Mango Zero

คูลทอม’s view : อย่าเห็นนักเรียนเป็นแค่เครื่องมือเอาชนะโรงเรียนอื่นนะครับโผมมมมมมม

สวัสดีครับ คูลทอม’s views วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องกิจกรรมโครงการติวการกุศลของผมให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ ผมเริ่มจัดกิจกรรมการกุศลอย่างจริงจังมาตั้งแต่ช่วงวันเกิดเมื่อ 4 ปีก่อนครับ ตอนนั้นคิดแค่ว่าอยากทำกิจกรรมการกุศลเนื่องในวันเกิดบ้าง เลยไปเลี้ยงอาหารที่โรงเรียนสอนคนหูหนวก พอปีถัดมาก็รู้สึกว่าเห็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เป็นนักร้อง เขาจัดกิจกรรมร้องเพลงการกุศลตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วเปิดรับบริจาคเงินเพื่อนำไปทำกิจกรรมการกุศลอื่น ๆ

ผมเองก็อยากทำบ้างครับ แต่ด้วยทักษะการร้องเพลงที่อ่อนด้อย คงไม่มีใครร่วมบริจาคเท่าไรนัก ผมเลยย้อนมามองสิ่งที่ตัวเองถนัด ก็คือการติวหนังสือครับ (ผมไม่ได้เปิดโรงเรียนกวดวิชา แต่ว่าจะเป็นอาจารย์พิเศษตามโรงเรียนมัธยมต่าง ทั่วประเทศ)

วันเกิดปีนั้นเลยจัดกิจกรรมติว GAT การกุศลขึ้น โดยไปจัดการเช่าห้องเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าเช่าก็ไม่ใช่ถูก นะครับ ฮ่า แต่ก็มีเพื่อน พี่ น้อง ที่รู้จักกันในเฟซบุ๊ก ร่วมสมทบทุนมาตามกำลังศรัทธาเพื่อเป็นค่าเช่าสถานที่ ค่าเอกสาร เพื่อนบางคนก็สนับสนุนกิจกรรมโดยการส่งขนมลังใหญ่มาให้ถึงที่ บางส่วนก็มาช่วยเป็นสตาฟคอยจัดการนั่นนี่นู่นในงาน

รูปแบบกิจกรรมก็ไม่มีอะไรมากครับ ผมจัดติว GAT  ให้น้อง .ปลายที่สนใจสมัครเข้ามาเรียน โดยที่น้อง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว แต่ในงานจะมีกล่องรับบริจาคให้น้อง บริจาคตามจิตศรัทธา แล้วผมจะนำเงินทั้งหมดไปบริจาคเป็นทุนการศึกษาให้โรงเรียนชุมชนบ้านอมก๋อย .อมก๋อย .เชียงใหม่

นอกจากกิจกรรมติว ผมได้เพิ่มกิจกรรมแนะแนวด้วย โดยการชักชวนเพื่อน ที่มีเรื่องราวชีวิตเกี่ยวกับการศึกษาที่น่าสนใจ มาเล่าประสบการณ์ให้น้อง ฟัง ได้แก่ หมอเก่ง วาโย คุณหมอนักแสดงที่มีปริญญาถึง 5 ใบ, เต็งหนึ่ง คณิศ นักแสดงผู้หลงใหลการเป็นเชฟจนถึงขั้นไปเรียนทำอาหารจริงจังจนเชี่ยวชาญ, เมฆ จิรกิตติ์ นักแสดงที่เรียนด้านสื่อสารมวลชนมาโดยตรง, .กิ๊ก จินต์สิรี อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ .อัสสัมชัญ ดีกรีเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และเกียรตินิยม ปริญญาโท มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์

จำได้ว่าตอนช่วงเปิดรับสมัคร มีนักเรียนสมัครเข้ามาเยอะมากเกินกว่าที่คาดไว้ ตอนแรกจะเปิดแค่ 1 รอบ รับได้ 400 คน แต่สุดท้ายก็ต้องเพิ่มอีกรอบ รับเด็กเพิ่มได้อีก 400 คน มีน้อง หลายคนเดินทางมาจากต่างจังหวัดด้วย ปีถัดมา ผมเลยคิดอยากจะไปติวการกุศลที่ต่างจังหวัดบ้างครับ

ต้องเล่าก่อนครับว่า ปัจจุบันนี้ติวเตอร์ไม่ได้มีแค่ที่เปิดโรงเรียนกวดวิชาอย่างที่เห็นกันมากมาย แต่ยังมีติวเตอร์ที่รับงานแบบฟรีแลนซ์ คือหลายโรงเรียนเขาจะเชิญติวเตอร์เหล่านี้ไปเป็นวิทยากรพิเศษ ติววิชาต่าง เพื่อเตรียมสอบ GAT หรือ O-Net ให้นักเรียนด้วยครับ แต่บางโรงเรียนก็ไม่มีงบประมาณในส่วนนี้ หรือบางพื้นที่ก็ไม่มีติวเตอร์เข้าไปติวเท่าไรนัก

ผมก็เลยติดต่อไปที่ อ.อมราภรณ์ ขุนแผ้ว โรงเรียนนราธิวาสให้ช่วยประสานงานกับหน่วยงานภายในจังหวัด เพราะผมอยากจะไปติว GAT ให้น้อง ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ด้วยเหตุผลบางประการจึงได้จัดกิจกรรมแค่ที่จ.นราธิวาส และจ.ยะลา มีนักเรียนจากหลากหลายโรงเรียนมาร่วมติวกันอย่างคับคั่ง โดยมีอ.จิวเวลรี แห่งสถาบัน Debut15 สยามสแควร์ รุ่นพี่ที่คณะอักษรฯ ไปร่วมติววิชาภาษาอังกฤษด้วยครับ

