งต่างๆ โดยมองตามความเป็นจริง
- หากเห็นว่าสามารถหา Outsource ที่มีทักษะมากกว่าเรา ก็ควรรับฟังความคิดเห็น หรือเจรจาให้มีการทำงานร่วมกัน
- นึกถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก เพราะเทรนด์ผู้บริโภคในตอนนี้ มักเลือกสินค้าที่ให้คุณค่ามากกว่าแค่ฟังก์ชันการใช้งานเท่านั้น
แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่บริษัทใหญ่ๆ ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ในเครือของตัวเอง หรือแม้แต่การเชื่อมั่นในแอปพลิเคชันที่คิดและพัฒนามากับมือ แต่อย่าลืมว่าความเห็นของรอบข้างก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากลูกค้าได้สินค้าหรือบริการที่ตรงตามความต้องการของเรามากที่สุดแล้ว ยังทำให้บริษัทเรามีการพัฒนามากขึ้นไปได้อีกด้วย
ที่มา :
https://learnosity.com/not-invented-here-syndrome-explained/
https://wiki.c2.com/?NotInventedHere