category เบื่องานใช่ไหมใช้ธรรมมะช่วย คุยกับหลวงพี่จิตร์ จิตตสังวโร อดีตมนุษย์ออฟฟิศที่หันมาสนใจธรรมมะ

Writer : Yoom

: 9 กรกฏาคม 2562

ท่ามกลางโลกของการทำงานที่ใครๆ หลายคนมองว่าน่าเบื่อ พอคิดถึงวันทำงานทีไรใจแทบสลายทุกที เพราะต้องกลับไปเจอสภาพการทำงานที่โหดร้าย หรืองานไม่ได้หนักหรอกแต่ต้องไปเหนื่อยกับคนในที่ทำงานจนไม่มีแรงทำงาน แล้วเราต้องทำยังไงล่ะถึงจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้

ในวันนี้เราได้มีโอกาสสนทนาธรรมมะกับหลวงพี่จิตร จิตตสังวโร อตีดพนักงานออฟฟิศมากความสามารถ ผู้หันมาสนใจในการศึกษาค้นคว้าหัวใจตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้หลักธรรมเป็นที่ตั้ง และหัวข้อในการสนทนาวันนี้ชั่งเป็นหัวข้อที่เหมาะสมที่จะใช้แก้ไขปัญหาการทำงานที่หลายคนกำลังประสบกันอยู่ ซึ่งก็คือหัวข้อ “ธรรมมะกับการทำงาน”

ไม่ชอบเพื่อนร่วมงานหรือไม่ชอบหัวหน้าต้องทำอย่างไร ?

หลวงพี่จิตร์ : ถ้าเราไม่ชอบเพื่อนร่วมงานหรือไม่ชอบหัวหน้า เราต้องดูก่อนว่าความไม่ชอบไม่เคยส่งผลดีกับใคร อันดับแรกมันไม่ดีต่อใจเราเอง ถ้าเราไม่ชอบไม่ได้แปลว่าคนคนนั้นไม่ดี แต่เวลาที่เราไม่ชอบเท่ากับว่าเรากำลังปิดกันข้อดีของเขา

เพราะฉะนั้นจัดการกับอารมณ์ จัดการกับความรู้สึกไม่ชอบ ให้เรารู้ว่าความไม่ชอบเป็นความลำเอียงที่ใจเราสร้างขึ้นมา เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้นแหละ เขาจะดีเขาจะมีส่วนที่บกพร่องบาง ถูกใจเราบางไม่ถูกใจเราบางเป็นเรื่องธรรมดา

“ไม่มีมนุษย์คนไหนเกิดมาเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับเราโดยเฉพาะ”

แต่เราต้องมีศิลปะในการอยู่กับมนุษย์แต่ละคนอย่างที่เขาเป็น เพราะฉะนั้นแล้วจัดการกับทัศนะคติแย่ ๆ หรือการตัดสิ้นเขาก่อนไม่ยังงั้นเราจะไม่สามารถเข้าถึงส่วนดีของเขาได้

รู้สึกเบื่อเวลาทำงานต้องทำอย่างไรดี ?

หลวงพี่จิตร์ : คนส่วนใหญ่จัดการกับเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์มากกว่าจัดการอารมณ์ตัวเอง เราต้องดูก่อนว่าอารมณ์เบื่อเป็นแค่อารมณ์หนึ่ง ในชีวิตของคนเรามีหลากหลายอารมณ์ประกอบเข้าไว้ด้วยกัน และอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นล้วนมีเวลาและวาระในการเข้ามาในจิตใจ

ส่วนใหญ่แล้วอารมณ์ใดๆ ก็ตามมันอยู่ได้เพราะเราต่อบทสนทนากับอารมณ์ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราต่อบทสนทนากับอารมณ์เบื่อ เราก็จะยิ่งเบื่อตามอารมณ์ แต่ถ้าเรารู้จักพักตัวเอง หรือปล่อยให้ตัวเองออกห่างจากอารมณ์ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเดินเข้าห้องน้ำ หรือการหยิบขนมขึ้นมากิน

สิ่งเหล่านี้เรียกว่าการตัตตอนอารมณ์  การตัดตอนอารมณ์ก็คือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับอารมณ์เหล่านั้น โดยการเฉไฉความสนใจไปยังกิจกรรมบางอย่าง ถ้าเราใช้สิ่งนี้เป็นทักษะ ก็จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับอารมณ์เบื่อเวลาทำงานได้

“ถ้าเราทำตัวตามอารมณ์เซ็ง เราก็เป็นได้แค่ร่างทรงของความเซ็ง แต่เราเป็นได้มากกว่านั้น ทำไมเราถึงปล่อยให้อารมณ์บางอารมณ์ขับเคลื่อนชีวิตเราล่ะ”

ทำอย่างไรกับปัญหาการนินทากันในที่ทำงาน ?

