การเดินทางของ 'วัคซีนโควิดไทย' (ล็อตแรก)

Writer : Bestps

: 1 มีนาคม 2564

อัพเดทล่าสุดของ ‘วัคซีนโควิด’ สำหรับชาวไทย ในล็อตแรกก็เพิ่งแลนดิ้งสู่ไทยสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งไทยเราก็ได้มีการพรีออเดอร์วัคซีนมา 2 เจ้า คือวัคซีน Sinovac และวัคซีน AstraZeneca จำนวนหลายล้านโดส ที่ส่งตามมาเป็นล็อต ๆ หลังจากนี้

แต่หลายคนคงยังไม่รู้ว่า สรุปแล้วเมื่อวัคซีนล็อตแรกมาถึงแล้วเราจะได้ฉีดทุกคนเลยมั้ย? แล้วทางรัฐบาลจะจัดการยังไงต่อ? ใครได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก ? วันนี้ Mango Zero มีคำตอบมาให้ โดยจะพาทุกคนไปดูการเดินทางของ ‘วัคซีนโควิด’ ล็อตแรกนี้ว่าเส้นทางของมันจะไปที่ไหนบ้าง ตามไปดูกันเล้ยยย

วัคซีนโควิดในล็อตแรกถึงไทยแล้ว 317,600 โดส

อย่างที่ทุกคนน่าจะได้ยินข่าวกันมาบ้างแล้ว ว่าประเทศไทยได้มีการสั่งวัคซีนมาจากสองเจ้า คือ วัคซีน AstraZeneca และ วัคซีน Sinovac  ซึ่งการส่งวัคซีนก็จะทำการส่งขนส่งเป็นล็อต ๆ ในส่วนของล็อตแรกไทยนี้เราก็ได้รับวัคซีน Sinovac มา 200,000 โดส และวัคซีน AstraZeneca 117,600 โดส ที่ส่งตามกันมาติด ๆ โดยรวมทั้งหมดตอนนี้เท่ากับว่าไทยมีวัคซีนแล้วทั้งหมด 317,600 โดส

มาถึงแล้วแค่ 0.05% ของวัคซีนที่ไทยจะได้รับทั้งหมด

จริง ๆ แล้วไทยเองมีแผนจะสั่งวัคซีนเพื่อคนไทยทั้งหมด 63 ล้านโดส โดยแบ่งเป็น

  • วัคซีน Sinovac ทั้งหมด 2 ล้านโดส
  • วัคซีน AstraZeneca 61 ล้านโดส

ถ้าลองคิดเล่น ๆ ตอนนี้เราก็ได้รับวัคซีนไปแล้ว 317,600 โดส ก็จะคิดได้เป็นแค่ 0.05% ของวัคซีนทั้งหมดที่ไทยจะได้รับ ดังนั้นแล้วจนกว่าวัคซีนจะมีมากจนเพียงพอ ประชาชนคนธรรมดาที่ร่างกายไม่ได้เจ็บป่วยอย่างเรา ๆ คงต้องรอคิวรับวัคซีนต่อไปอีกซักพักเลยล่ะ

วัคซีน (ล็อตแรก) มาถึงแล้วไปไหนต่อ ?

วัคซีน Sinovac : 200,000 โดส

  1. แบ่งสำหรับควบคุมการระบาด และฉีดให้บุคลากรในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิด จำนวน 16,300 โดส 
  2. แบ่งสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 13 จังหวัด จำนวน 183,700 โดส
    • พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดง)
      • สมุทรสาคร : 70,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 8,000 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 6,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว : 46,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน : 10,000 โดส
    • พื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีส้ม)
      • กรุงเทพมหานคร 66,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 12,400 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 1,600 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว : 47,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน : 5,000 โดส
      • ปทุมธานี : 8,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 3,000 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 2,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว : 2,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน : 1,000 โดส
      • นนทบุรี : 6,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 2,000 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 1,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว : 2,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน : 1,000โดส
      • สมุทรปราการ : 6,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 2,000 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 1,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว : 2,000 โดส
        • ฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน : 1,000 โดส
      • ตาก (.แม่สอด: 5,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 3,000 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 2,000 โดส
      • นครปฐม : 3,500 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 2,500 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 1,000 โดส
      • สมุทรสงคราม : 2,000 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 1,500 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 500 โดส
      • ราชบุรี : 2,500 โดส
        • ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า : 2,000 โดส
        • ฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย : 500 โดส
    • พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม (*ในส่วนนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จะพิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์ และบริบทของพื้นที่)
      • ชลบุรี : 4,700 โดส
      • ภูเก็ต : 4,000 โดส
      • สุราษฎร์ธานี (.เกาะสมุย) : 2,500  โดส
      • เชียงใหม่ : 3,500 โดส

วัคซีน AstraZeneca : 117,600 โดส

  • แบ่งกระจายเสริมให้กับผู้สูงอายุ 60+’
    • พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดง)
    • พื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีส้ม)

ใครฉีดวัคซีนก่อน ใครฉีดหลัง ?

ระยะที่ 1 : ช่วงวัคซีนมีจำกัด 

  1. บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า (ภาครัฐ, เอกชน)
  2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว
    • โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5
    • โรคหลอดเลือกสมอง
    • โรคมะเร็ง
    • โรคเบาหวาน
    • โรคอ้วน
  3. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
  4. เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย

 ระยะที่: ช่วงวัคซีนมีเพียงพอ

  1. กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1
  2. บุคลากรทางการแพทย์ ที่นอกเหนือจากด่านหน้า
  3. ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว (พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา)
  4. ผู้เดินทางต่างประเทศ (นักบิน/ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ)
  5. ประชาชนทั่วไป
  6. นักการฑูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว
  7. แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ

ที่มา Thai PBS, Prachachat, Bangkokbiznews,Thansettakij


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save