ปีนี้ผมก็จัดกิจกรรมติวการกุศลอีก มีครูเพชร พสธร เรืองวิริยดำรงค์ รุ่นน้องที่คณะอักษรฯ มาช่วยติววิชาภาษาอังกฤษ ครั้งนี้สัญจรไปที่โรงเรียนหนองบัวระเหววิทยาคาร และโรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน .ชัยภูมิ มีอ.ณัฐพล ปราบคะเชน รุ่นน้องที่เคยทำกิจกรรมร่วมกันมาสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ผู้เป็นอาจารย์วิชาชีววิทยาแห่งโรงเรียนหนองบัวระเหววิทยาคารเป็นผู้ประสานงาน

.ณัฐพล น่ารักมากครับ ที่ช่วยประสานงานให้โรงเรียนบ้านเขว้าฯ ด้วย และทั้ง 2 โรงเรียนก็น่ารักมาก อีกเช่นกันนะครับที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้โรงเรียนอื่น ในละแวก และในอำเภอใกล้เคียงได้เข้ามาเรียนร่วมกัน ชื่นชมน้ำใจที่ทุกโรงเรียนมีให้แก่กันครับ

อันนี้ต้องยอมรับจริง ว่าชื่นชมมาก (ฝากเติม ไก่ ไปอีกเยอะ ) เนื่องจากผมเคยเจอบางโรงเรียนพยายามปิดกั้นโอกาสโรงเรียนอื่นนะ เพราะบางโรงเรียนเขามองว่าโรงเรียนอื่นเป็นคู่แข่งทางการศึกษา คือเวลาสอบโอเน็ต ก็จะมีการจัดอันดับโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาด้วยไงครับว่าโรงเรียนไหนมีผลคะแนนอยู่อันดับไหน ซึ่งก็จะดูจากคะแนนสอบของนักเรียนนี่แหละครับ ทำให้แต่ละโรงเรียนพยายามแข่งกันเพื่อจะได้อยู่อันดับต้น ของตาราง

ถ้าโรงเรียนไหนได้อันดับดี ก็จะได้รับคำชมเชย ได้หน้ากันไปแต่ถ้าโรงเรียนไหนอันดับไม่ดี ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ก็อาจจะมีจดหมายมาที่โรงเรียนว่าให้ปรับปรุงสาขาวิชาไหนอย่างเร่งด่วน และที่สำคัญที่สุดคืออาจารย์และผู้บริหารโรงเรียนนั้นก็อาจจะถูกโรงเรียนอื่นเอาไปเมาท์กันอย่างสนุกปากได้

 สาเหตุที่แต่ละเขตต้องเคร่งกับเรื่องผลคะแนนของโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ก็เพราะแต่ละเขตทั่วประเทศก็ต้องแข่งขันกันด้วยครับ เขตไหนค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี ก็ได้รับคำชื่นชมยินดีกันไป

การที่โรงเรียนแข่งกันทำอันดับ มันก็ดีครับที่ทุกโรงเรียนจะได้พัฒนาตนเอง แต่ถ้าคิดแต่ว่าจะให้โรงเรียนตนเองแซงหน้าโรงเรียนอื่น โดยการไปขัดขวางปิดกั้นการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนโรงเรียนอื่น แบบนี้ผมว่าไม่ค่อยน่ารักเลย

เพราะเด็กนักเรียนก็คือเด็กนักเรียน คืออนาคตของชาติที่ควรจะได้รับการศึกษา ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนโรงเรียนของเราหรือไม่ แต่ครูที่ดีก็ต้องหวังดีแก่นักเรียนทุกคนไม่มีแบ่งแยกว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนไหน เด็กนักเรียนไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือสำหรับเอาชนะโรงเรียนคู่แข่งนะครับ

ปีนี้ผมโชคดีมากครับที่ได้รับงบสนับสนุนจากบริษัท แจ่มดี จำกัด ที่เป็นผู้นำเข้าวง Foo Fighters เข้ามาเปิดแสดงในไทยนี่แหละครับ (เปิดขายบัตรแล้วนะเออ เอ้า! ขายของไปอี๊กกกก) ทำให้ผมสามารถจัดกิจกรรมติวได้ถึง 5 โรงเรียน ตอนนี้จัดไปแล้ว 2 โรงเรียน ก็เหลือโควตาอีก 3 โรงเรียน ดังนั้น ถ้าคุณครูโรงเรียนไหนอยากจะให้ครูทอมไปจัดกิจกรรมติวให้ก็เสนอมาได้เลยนะครับ เดี๋ยวทางทีมงานจะพิจารณาแล้วติดต่อกลับไปครับ

เรื่องราวในแวดวงการศึกษาที่ผมพบเจอมา ยังมีอีกเยอะครับ เดี๋ยวจะค่อย มาเล่าให้ฟังนะครับ แต่เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอทิ้งท้ายด้วยการฝากย้ำถึงผู้ใหญ่สักหน่อยครับว่า ถ้าจะมีนโยบายอะไร จะจัดกิจกรรมอะไร อย่าลืมว่าส่วนที่สำคัญที่สุดคือเด็กนักเรียนของเราทุกคนครับ