หลวงพี่จิตร์ : สิ่งแรกที่เราควรทำก็คือการไม่มีส่วนรวม ถ้าเราไม่ชอบวัฒนธรรมอะไรสิ่งแรกที่เราควรทำก็คืออย่าสนับสนุนวัฒนธรรมนั้น หลวงพี่ชอบคำของ มหาตมา คานธีที่ว่า ” n gettalway you can shake the world” เราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ด้วยวิธีการที่นุ่มนวล

เวลาที่หลวงพี่เห็นคนที่ทำตัวดี หลวงพี่ถือว่าเขาเป็นมนุษย์แห่งแรงบันดาลใจของเรา เรารู้ว่าคนแบบนี้น่าเคารพ เพราะฉะนั้นแล้วก้นเบื้องลึกของทุกคนเคารพคนที่ไม่นินทากัน

คนที่สามารถพูดถึงกันในแง่ดีและอยู่กับความบกพร่องของคนอื่นได้ด้วยความเข้าใจ ไม่ว่าใครเรามีสิทธิที่จะทำแบบนั้น คือไม่นินทารู้จักไม่ถือสาเมื่อเราต้องเป็นเหยื่อของวัฒนธรรมการนินทา

“คือคนเชื่อจริงๆ หรือเปล่าว่าสิ่งที่เขาบอกมันคือเราจริงๆ หมายถึงถ้าเขาว่าเราไม่ดีแล้วเราไม่ดีจริงหรือเปล่า ถ้าเราเข้าใจว่าคำพูดเป็นแค่คำพูด เราไม่ได้ถูกเปลี่ยนด้วยคำพูด ชีวิตเราเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา ถ้าเราแยกแยะได้ เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อของคำพูดไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง”

รู้หมดไฟกับการทำงานจะทำอย่างไรดี ?

หลวงพี่จิตร์ : เราต้องดูก่อนว่ามันเป็นการหมดไฟแบบไหน หมดไฟจากทางด้านร่างกายหรือด้านจิตใจ คนบางคนทำอะไรไม่มากแต่มันมีภาระทางใจอยู่สูงเช่น รู้สึกถูกกดดัน หรือกดดันตัวเอง

แรกสุดหากเรานำภาระทางใจออกมันจะมีแต่ความหนักหน่วงทางกาย ความหนักหน่วงทางกายถ้าแค่ชั่วคราวได้รับการพักผ่อนก็สามารถหายได้

การหมดไฟถ้าดูสาเหตุจริง ๆ อาจเกิดจากความที่เราไม่ไว้เนื้อเชื่อใจใครในการทำงาน อยากทำทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือเกิดจากการที่เราพักไม่เป็น แต่ถ้าเราดูถูกกดทั้งภาระทางใจและภาระทางกาย  ก็ต้องหาวิธีการหรือบริหารตัวเองใหม่

คิดเห็นอย่างไรกับคำพูดที่ว่า “คนรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อย”

หลวงพี่จิตร์ : หลวงพี่คิดว่ามีสิทธิ เพราะยุคสมัยนี้เป็นโลกของการเรียนรู้ที่เร็ว และคนรุ่นใหม่ถูกสอนมาให้สำรวจความเป็นไปได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นแล้วอาจจะดูเหมือนกับว่าคนรุ่นใหม่ทำงานไม่ทน แต่การที่เรียนรู้หลากหลายสายงานหลากหลายที่

หลวงพี่คิดว่าในเมื่อมันเป็นโลกแห่งความเป็นไปได้เขาก็มีสิทธิสำรวจ แต่มันต้องมีจุดที่เขาค้นคว้ามาเพียงพอ และต้องเริ่มทำอะไรบางอย่างให้เป็นชิ้นเป็นอัน เพราะในที่สุดแล้วการที่เราเอาแต่สำรวจมันจะไม่มีจุดแข็งของตัวเอง เพราะฉะนั้นตอบไม่ได้เลยว่าถูกหรือผิด แต่เราต้องรู้ให้ได้ว่าเราจะทำสิ่งนั้นเพื่ออะไรและเพราะอะไร

คิดเห็นอย่างไรกับการที่คนรุ่นใหม่ไม่เข้าวัดทำบุญ 

หลวงพี่จิตร์ : หลวงพี่ก็คิดว่ามันก็อยู่ในทุกยุคทุกสมัยที่คนไม่เข้าวัด เราต้องดูก่อนว่าวัดคือที่อะไร วัดคือสถานที่ที่เราเข้าไปเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับจิตใจตัวเองมาบริหารตัวเอง

ส่วนมิติของการทำบุญเราควรทำบุญทุกที่ หลวงพี่ไม่เคยคิดว่าการทำบุญคือการเข้าวัดเลย ถ้าเราทำบุญในวัดแล้วรู้สึกว่าวัดเป็นที่ลงทุนในด้านบุญกุศลมันจะไม่ถูกต้องเลย เพราะว่าบุญไม่ใช่การหยิบของออกจากตัว

บุญหมายถึงการกระทำบางที่ทำให้ใจเราสงบร่มเย็น กว้างขวาง เพราะฉะนั้นแล้วการให้เกียรติคนอื่น การรู้จักแบ่งปัน การมองโลกในแง่ดี เนี้ยแหละคือบุญในระดับจิตใจ แล้วเดี๋ยวการกระทำภายนอกจะสอดคล้องเอง

“สำหรับหลวงพี่แล้วบุญจึงไม่เท่ากับการไปทำทานที่วัด  แต่บุญหมายถึงการกระทำบางที่ทำให้ใจเราสงบร่มเย็น กว้างขวาง”

 

Writer Profile : Yoom
เด็กหนุ่มจบปรัชญาและศาสนาแต่มาทำงานเป็น Content Creator รักการปีนเขา เวลาว่างชอบเล่นกับแมว และชอบถ่ายวิดิโอเป็นชีวิตจิตใจ
View all post

[NEWS] ตายแล้วไปไหน? อ่อ ไปเป็นปุ๋ย เนเธอร์แลนด์สร้าง "โลงศพเห็ด" ย่อยสลายได้ใน 45 วัน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save