เพราะเราหลายคนไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ และอีกหลายคนเช่นกันที่ทานอาหารมากเกินพลังงานที่ร่างกายต้องการยิ่งในยุคนี้อะไรก็สะดวกสบายไปหมด จะลุกออกไปไหนทีก็แทบไม่มีโอกาสยิ่งงานรัดตัวด้วยแล้ว วันๆ ก็แทบไม่ได้ก้าวออกจากโต๊ะทำงานเท่าไหร่
แล้วใน 1 วัน กิจกรรมที่เราทำกันเผาผลาญแคลอรี่หรือพลังงานไปเท่าไหร่กันบ้าง มาขยับและออกกำลังให้เพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงกันเถอะ
แคลอรี่ คืออะไร ?
แคลอรี่คือหน่วยที่ใช้ในการวัดพลังงาน เราน่าจะเห็นบ่อยๆ ในสลากหลังซองขนม, ข้างกล่องนม หรือบนบรรจุภัณฑ์อาหาร ฯลฯ ที่บอกปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่เรากำลังจะรับประทานเข้าไป โดยวัดจาก 1 แคลอรี่ คือปริมาณที่ทำให้น้ำ 1 กรัมมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา
สารอาหารที่ให้พลังงาน
- โปรตีน ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม
- คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม
- ไขมัน ให้พลังงานสูงสุดคือ 9 แคลอรี่ต่อกรัม
เราควรได้รับแคลอรี่วันละเท่าไหร่
ผู้ชาย = น้ำหนักตัว x 31
ผู้หญิง = น้ำหนักตัว x 27
7,700 แคลอรี = 1 กิโลกรัม
เมื่อเราทำกิจกรรมบางอย่างเราจะเผาผลาญแคลอรีไป เช่นเดียวกันกับที่เราได้รับอาหารก็จะเป็นการเพิ่มแคลอรีให้ร่างกายเช่นกัน ซึ่งน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ของร่างกายเรานั้น มีค่าเท่ากับ 7,700 แคลอรี หรือก็คือหากลดน้ำหนักให้ได้ 1 กิโลกรัม ภายใน 1 อาทิตย์ เราต้องลดประมาณวันละ 1,100 แคลอรี เพื่อที่ในเจ็ดวัน 1,100×7 = 7,700 แคลอรี
เมื่อทำต่อเนื่อง 30 นาที
**ทั้งนี้การเผาผลาญแคลอรีขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว ,อายุ, ความดัน, ระบบการเผาผลาญ ของแต่ละคนด้วยนะ
- ยืนต่อแถว 47 แคลอรี
- นอน 35 แคลอรี
- ทำกับข้าว 93 แคลอรี
- ทำงานหน้าคอม 51 แคลอรี
- อ่านหนังสือ 42 แคลอรี
- นั่งประชุม 60 แคลอรี
- ปัดฝุ่น 80 แคลอรี
- แช่น้ำร้อน 130 แคลอรี
- นั่งเฉยๆ 29 แคลอรี
- ยืนคุยโทรศัพท์ 70 แคลอรี
กิจกรรมแบบไม่ต้องพยาม
- ช้อปปิ้ง 243 แคลอรี่ ต่อชั่วโมง
- แปรงฟัน 5.7 แคลอรี่ ต่อ 2 นาที
เผาผลาญมากขึ้นโดยลองปรับพฤติกรรม
- ขึ้นบันไดแทนลิฟต์
- จอดรถให้ไกลขึ้น
- ใช้เวลาช่วงพักเที่ยงออกไปเดินเล่นบ้าง
- เดินให้เยอะและเร็วขึ้น
- วางแผนมื้ออาหาร
ขอบคุณที่มา Firstforwoman, Livestrong, Health.Harvard, Heathline, MedThai