Mango Zero

เสียงสะท้อนวัยรุ่นไทย ต่อกฎเหล็ก 3 ข้อ (ช่วย) คุมพฤติกรรมเยาวชน  จริงหรือไม่?

จากกรณีมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. กำหนดกฎกระทรวง เพื่อเป็นการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษานำมาสู่การแก้ไขเพิ่มเติม ใน 3 ข้อนั้น แบ่งออกมาอย่างเข้าใจง่ายคือ ห้ามการรวมกลุ่ม มั่วสุม” , ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม” และ ห้ามออกนอกที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม สร้างความเดือดร้อน” จนกลายเป็นที่ถกเถียงในกลุ่มนักเรียน นักศึกษากันเอง ว่าไม่ชัดเจนบ้าง ไม่ครอบคลุมบ้าง

ทีม Mango Zero จึงลุยไปสอบถามความคิดเห็นกับน้องๆ ผู้ที่จะอยู่ภายใต้กฎดังกล่าวว่ามีความคิดเห็นอย่างไร

โดยครม. ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่..) .. …. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 

ต่อมา ศธ. ได้ดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.. 2548 เห็นสมควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา  จึงได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียด้วยแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2561 วันที่ 9 เมษายน 2561 มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.. 2548 เกี่ยวกับลักษณะความประพฤติต้องห้ามของนักเรียนและนักศึกษา ดังนี้

1. กำหนดเพิ่มเติม ห้ามการรวมกลุ่ม มั่วสุม” อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

2. แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสมจากเดิมที่ห้ามเฉพาะการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ เป็นการห้ามไม่จำกัดสถานที่ โดยตัดคำว่าในที่สาธารณะออก และกำหนดเพิ่มเติมห้ามกระทำการลามกอนาจารด้วย

3. แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการออกนอกสถานที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น จากเดิมห้ามเฉพาะเวลากลางคืน เป็นการห้ามไม่จำกัดเวลา โดยตัดคำว่าเวลากลางคืนออก

เสียงสะท้อนจากวัยรุ่น

นศ.ชาย ชั้นปีที่ 4 มองว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องคอมมอนเซนต์ โดยเฉพาะเรื่องรวมกลุ่ม มั่วสุม มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอยู่แล้ว ถามว่าจะห้ามได้หรือไม่ มันขึ้นอยู่กับสถานที่ เพราะหากเป็นพื้นที่ส่วนตัว จะมีใครมาตรวจสอบ เรื่องแบบนี้ถ้าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน คือทุกคนโตกันแล้ว ดูแลตัวเองได้

นศ.หญิง ชั้นปีที่ 1 มองว่า คำไม่ครอบคลุม ไม่ระบุชัดเจน มันไม่สามารถใช้ได้จริง เพราะไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่า อย่างนี้ถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้ มันต้องใช้วิจารณญาณของคนมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอคติได้  สมมติว่าเรารวมกลุ่มกันติวหนังสือ แต่ผู้ใหญ่มองแปบเดียว แล้วตัดสินว่าไม่ได้ติวหนังสือ ซึ่งความจริงเราไม่ได้ทำแบบนั้น หรืออย่างเล่นโทรศัพท์มือถือผู้ใหญ่อาจจะมองว่าแชทกับใครหรือเปล่า แต่จริงแล้วกำลังค้นหาข้อมูลอยู่ก็ได้

Mango Zero  :  อย่างกฎ ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม” คิดเห็นอย่างไร ที่อันใหม่ตัดคำว่า “สาธารณะ” ออกไป 

นศ.ชาย ชั้นปีที่ 4 ตอบกลับทันทีว่า ที่สาธารณะมันก็ส่วนตัว ใครจะทำอะไรใคร มันก็เป็นส่วนตัว หากไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็โอเคนะ ทีนี้ถ้าทำในที่สาธารณะ หากทำจริงมันก็ผิด มันก็คอมมอนเซนต์ ต่อให้กฎหมายจะตัดหรือเติม มันต่างกันยังไง ผมรู้สึกว่ามันกว้างมากๆ

Mango Zero  :  แล้วที่ห้ามออกจากที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม สร้างความเดือดร้อน หล่ะคะ? 

อันนี้ดูเป็นอะไรที่แม่จะบอกเรา (หัวเราะ)  คือห้ามก็คือห้าม แต่คนมันจะไปใครมันจะห้ามได้ (ยิ้ม) ถ้ามองความเป็นจริงจะมีใครมานั่งตรวจอยู่ ผมรู้สึกว่าผม consern มากที่ฟังๆ มา ไม่กำหนดสถานที่ มันกว้างมาก ถ้าเป็นเด็กดีก็อย่าทำเลย ถ้าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน

Mango Zero  : กฏเหล็ก 3 ข้อ (ช่วย) คุมพฤติกรรมเยาวชน?

นศ.ชาย ชั้นปีที่ 4 ผมว่า 3 ข้อนี้ที่ออกมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตใครเท่าไหร่ ผมมองว่ามันไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมใครด้วยซ้ำ ผมมองว่าถ้าจะทำอะไรให้ไปหาอะไรที่มันน่าจะตรงประเด็นและแก้ปัญหาตรงจุดมากกว่านี้

นศ.หญิง ชั้นปีที่ 1 หนูว่าแนวคิดเขาอาจจะดีเขาออาจะเป็นห่วงเยาวชนแต่ว่าสิ่งเขาแสดงออกมามันยังไม่ถูกต้องหรือเปล่าน่าจะมาคุยกันก่อน