Mango Zero

20 ความลำเอียงในการตัดสินใจที่เรามักมีโดยไม่รู้ตัว

หลายเรื่องที่เราตัดสินใจผิด ทั้งที่พิจารณาถี่ถ้วนแล้ว หรือหลายอย่างที่เลือกไป แต่ก็รู้สึกอยู่ในใจว่าไม่ได้อยากเลือกขนาดนั้น นั่นอาจเป็นเพราะเรากำลังมีอคติในการตัดสินใจโดยไม่รู้ตัว! แต่ยังไม่ต้องเครียดไป เพราะเจ้าพวกนี้มีคำอธิบาย มาทำความรู้จักกับ 20 ประเภทของ Cognitive Bias หรือความลำเอียงในการตัดสินใจกัน

Cognitive Bias หรือความลำเอียงในการตัดสินใจ คือปรากฎการณ์ของการตัดสินใจโดยที่ไม่รู้ตัวว่าไม่ได้เป็นกลาง หรือเลือกเพราะมีสิ่งเร้าแบบแอบแฝง มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจอะไรแบบเร็วๆ เพื่อไม่ให้สมองต้องทำงานหนักมากเกินไปนั่นเอง

Fundamental Attribution Error

เรามักจะตัดสินผู้อื่นที่ลักษณะนิสัย แต่จะตัดสินตัวเองตามแต่ละสถานการณ์ เช่น เมื่อคนอื่นมาสาย มักจะคิดว่าเขาเป็นคนไม่รักษาเวลา แต่เมื่อเรามาสายซะเอง ก็จะโทษรถติด หรือสิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่า

Self-serving Bias

เมื่อประสบความสำเร็จ จะบอกว่าเป็นเพราะความพยายามและความตั้งใจของเราที่ทำให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นความผิดพลาด เรามักจะบอกว่าเป็นเพราะสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

Moral Luck

เมื่อทำสิ่งที่ดีหรือไม่ดีมาก่อน แล้วไปทำอย่างอื่น ผลลัพท์ก็จะออกมาดีหรือไม่ดีตามสิ่งที่เราเคยทำก่อนหน้านั้น ทั้งที่สองสิ่งนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย

False Consensus

การคิดว่าคนจำนวนมากมีความคิด หรือเห็นด้วยเหมือนกับเรา ซึ่งไม่มีอะไรพิสูจน์

Anchoring

เรามักให้น้ำหนักกับข้อมูลแรกที่เห็น เมื่อต้องทำการตัดสินใจ หลักการนี้ทำให้หลายแบรนด์ทำสีลดราคาให้สะดุดตา เมื่อผู้ซื้อสินค้าเห็น จะทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น

Dunning-Kruger Effect

เมื่อยังรู้ไม่มาก จะยังมีความมั่นใจอยู่ แต่เมื่อยิ่งรู้มากขึ้น ความมั่นใจว่าตัวเองรอบรู้ในเรื่องนั้นจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

Halo Effect

การเห็นคน หรือสิ่งของที่มีรูปลักษณ์สวยงาม ก็สันนิษฐานว่าเรื่องอื่นๆ ในตัวเขาหรือของเหล่านั้น จะมีแต่เรื่องดีๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฎการณ์นี้ สามารถใช้ได้กับเรื่องลบเช่นเดียวกัน

Stereotyping

การสันนิษฐานว่าทุกคนในหนึ่งกลุ่ม หรือสัญชาติ จะมีนิสัยหรือความคิดหมือนกันทั้งหมด โดยไม่ได้ดูที่แต่บะคนอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น การเหมารวมว่าคนไทยยิ้มง่าย หรือการคิดว่าคนที่มีรอยสักคือคนที่ไม่ดี

Curse of Knowledge

เมื่อเรารู้อะไรบางอย่างแล้ว ก็คิดว่าคนอื่นจะรู้เรื่องนั้นด้วยเหมือนกัน เช่น การเล่าเรื่องต่างๆด้วยคำศัพท์หรือทฤษฎียากๆ

Spotlight Effect

เรามักจะคิดว่าคนอื่นให้ความสนใจกับเรามากเกินไป ทั้งที่โดยปกติแล้ว ไม่มีใครพิจารณาถึงใครคนอื่นมากขนาดนั้น

Naïve Realistic

การเชื่อว่าสิ่งที่เราเลือกและเห็น คือการมองโลกตามความเป็นจริง และคนที่เห็นต่างจากเรา คือคนไม่มีเหตุผล ไม่เป็นกลาง

Confirmation Bias

การเข้าข้างและให้น้ำหนักข้อมูลฝั่งที่ตัวเองสนับสนุน โดยไม่สนใจว่าหลักฐานของอีกฝั่งหนึ่งจะน่าเชื่อถือมากกว่าหรือไม่

Authority Bias

การให้น้ำหนักกับคนที่มีชื่อเสียงหรือบุคคนสาธารณะว่าน่าเชื่อถือ ทั้งที่ไม่มีหลักฐานอะไรมารองรับเลย

Placebo Effect

การเชื่อในการรักษาวิธีใดวิธีหนึ่งมากๆ จนมีผลในทางที่ดีขึ้น แม้ตัวยาที่ใช้จะไม่ใช่ยาจริงๆ

False Memory

การมีความจำที่ผิดเพี้ยนไปจากเรื่องจริง ไม่ว่าจะเป็นการเอาเรื่องอื่นมาปน หรือเพราะเกิดผลกระทบทางจิตใจจนเปลี่ยนไป

Cryptomnesia

การคิดว่าเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเป็นความฝัน หรือไม่ได้เกิดขึ้นจริง

IKEA Effect

เรามักจะตีค่าสิ่งที่สร้างและทำด้วยตัวเองสูงกว่าความเป็นจริงเสมอ (เหมือนเฟอนิเจอร์อิเกียที่ซื้อและมาประกอบเองยังไงล่ะ)

Optimism Bias

การคิดว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะต้องเป็นเรื่องดีอย่างแน่นอน ทั้งที่ความจริงโอกาสที่จะเป็นบวก หรือลบอาจจะมีโอกาสเท่ากัน

Third-Person Effect

การเชื่อว่าคนอื่นๆ เสพติดการใช้สื่อต่างๆ มากกว่าตนเอง นั่นเป็นเพราะเราเห็นคนอื่นในมุมมองของบุคคลที่สาม แต่มักไม่ค่อยเห็นตัวเองนั่นเอง

Gambler’s Fallacy

การเชื่อว่าผลลัพท์ในอนาคตจะเป็นเหมือนอดีต ทั้งที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน เช่น การทอยลูกเต๋า เป็นต้น

ที่มา : Visualcapitalist