ทำความเข้าใจกรณี 'บ้านป่าแหว่ง' โครงการสุดฉาวที่สร้างสิ่งปลูกสร้างล้ำที่ดอยสุเทพ

Writer : Sam Ponsan

: 11 เมษายน 2561

summary-doi-suthep-clear-cutting-project-cover

อีกหนึ่งประเด็นด้านความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐที่ประชาชนให้ความสนใจอยู่คือกรณีของการสร้างบ้านพักตุลาการบนดอยสุเทพ แม้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราชพัสดุอยู่ในความดูแลของกองทัพ แต่การถางป่าเพื่อสร้างบ้านพักข้าราชการที่หรูหราเกินไปโดยใช้ภาษีประชาชนนั้นดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมนัก

เมื่อมีเรื่องการใช้จ่ายภาษีจำนวนหมาศาลไปกับเรื่องที่ดูโต่งแจ้งไม่เหมาะสมเช่นนี้เลยทำให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงคนไทยคนอื่นๆ หันมามองปัญหานี้ว่าจะหาทางออกอย่างไร สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ เราได้สรุปเรื่องราวของปัญหานี้ให้อ่านกัน

summary-doi-suthep-clear-cutting-project-info

สำหรับ ‘โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมบ้านพักข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม’ เป็นโครงการที่ใช้งบทั้งหมด 955 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ดำเนินการสร้างมาเกือบจะแล้วเสร็จทั้งโครงการ รายละเอียดของโครงการนี้แบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อยได้แก่

  • โครงการที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 พร้อมสิ่งก่อสร้าง มูลค่า 290 ล้านบาท ส่งมอบพร้อมใช้งานแล้ว
  • โครงการที่ 2 บ้านพักตุลาการ 16 หน่วย, บ้านพักผู้พิพากษา จำนวน 38 หน่วย, บ้านพักผู้อำนวยการ 1 หน่วย. อาคารชุดข้าราชการศาลยุติธรรม 36 หน่วย มูลค่า 321 ล้านบาท ปัจจุบันสร้างแล้ว 86.08%
  • โครงการที่ 3 บ้านพัก 9 หน่วย และอาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการ 64 หน่วย มูลค่า 342 ล้านบาท ปัจจุบันสร้างแล้ว 84.52%

โครงการนี้มีพื้นที่ 147 ไร่ 3 งาน 41 ตารางวา  เมื่อถางป่าออกจะเห็นว่ากินพื้นที่ป่าไปเยอะมาก แต่ทางนายสวัสดิ์ สุรวัฒนานันท์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 บอกว่าเดิมทีเป็นพื้นที่นี้ป่าเสื่อมโทรม และอยู่ในการครอบครองของกองทัพตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะมีการประกาศเมื่อปี 2507 แต่พื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่เขตป่าสงวน อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวทหารดูแลอย่างดีจนไม่ใช่ป่าเสื่อมโทรมอย่างที่เข้าใจ

summary-doi-suthep-clear-cutting-project-1

ทว่าในมุมมองของชาวบ้านที่คัดค้านบอกว่าหากมองจากมุมสูงจะเห็นชัดว่าพื้นที่ป่าถูกถางออกไปเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจำนวนที่เยอะทีเดียว แต่นายสราวุธ เบญจธิกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ให้ข้อมูลว่าพื้นที่ของโครงการนี้อยู่ในระดับเดียวกับเชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี อ่างเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุมชนช่างเคียน และชุมชนช้างเผือก

ไม่ได้ลุกล้ำพื้นที่ดอยสุเทพอย่างที่เห็น ส่วนบริเวณก่อสร้างที่มีต้นไม้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ได้ขุดล้อมแล้วนำไปปลูกบริเวณใกล้เคียง แต่ทีมของ ดร.ทนง ทองภูเบศร์ ผู้จัดทำแคมเปญ๋ใน Change.org ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ลงพื้นแล้วพบว่าไม่มีต้นไม้ที่บอกว่ามีการขุดล้อมออกไปนั้นปลูกบริเวณใกล้เคียงเพื่อรอการขนย้ายกลับมา

summary-doi-suthep-clear-cutting-project-3

สำหรับคนที่สงสัยว่าพื้นที่ดังกล่าวนำไปสร้างสิ่งปลูกสร้างได้อย่างไร อธิบายง่ายๆ ได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกอนุมัติให้ทำโครงการเมื่อปี 2549 โดยกระทรวงการคลังอนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรม ก่อนที่จะอนุมัติงบประมาณในปี 2557 ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการชาวเชียงใหม่ได้คัดค้านมาโดยตลอดแต่ไม่เป็นผล และบทสรุปล่าสุดตอนนี้ยังไม่มีผลอะไรออกมา แต่สิ่งที่คาดว่าจะเป็นไปได้มีทั้ง

  • ใช้ ม.44 เพื่อยุติโครงการแล้วเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวเปิดให้ประชาชนใช้งานในฐานะพื้นที่สาธารณะ
  • ดำเนินโครงการต่อไปจนแล้วเสร็จ
  • รื้อสิ่งก่อสร้างออกทั้งหมด และหาผู้กระทำผิดพร้อมดำเนินคดีกรณี (อันนี้คงยากที่สุดแหงๆ )

ก็ต้องมารอดูตอนจบกันต่อไปนะ

ที่มา – ข่าวสด, เวิร์คพอยท์นิวส์

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save