category สรุปข้อสงสัย : ‘ภาษีคริปโทฯ’ เก็บอย่างไร นักเทรดมือใหม่ต้องรู้!


: 4 กุมภาพันธ์ 2565

หนึ่งในเทรนด์การลงทุนที่กำลังมาแรงที่สุดใน พ.ศ. นี้ คิดว่าคงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า ‘คริปโทเคอร์เรนซี’ อีกแล้ว โดยก่อนหน้านี้ Mango Zero เองก็เคยได้เขียนถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคริปโทฯ กันมาบ้าง (อ่าน : ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่โลก ‘Cryptocurrency’)

แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจสำหรับเทรนด์การลงทุนในคริปโทฯ โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมายการจัดเก็บภาษีคริปโทฯ ที่กำลังเป็นเรื่องฮอตฮิตและเป็นที่ถกเถียงกันหลากหลายแง่มุม

วันนี้เราจึงได้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยที่มือใหม่หลายคนอยากรู้ไปปรึกษาคุณวีระพล บดีรัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า หรือผู้เชี่ยวชาญ K WEALTH GURU ธนาคารกสิกรไทย เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้เข้าใจมากขึ้น

หากใครสนใจข้อมูลความรู้เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มเติม ก็สามารถติดตามสาระความรู้ดี ๆ ได้ทาง K WEALTH แหล่งรวบรวมความรู้ด้านการลงทุนจากธนาคารกสิกรไทยได้ฟรีที่ www.kasikornbank.com/kwealth กันได้เลย

นิยามของคริปโทฯ ตามกฏหมาย ?  

สำหรับ คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลนั้นตามกฏหมายแล้ว ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งไม่นับเป็นสกุลเงินในเชิงกายภาพ

เป็นความหมายตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดนิยาม การกำกับดูแล การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน การประกอบกิจการ/เลิก เพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดเงินได้จากคริปโทฯ ในการเสียภาษี

ดังนั้นเงินได้ที่เกิดจากคริปโทเคอร์เรนซี ไม่ว่าจะเป็นการเทรดเพื่อสร้างกำไร, การสเตคเหรียญที่ให้ผลตอบแทนคล้ายเงินปันผล รวมไปถึงการขุดเหรียญและนำไปขาย ก็นับเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

ภาษีคริปโทฯ เรียกเก็บตอนไหน ?

จากแถลงล่าสุดของกรมสรรพากร เมื่อ 28 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา สรุปได้ว่า เงินได้ของเราที่ต้องเสียภาษีคริปโทฯ กรณีที่ได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล เรียกเก็บในรูปแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.) จากเงินได้พึงประเมิน ที่ทุกคนต้องยื่นกันทุกปีนั่นเอง
 

กำไรขั้นต่ำเท่าไหร่ ที่ต้องเสียภาษี ?

อีกหนึ่งข้อสงสัยที่มือใหม่อยากรู้ นั่นก็คือ ถ้าเพิ่งเริ่มเข้าวงการเทรด ได้กำไรขึ้นต่ำเท่าไหร่ จึงจะต้องเสียภาษี คุณวีระพล บดีรัฐ K WEALTH GURU เองก็ได้ให้คำตอบว่า นักลงทุนจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. ประจำปี โดยการคำนวณภาษีในอัตราก้าวหน้า 5-35%

ซึ่งคิดจากเงินได้สุทธิทั้งปี คือเงินได้จากคริปโท เงินเดือน เงินจากธุรกิจ และรายได้อื่นๆ นำมาหักลบค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ โดยถ้ามีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี

ดังนั้น ในกรณีที่เป็นคนที่มีเงินได้จากคริปโทเพียงอย่างเดียว สถานภาพโสด และไม่มีรายการลดหย่อนภาษีอื่นๆ จะเสียภาษีต่อเมื่อมีเงินได้ทั้งปีจากคริปโทฯ ตั้งแต่ 210,000 ขึ้นไป

  

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

ยกตัวอย่างการคำนวณภาษี  
กรณี นักลงทุน A มีกำไรจากคริปโทฯ 500,000 บาท กับนักลงทุน B มีกำไรฯ 1,000,000 บาท  
 
หากสมมุติว่าไม่มีรายได้อื่น ๆ ไม่มีรายการลดหย่อนภาษี และมีสถานภาพโสด จะสามารถลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทอย่างเดียว อัตราภาษีที่จ่ายก็จะไม่เท่ากัน เนื่องจากการคำนวณภาษีในอัตราก้าวหน้า 5-35%  

 

หากเทรดคริปโทฯ ขาดทุน จะนำมาหักลบภาษีได้ไหม ? 

สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ..ด.) จากเงินได้พึงประเมินนั้น อัปเดตจากแถลงการณ์ล่าสุดของกรมสรรพากร ณ วันที่ 28 มกราคม 2565 กำลังเสนอให้ออกกฎกระทรวง เพื่อให้นำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน โดยต้องทำการซื้อขายผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เท่านั้น 

 

ถ้าเทรดแล้ว ยังเก็บเงินไว้ใน E-Wallet ยังไม่ถอนออกมา จะโดนหักภาษีไหม ? 

ในส่วนนี้ถือว่ายังต้องเสียภาษี เนื่องจากเป็นเงินได้ หรือกำไรที่เกิดขึ้นแล้ว  

การยื่นภาษีคริปโทฯ ที่ถูกต้อง ทำอย่างไร?

พูดมาถึงตรงนี้แล้ว หากจะต้องยื่นภาษีคริปโทฯ ให้ถูกต้อง นักลงทุนมือใหม่ ควรเตรียมตัวอย่างไร คุณวีระพล บดีรัฐ ก็ได้ให้แนวทางไว้ดังนี้

  1. จดบันทึกกำไร/ขาดทุน ของแต่ละรายการไว้ นอกจากเพื่อยื่นภาษีแล้ว ยังเพื่อรู้สถานะกำไร/ขาดทุน ของแต่ละคน 
  2. เมื่อครบปี ต้องยื่นภาษีในช่วง ม.ค.-มี.ค. ต้องนำเงินได้มาคำนวณเพื่อเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 5-35%

นอกจากนี้ กรมสรรพากรได้พูดถึงความเป็นไปได้ในการแก้ประมวล รัษฎากรมาตรา 50 ที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยให้ทาง Exchange เป็นผู้หัก และนำส่งกรมสรรพากร 

และการเปลี่ยนประเภทการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีเฉพาะสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งสองเรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นที่กรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรึกษาหารือ รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อกำหนดนโยบายการจัดเก็บภาษีที่ทำได้จริงและเป็นธรรมกับนักลงทุนมากที่สุด 

หากมีรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมหลังจากนี้ คงจะได้มาอัปเดตกันอีกครั้ง สามารถติดตามสาระความรู้ดี ๆ จาก K WEALTH แหล่งรวบรวมความรู้ด้านการลงทุนโดยผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารกสิกรไทยได้ฟรีที่ www.kasikornbank.com/kwealth ได้เลย 

ที่มา : K WEALTH, www.rd.go.th

 

 

 

Writer Profile : jazz.ordinaryday
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

พาทัวร์ Apple Central World ครบทุกมุม!


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save