การมีสุขภาพที่ดีคืออะไร ? จริงๆแล้วคือการมีความสุขด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งสามารถสร้างได้โดยมาออกกำลังกาย เพื่อดูแลตัวเองและสนุกไปกับมัน แต่มีหลายๆคนได้เผลอใช้เวลากับมันมากเกินไปแบบไม่รู้ตัว เริ่มจะเสพติดการออกกำลังกาย กว่าจะรู้ตัวก็สายไปซะแล้ว
Overtraining Syndrome
คือการออกกำลังกายที่มากเกินไปที่ร่างกายจะสามารถพักฟื้นหรือซ่อมแซมได้ทัน ที่มักจะเกิดขึ้นในผู้ที่พยายามออกกำลังกายอย่างเข้มข้น หรือพูดง่ายๆคือการเสพติดการออกกำลังกายที่หนักเกินขีดจำกัดที่ร่างกายจะรับไหว ในบางรายอาจจะหมกมุ่นกับการออกกำลังกาย
สัญญานเตือนเมื่อคุณเริ่มมีอาการเสพติดการออกกำลังกาย
- คุณฝืนตัวเองให้ออกกำลังกายแม้ว่าจะไม่สบายหรือบาดเจ็บ
- คุณมีความเครียด รู้สึกอัดอั้นเมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย
- คุณเริ่มเพิกเฉยต่อสิ่งรอบข้างเนื่องจากคุณต้องการออกกำลังกาย
- คุณออกกำลังกายอย่างสุดโต่งจนร่างกายฟื้นตัวไม่ทัน ไม่สดชื่น
- ไม่ผ่อนคลายเมื่ออยู่กับเพื่อน กังวลว่าน้ำหนักจะขึ้นเมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย
ผลกระทบจากการฝึกที่หนักเกินไป
- น้ำหนักเริ่มไม่ลงมาเป็นวลานาน หนักหน่อยอาจทำให้ระบบเผาผลาญพัง
- นอนไม่หลับกระสับกระส่าย
- ระดับชีพจรสูงมาก แม้ว่าจะเล่นไม่หนักก็ตาม
- ความสมดุลในร่างกายต่ำผิดปกติ
- อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย
- ประจำเดือนขาดเป็นเวลานาน
เรื่องเล่าจากผู้เสพติดการออกกำลังกาย
ขณะที่ผู้คนหลายคนเริ่มหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ยังมีอีกหลายๆคนที่ออกกำลังกายจนเสพติดโดยที่ไม่รู้ตัว เหมือนกับหญิงสาวคนนี้ Katherine Schreiber ครูสอนโยคะจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เธอเล่าว่าเธอไม่ชอบรูปร่างของตัวเอง และสิ่งที่เยียวยาเธอได้คือการออกกำลังกาย ซึ่งเริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงมัธยมปลาย จาก 2 ครั้งต่อวัน เธอชื่นชอบมันอย่างมากจนกระทั่งเพิ่มความถี่มาเรื่อยๆ จนเป็น 3 ครั้งต่อวัน
นอกจากการออกกำลังกายที่หนักแล้ว เธอได้เริ่มควบคุมการกินจนมีอาการผิดปกติทางการกิน หรือ Eating Disorder หลังจากนั้นเธอจึงบำบัดพฤติกรรมการกิน แต่ก็ไม่สามารถหยุดเธอให้ออกกำลังกายอย่างหนักได้เลย ท้ายที่สุดแล้วเธอก็เริ่มร่างพัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อ้างอิง : abcnews.go.com