Mango Zero

ย้อนรอยเรื่องชวนคิดของละครไทยสุดฮิตยุค 2000 กับ Call ละคร

ในปัจจุบันละครไทยที่ได้รับความนิยมจาก พล็อตเรื่อง เสื้อผ้า หน้าผม รวมไปถึงการมีบทเพลงประจำละครที่ทำให้หลายคนนึกถึงได้เป็นอย่างดี 

 

ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปย้อนรอยความหลังถึงละครไทยยุค 2000 พร้อมกับแฝงเรื่องน่าคิดเกี่ยวกับละครเรื่องนั้นไปกับ Call ละคร By สาวอินชอน พอดแแคสต์ใหม่แกะกล่องของของ GetTalks 

 

แซ่บ ๆๆ นัวๆๆ กับ “คุณชายตำระเบิด”

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินและร้องตามกันอยู่บ่อย ๆ กับเพลงฮิตติดหูอย่าง จ๊กข้าวเหนียว ปั้นข้าวเหนียว จ้ำเบ๊ะจ้ำเบ๊ะ แซ่บคักแซ่บหลาย เพลงประกอบละครเย็น “คุณชายตำระเบิด”

 

ละครเรื่องนี้จะเล่าถึงความรักของคุณชายตำระเบิดและสาวใช้ จากหนุ่มบ้านนอกที่ถูกลอตเตอรี่ผันตัวเป็นคุณชายสุดหล่อในเมืองหลวงพร้อมฝีมือการตำส้มตำที่อร่อยแซ่บจนทุกคนติดใจ จนในที่สุดได้มาพิสูจน์รักแท้กับสาวใช้

 

หนึ่งในละครตอนเย็นที่มีกระแสตอบรับค่อนข้างดี จนทำให้ทางผู้จัดฯ ได้เพิ่มจำนวนตอนมากถึง 76 ตอน จนเกือบจะเทียบเท่าตอนของละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เลยทีเดียวและด้วยเพลงประกอบละครที่แมสจนติดหู ทำให้เพลงนี้เองเข้าชิงรางวัล นาฏราช สาขาเพลงประกอบละครยอดเยี่ยมในปี 2553 อีกด้วย

 

เดินป่าฝ่าดงไปพร้อมกันกับอิยะวดี

ถ้าพูดถึงละครเย็นวัยเด็ก ที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน มีความแฟนตาซี จะไม่พูดถึงเรื่อง “ธิดาวานร” ไม่ได้

 

นับเป็นละครตอนเย็น ที่มีจำนวนด้วยกันถึง 3 ภาค มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยในป่าและยังผสมผสานความคอมเมดี้ลงไปในเรื่องอีกด้วย โดยเรื่องนี้เองถือเป็นเรื่องแจ้งเกิดของอดีตนางเอกดังอย่าง “อาเมเรีย จาคอป Miss Teen Thailand 2006” ที่มาพร้อมกับวลีสุดฮิต “แม่มา” เป็นชื่อลิงที่เลี้ยงนางเอกหรืออิยวะดีมานั่นเอง

 

ความน่าสนใจของละครเรื่องนี้คือ เราจะเห็นเสื้อผ้า การแต่งกาย และอุปกรณ์ในการเข้าป่า ไม่ว่าจะเป็น เป้สนาม, มีดเดินป่า, รองเท้าบูท หรือสิ่งที่ขาดไม่ได้ของตัวละครที่ต้องเข้าป่าคือ หน้าไม้

 

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เมื่อย้อนกลับไปดูละครที่ต้องผจญภัยในป่า แล้วเกิดความเอ๊ะ! ในหัวว่า “นี่คือการแต่งตัวเข้าป่าจริงหรือ” แต่ในปัจจุบันละครไทยก็ได้มีการพัฒนาในจุดนี้มากขึ้นเพื่อให้เกิดความสมจริง การแต่งกายแบบนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งกิมมิกให้น่าจดจำของละครในยุคก่อนนั่นเอง

 

ตามหาชาติกำเนิดกับ “สาวน้อยอ้อยควั่น” 

จะสังเกตได้ว่าละครไทยหลาย ๆ เรื่องจะยังมีพล็อตเรื่องที่เกี่ยวกับการตามหาชาติกำเนิดของตนเอง เช่น การตามหาพ่อแม่ที่แท้จริง และละครที่จะยกตัวอย่างอีกเรื่องก็หนีไม่พ้นกับการตามหาแม่ที่แท้จริงตามฉบับละครไทย อย่างเรื่อง “สาวน้อยอ้อยควั่น”

 

เป็นเรื่องราวของ “อ้อยควั่น” ลูกสาวของเจ้านางน้อยบุญยวง ชนเมืองกลุ่มน้อยที่ลี้ภัยทางการเมืองเข้ามายังประเทศไทย ในขณะนั้นเองก็มีการก่อจลาจล ความวุ่นวายจึงได้เริ่มเกิดขึ้น เธอได้พลัดพรากกับแม่ของตัวเอง และทำให้นางเอกถูกขายไปเป็นขอทาน และพอโตขึ้นนางเอกก็ได้หนีออกมาและกลายเป็นลูกบุญธรรมของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งตอนท้ายของละครก็ได้เฉลยว่าคือ พระเอกนั่นเอง และสุดท้ายอ้อยควั่นเองก็ได้พบกับแม่ของเธออีกครั้ง

