มารู้จักฐานทัพฟอร์ตแบรกก์ ทำไมทหารไทยถึงต้องบินไกล๊ไกล เพื่อไปฝึกโดดร่ม

Writer : Pattranit Lp.

: 14 กรกฏาคม 2564

ประเทศไทยในขณะนี้ ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับด้านกองทัพ และการทหารเป็นอย่างมาก จากที่เห็นได้ชัดกับการสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย เช่น เรือดำน้ำ รถถัง และเครื่องบิน เพื่อมาหนุนกำแพงปราการของไทยในปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่มีวี่แววของการถูกโจมตีจากชาติอื่นเลยก็ตาม แต่ก็ซื้อมาเพื่อให้อุ่นใจครบคอลเล็กชัน เอ้ย! เพื่อเตรียมความพร้อมหากประเทศต้องตกอยู่ในอันตรายจริง ๆ ต่างหาก

ล่าสุด ทางโฆษกกองทัพบกมีการชี้แจงว่า ได้มีการส่งกำลังพลกองร้อยทางอากาศให้เดินทางไปร่วมการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ (Strategic Airborne Operation) กับกองทัพบกสหรัฐ ณ ฟอร์ตแบรกก์ (Fort Bragg)

Mango Zero เลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับฐานทัพฟอร์ตแบรกก์นี้ให้มากขึ้นว่าคืออะไร และเจ๋งขนาดไหนจนกองทัพบกต้องส่งทหารไทยบ้านเราไปฝึกไกล๊ไกลเสียขนาดนั้น! ถ้าพร้อมแล้ว คาดเข็มขัดเตรียมบินไปส่องฐานทัพนี้ที่อเมริกากันเลย

 

1. ฟอร์ตแบรกก์… เป็นฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯ ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา 

ฐานทัพนี้เป็นฐานทัพที่มีตำแหน่งตั้งอยู่ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina) หนึ่งในรัฐของสหรัฐอเมริกา และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้สภาพอากาศแถวนั้นชิลสบายสุด ๆ อีกด้วย

 

2. ฟอร์ตแบรกก์… เป็นอันดับหนึ่งในฐานทัพทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

ฐานทัพฟอร์ตแบรกก์มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่กว่า 650 ตารางกิโลเมตร และยังเป็นที่ตั้งของกองพลส่งทางอากาศที่ 101 ของกองทัพสหรัฐฯ รวมถึงเป็นสำนักงานใหญ่ของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพบกสหรัฐฯ กองบิน รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฯ ต่าง ๆ  และศูนย์ย่อยกิ่งก้านสาขาเกี่ยวกับการทหารของสหรัฐฯ อีกมากมาย

 

3. ฟอร์ตแบรกก์… มีกำลังพลทหารประมาณ 54,000 นาย 

นอกจากจะมีความยิ่งใหญ่ในด้านพื้นที่ของฐานทัพแล้ว ยังคงมีความยิ่งใหญ่ของกองกำลังพลทหารที่มีถึงกว่าห้าหมื่นนาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง และเพียบพร้อมที่จะออกรบกับสมรภูมิขนาดใหญ่อย่างแท้จริง

 

4. ฟอร์ตแบรกก์… ตั้งชื่อตามนายพลแบรกซ์ตัน แบรกก์ 

ฐานทัพแห่งนี้นับเป็นหนึ่งในสิบสถานที่กองทัพของสหรัฐฯ ที่ได้มีการตั้งชื่อตามเจ้าหน้าที่ผู้เป็นผู้นำในหน่วยทหารของสมาพันธรัฐระหว่างการดำเนินศึกสงครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War)

ซึ่งสถานที่นี้ ได้ถูกตั้งชื่อตามนายพลแบรกซ์ตัน แบรกก์ (Braxton Bragg) ผู้เป็นชาวพื้นเมืองสหพันธ์นอร์ทแคโรไลนาที่เคยรับใช้กองทัพสหรัฐฯ ในสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน 

 

5. ฟอร์ตแบรกก์… มีพลร่มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในการกระโดดร่มหลังแนวข้าศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 

เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์สงครามที่เคยได้ยินมา ทุกคนย่อมล้วนรู้จักหรือได้ยินเกี่ยวกับสงครามโลกมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นสงครามที่น่ากลัวตามระดับอาณาเขตการห้ำหั่นกันระหว่างประเทศที่แผ่กระจายไปทั่วโลก และหนึ่งในสงครามที่น่าเกรงขามนี้อย่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีอิธิพลมากมายในเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ บนโลกมากมายจนทำให้โลกเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้

ซึ่งสถานที่ฟอร์ตแบรกก์แห่งนี้ ได้กำเนิดพลทหารผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในการกระโดดร่มหลังแนวข้าศึกมากมายในช่วงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง

 

จะเห็นได้ว่าสถานที่แห่งนี้มีประวัติศาสตร์มากมายเกี่ยวกับการรบในสงครามที่ยิ่งใหญ่มาหลายสนาม เป็นสถานที่ที่ขึ้นชื่อที่สุดของโลกในเรื่องของความใหญ่ของพื้นที่การฝึกซ้อมของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งความขลังและความเจ๋งเหล่านี้ คงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้กองทัพไทยส่งทหารไทยไปฝึกซ้อมโดดร่มยุทธศาสตร์ที่นั่นแหละนะ… 

 

ที่มา

รู้จัก ฟอร์ตแบรกก์ ทหารไทยไปฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์

ใช่ Fort Bragg เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่ในแบบที่ทรัมป์คิด

Writer Profile : Pattranit Lp.
ผู้หญิงอินดี้ ฟังเพลงอินดี้ อ่านวรรณคดีไทย และชื่นชอบเกมมาก ๆ โดยเฉพาะเกมจีบหนุ่ม!
Blog : Padzphere Social Media : Facebook, Twitter
View all post

[NEWS] เริ่มแล้ว! นิทรรศการแอนิเมชั่นจิบลิที่ใหญ่ที่สุด THE WORLD OF STUDIO GHIBLI'S ANIMATION EXHIBITION BANGKOK 2023 เปิดให้เข้าชม 1 ก.ค.

[NEWS] สายแชร์คิดหนัก! กฎใหม่ NETFLIX ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน ต้องจ่ายเพิ่ม

[NEWS] ซอฟต์พาวเวอร์ไทย!! ผุดชาวเกาหลีใส่เสื้อวินกลางเมียงดง

[NEWS] คาดมวลชนหนาแน่น! ดอนเมืองแจ้งผู้โดยสาร เผื่อเวลาเดินทาง ช่วงทักษิณกลับไทย 22 ส.ค. นี้


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save