เป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์เมื่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการสั่งห้ามเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ชาร์จแบตมือถือในที่ทำงาน ซึ่งกระทบกับทั้งหมอ, พยาบาล และเจ้าหน้าที่หลายฝ่าย จนเกิดการวิจารณ์กันเพียบ แม้เราจะไม่รู็เหตุผลที่แท้จริงว่าการห้ามชาร์จแบตมือถือในโรงพยาบาล ซึ่งถือเป็นสถานที่ทำงานของหมอพยาบาลนั้น เกิดจากเหตุใดกันแน่ ? แต่เราลองมาดูกันดีกว่าว่า “ค่าไฟ” ที่ต้องจ่าย ในการชาร์จแบตมือถือ 1 เครื่องนั้น มีราคากี่บาท แล้วรพ.ต้องจ่ายเงินมากน้อยแค่ไหนกับค่าไฟเหล่านี้ในแต่ละเดือน เผยค่าไฟชาร์จแบตมือถือจนเต็มไม่ถึง 5 สตางค์ โทรศัพท์มือถือที่เราใช้ทุกวันนี้ มีเทคโนโลยีที่ไปไกลมากโดยเฉพาะเรื่องของการประหยัดพลังงาน ซึ่งถึงแม้เราจะรู้สึกว่าชาร์จแบตมือถือเครื่องนึงใช้เวลาตั้งหลายชั่วโมงกว่าจะเต็ม แต่จริงๆ แล้วกำลังไฟที่ใช้นั้น น้อยเอามากๆ โดยหากเราประมาณว่าแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนมีขนาด 2,500 mAh 3.8V เมื่อมาคำนวณหาค่า Wh (วัตต์ต่อชั่วโมง) จะได้ว่าชาร์จแบตหนึ่งครั้ง มีค่าเท่ากับ 9.5Wh ซึ่งค่ายังต้องมีการคำนวณความต้านทานอีกเล็กน้อย โดยขอประมาณว่าได้ที่ 11.87 Wh เมื่อค่าไฟฟ้าในไทย ประมาณหน่วยละ 4 บาท สรุปก็จะได้ค่าไฟต่อการชาร์จแบตมือถือจนเต็มหนึ่งครั้ง เท่ากับ 0.047 บาท หรือประมาณ 4-5 สตางค์ เท่านั้นเอง นั่นหมายความว่าหากเราชาร์จแบตมือถือจนเต็มทุกวันตลอด 1 ปี ค่าไฟ = 0.047 x 365 = 17-18 บาทเท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อดูค่าไฟที่น้อยนิดต่อการชาร์จแบตมือถือแล้ว หากในโรงพยาบาลมีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่รวมกัน 500 ราย และพร้อมใจชาร์จแบตมือถือจนเต็ม โรงพยาบาลก็จะเสียค่าไฟฟ้าไปทั้งหมด 0.047 x 500 หรือประมาณ 24 บาทต่อวันเท่านั้นเอง ทั้งเดือนก็จะเป็นค่าไฟฟ้าเพียง 720 บาท จะเห็นได้ว่าค่าไฟฟ้าในการชาร์จอุปกรณ์มือถือ ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายสูงอะไรมากมายเลย เคยมีการคำนวณด้วยโทรศัพท์มือถือนั้น มีค่าไฟที่ถูกกว่าโน๊ตบุ๊คถึง 14 เท่า และถูกกว่าทีวีจอใหญ่ถึง 72 เท่าด้วยซ้ำ ที่มา – การไฟฟ้านครหลวง, Oracle, MacThai, ThaiWare, Pantip, Manager