อะไรที่อยากลืมกลับจำ อะไรที่อยากจำกลับลืม เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจของใครหลายคน ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่มีปัญหาความจำ วัยรุ่นและวัยทำงานเองก็เจอกับอาการขี้หลงขี้ลืมได้เหมือนกัน สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะพฤติกรรมของเราเอง ที่ทำให้ความจำแย่ลง ถ้าใครกำลังมีพฤติกรรมทำร้ายสมอง ต้องรีบปรับตัวก่อนจะกลายเป็นคนขี้ลืม มาถนอมสมองของเราให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้ดั่งใจดีกว่า พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะนอนน้อย หรือรู้สึกว่านอนเยอะแต่หลับๆ ตื่นๆ สมองไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เป็นอย่างนี้บ่อยๆ ส่งผลเสียต่อความจำและอารมณ์แน่นอน เนื่องจากตอนนอนหลับ สมองจะจัดระเบียบข้อมูลและความจำ หากนอนหลับไม่เพียงพอ กระบวนการทำงานของสมองในส่วนนี้ก็จะถูกขัดขวาง แต่ละคนต้องการการนอนหลับพักผ่อนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ กิจกรรมที่ทำ เป็นต้น ซึ่งวัยรุ่นและวัยทำงานควรนอนหลับ 7-9 ชั่วโมง แม้จะดูเป็นตัวเลขในอุดมคติที่ใครหลายคนไม่ได้สัมผัสการนอนหลับอย่างมีคุณภาพมานานแล้ว แต่ก็ควรแบ่งเวลาให้ได้ เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอบ่อยๆ จะส่งผลต่อความจำในระยะยาว เครียดและกังวล ปัญหาของคนวัยทำงาน ความเครียดและความกังวลเป็นอุปสรรคต่อการจดจำและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตอนที่เราเครียดจะไม่สามารถเรียนรู้หรือจำข้อมูลได้อย่างเต็มที่ รวมถึงส่งผลให้เรานึกถึงข้อมูลเก่าๆ ในคลังสมองได้ยากขึ้นอีก หลายครั้งที่ความเครียดและความกังวลก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว แถมยังควบคุมไม่ได้อีก แต่เพื่อไม่ให้ความเครียดเหล่านั้นส่งผลต่อร่างกายและสมอง เราต้องมีวิธีรับมือกับความเครียด ค่อยๆ แก้ปัญหาไปทีละเรื่อง ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่ต้องคิดเรื่องปวดหัวตลอดเวลาก็ได้ ดื่มให้สุด แล้วหยุดที่ลืม การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักและบ่อย ส่งผลต่อสมองและความจำระยะสั้น (Short Term Memory) อย่างที่เรามักจะเห็นว่าคนที่ดื่มแอลกอฮอล์จนเมา มักจะจำเรื่องราวบางอย่างไม่ได้ในขณะนั้น หรือควบคุมการกระทำและคำพูดไม่ค่อยได้ อะไรที่ปกติไม่กล้าทำ ตอนเมากลับกล้าทำได้อย่างไม่น่าเชื่อ (เผลอๆ ทำไปแบบไม่รู้ตัว) หรือเมื่อตื่นเช้าขึ้นมาหลักจากค่ำคืนที่ปาร์ตี้อย่างหนัก มักจะจำได้เลือนลาง หรือจำไม่ได้เลยว่าพูดและทำอะไรไปบ้าง ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์มากไปแบบนี้ ไม่ได้ส่งผลต่อความจำในช่วงที่ดื่มเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสมองและความจำในระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าไม่งด ก็ต้องลดปริมาณการดื่มให้พอดี เพื่อให้ร่างกายขับออกได้ โดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจนเกินไป ออกกำลังกาย ไม่ใช่เรื่องถนัด การออกกำลังกายที่ถูกวิธีไม่เคยทำร้ายใคร แต่ถ้าไม่ออกกำลังกาย ทำร้ายความจำแน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง พัฒนาความจำให้ดีขึ้น ถ้าเคยมีข้ออ้างในการออกกำลังกาย ลองเอาชนะใจตัวเองแล้วเริ่มต้นออกกำลังกายดูสักตั้ง รับรองว่าดีต่อใจ ร่างกาย และความจำแน่นอน ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เรื่องกินเรื่องใหญ่ แต่กินเยอะแค่ไหนถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็ไม่ดีแน่ โดยเฉพาะการขาดวิตามินบี 12 และโอเมก้า 3,6,9 ที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ยิ่งส่งผลต่อความจำและกระบวนการคิด ด้วยความที่ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินบี 12 รวมถึงโอเมก้า 3 และ 6 ได้ด้วยตัวเอง เราจึงต้องช่วยร่างกายด้วยการกินอาหารที่สารอาหารเหล่านั้น รวมถึงสารกาบา ที่มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลระบบประสาท บำรุงสมอง ร่างกายทำงานทุกวัน สมองก็ถูกใช้งานทุกวันเหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องดูแลให้ดีที่สุด! อัพเกรดความจำด้วยสารอาหารบำรุงสมองจัดเต็มแบบคูณ 3 ทั้งกาบา, วิตามินบี 12, โอเมก้า 3,6,9 วิตามินบี 12 หาได้ในเนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม โอเมก้า 3 หาได้ในอาหารทะเล ถั่ว เมล็ดพืช และน้ำมันพืช โอเมก้า 6 หาได้ในน้ำมันพืชที่เราใช้ปรุงอาหาร โอเมก้า 9 ร่างกายสามารถสร้างได้เองจากการนำกรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 มาใช้ และยังพบได้ในถั่ว งา อโวคาโด น้ำมันมะกอกและน้ำมันดอกทานตะวัน สารกาบา พบได้ในจมูกข้าวญี่ปุ่น ข้าวกล้อง และข้าวกล้องงอก เติมพลังกายและพลังสมองด้วยสารอาหารบำรุงสมองทั้งหมดนี้ ที่มีอยู่ใน “ดีน่ากาบา” นมถั่วเหลือง สูตรผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น อุดมไปด้วยสารกาบา วิตามินบี12 และโอเมก้า 3,6,9 มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง แถมยังน้ำตาลน้อย ดีต่อใจ ความจำดีขึ้น ชีวิตดีขึ้นแน่นอน! #สมองดีอะไรๆ ก็ดี #มีเรื่องให้คิดเยอะต้องไม่ลืมดื่มดีน่ากาบา #ดีน่ากาบาพาสเจอร์ไรซ์ #น้ำตาลน้อยอร่อยกว่าที่คิด ที่มา pobpad bangkokpattayahospital keckmedicine niaaa honestdocs, honestdocs.co/vitamin-b12 health.harvard.edu