 

สาวน้อยอ้อนควั่นสะท้อนให้เห็นว่านอกเหนือจากตัวละครเองแล้วนั้น คนไทยส่วนมากยังวนเวียนอยู่กับการตามหาต้นกำเนิดของตระกูล รวมถึงที่มาของนิสัยใจคลอที่สืบทอดมาจากเชื้อสาย สังเกตได้จากสำนวนสุภาษิตไทย เช่น สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล, ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ หรือ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ที่ต่างก็สื่อความหมายในเชิงว่ามาจากชาติตระกูลแบบไหน ก็จะเป็นแบบนั้น ถึงแม้ในความเป็นจริงจะไม่ใช่แบบนั้นทั้งหมดก็ตาม 

 

ความเชื่อแบบคนพุทธกับ “กาษานาคา”

“กาษานาคา” ละครหลังข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ความรัก ความแค้น และเวรกรรมของพญานาคและครุฑ โดยเนื้อเรื่องจะเล่าถึงอดีตของคู่รักพญานาคคู่หนี่ง ที่ตัวผู้ชายหนีออกไปบวช และตัวผู้หญิงก็ได้ออกไปตามคู่ของตนกลับ แต่ระหว่างนั้นเองกลับถูกครุฑฆ่า จึงทำให้เกิดความแค้นที่ไม่หมดสิ้นไประหว่างพญานาคและครุฑ

 

หนึ่งสิ่งที่แฝงมาในละครเรื่องนี้อย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือ การที่ตัวเอกไม่ใช่มนุษย์ อย่างในเรื่องที่นางเอกเป็น พญานาคนั่นเอง

 

นอกจากนี้ ในตอนจบของละครที่ตัวเอกไม่ใช่มนุษย์มักจะต้องมีการสูญเสียหรือจบลงด้วยการตาย พร้อมการเล่าเรื่องในทำนองว่าไว้เจอกันชาติหน้า ก็เป็นตัวสะท้อนความเชื่อของการเวียนว่ายตายเกิด ตามความเชื่อของชาวพุทธอีกด้วย

 

สำหรับความโด่งดังของละครเรื่องนี้ ก็ทำให้นุ่น วรนุช ผู้รับบทเป็นพญานาค หรือ วาดจันทร์ นางเอกของเรื่องถูกเสนอชื่อเข้าชิงราวงวัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2550 สาขาดารานำหญิงดีเด่น, รางวัล Star Entertainment Awards 2007 สาขาผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และ รางวัล Hamburger Awards สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมอีกด้วย

 

“คมแฝก” ละครแห่งยุคของลูกผู้ชาย

เมื่อพูดถึงละครไทยที่มีการใช้ไอเท็มหรืออาวุธที่สื่อถึงความเป็นลูกผู้ชายในสมัยก่อน เรื่องแรกที่ทุกคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น “คมแฝก” กับไอเท็มคู่ใจของตัวละครคือ ไม้คมแฝก อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ ที่มาพร้อมกับท่าไม้ตายสุดเท่ บวกกับบทเพลงประกอบการต่อสู้ ที่เมื่อได้ยินแล้วทำเอาใครหลาย ๆ คนต้องหยิบสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวพร้อมกับทำท่า และฮัมเพลงไปพร้อมกันอย่างห้ามไม่ได้

 

ด้วยความแมส ความปังของละครเรื่องนี้เอง ทำให้เราได้เห็นกระแสอื่น ๆ ที่เรียกว่าเป็น Soft Power ของละครเลยก็ว่าได้ อย่างการวางขายสินค้าตามท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น ไม้คมแฝก รวมไปถึงสิ่งที่เด็กหลายคนในยุคนั้นต้องซื้อมาใส่ นั่นก็คือ เสื้อที่สกรีนเป็นลายคมแฝก ที่ถือเป็นไอเท็มยอดฮิตในยุคนั้นที่ ใคร ๆ ก็ต้องมี

 

นอกจาก Call ละคร จะพาไปคุณดูละครไทยสุดฮิตทั้งในอดีตและปัจจุบันแล้ว ยังมีการพูดคุยในประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับละครไทยมากมายที่คุณอาจไม่รู้ และชวนให้คุณได้ฉุกคิดไปพร้อม ๆ กัน สามารถร่วมย้อนรอยความหลังละครไทยไปด้วยกันได้ที่รายการ Call ละคร ทาง GetTalks ทุกวันอาทิตย์ได้ที่

Spotify : https://spoti.fi/3kxBFlj

Apple podcast : https://apple.co/3ku2SoU

Soundcloud : https://bit.ly/3n7uMsx