category 5 สัญญาณของอาการสมองล้า ที่คนวัยทำงานต้องระวังกันนะจ๊ะ

Writer : incwaran

: 28 ตุลาคม 2563

งานเยอะ คิดเยอะ #ยุคนี้มีเรื่องให้คิดเยอะ ช่วงแรกๆ ยังมีไฟ แต่พอนานๆ ไปเริ่มรู้สึกไม่แอคทีฟ ถึงจะยังมีความสุขกับการทำงาน แต่อาการนี้ก็เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในวัยทำงาน เนื่องจากสมองถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน งานที่ต้องรับผิดชอบที่มีมากขึ้น พักผ่อนไม่เพียงพอ ไปจนถึงได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน สิ่งเหล่านี้อาจนําไปสู่อาการเครียดจนสมองล้า ที่ทําให้เรารู้สึกว่าพักผ่อนแค่ไหนก็ยังไม่สดชื่น

อกจากนี้ยังมีเรื่องสําคัญน่ารู้อีกอย่างคือ ร่างกายของเรายังมีสารที่ชื่อว่า โฮโมซิสทีน (Homocysteine) ที่เกิดจากการเผาผลาญอาหาร หากมีสูงเกินไปจะทําลายหลอดเลือด ซึ่งโดยปกติร่างกายจะกําจัดเจ้าสารตัวนี้ให้เป็นสารที่ไม่เกิดอันตราย แต่หากมีความเครียดร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด ร่างกายจะไม่สามารถกําจัดโฮโมซีสทีนได้ดีเท่าที่ควร

เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าอาการที่บ่งบอกว่าเราเริ่มเข้าข่ายที่จะเครียดและสมองล้าจนเกินไปมีอะไรบ้าง จะได้ทะนุถนอมและบํารุงสมองได้ทันกันนะ

นอนหลับยาก

หัวถึงหมอนแล้วไม่เคยหลับได้ทันทีซักที แม้จะรู้สึกเหนื่อยแค่ไหนก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่าเรามีความเครียดสะสมนั่นเอง ทำให้สมองทํางานหนักและตาค้างอย่างที่เห็น ทํายังไงก็ไม่หลับง่ายๆ ซักที กว่าจะหลับได้ก็เหลือเวลานอนไม่กี่ชั่วโมงแล้ว

ปวดศีรษะ สายตาอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น 

หากใครทํางานและมีอาการปวดหัวตื้อๆ หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรมารัดบริเวณหน้าผากอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณว่าสมองเรากําลังพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะทําให้ร่างกายรู้สึกไม่ผ่อนคลาย และอ่อนเพลียมากขึ้น ส่งผลกระทบไปถึงการทํางาน รู้สึกไม่แอคทีฟ จะทําอะไรก็ไม่จดจ่อ แบบงานไม่เดินเงินเดือนไม่ขยับนั่นเอง

ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 

จากที่เคยเป็นคนแอคทีฟ อยู่ๆ ก็รู้สึกไม่มีแรงกระตุ้น ส่งผลให้ทํางานไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม จัดการหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ไม่ดีเหมือนก่อน ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยมีหายไป สมาธิในการทํางานลดลง โฟกัสกับงานไม่ค่อยได้ ทําให้งานเสร็จช้ากว่าที่กําหนด ไหนจะทําให้กลายเป็นคนที่มีความอดทนต่ำลงอีกด้วย เพราะเมื่อทํางานหนักๆ จนลืมที่จะดูแลตัวเองและสมอง อาจจะทําให้เกิดอาการสมองล้า จนไม่สามารถใช้ความคิดในการแก้ปัญหาได้ดีเท่าที่ควร เพราะสมองทํางานได้ช้าลง

อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

ยิ่งเครียด สารอาหารสําคัญต่างๆในร่างกาย อย่างวิตามินบีหลายๆ ชนิด ซึ่งสําคัญต่อระบบสมอง รวมถึงวิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียมและซิงค์ ก็จะหดหายไป ทําให้ร่างกายและสมองเราไม่สดชื่น ซึ่งอาจจะตามมาด้วยการทําให้เราเหนื่อยล้า หงุดหงิดง่ายกับเรื่องเล็กน้อยมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งกรณีแบบนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และอาจจะส่งผลกระทบต่อการทํางานของเราได้เช่นกัน จนบางทีเผลอใส่อารมณ์กับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าไม่รู้ตัว

ถ้าไม่อยากวีนเหวี่ยง ต้องอย่าลืมดูแลตัวเองและให้สมองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอนะจ๊ะ จะได้สดใสอารมณ์ดี เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าก็ happy ไปด้วย

ขี้หลงขี้ลืม ความจำระยะสั้นแย่ลง 

ถ้าเป็นเรื่องที่ข้อมูลเยอะ จะลืมบ้างก็คงไม่แปลกอะไร แต่ความขี้ลืมในที่นี้มักเป็นสิ่งที่เราทำอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้โทรศัพท์แทบจะตลอดเวลาแต่ดันลืมโทรศัพท์ เพิ่งกินข้าวไปยังไม่ทันย่อยก็ลืมซะแล้วว่าก่อนหน้านี้กินอะไรไป หรือแม้กระทั่งการควานหาแว่นตาจนแทบพลิกบ้าน ทั้งๆ ที่มันคาดอยู่บนหัวตัวเอง

เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจากความเครียดที่ไปดึงความสนใจจากสิ่งอื่นๆ และทำให้ความสามารถในการเรียกความทรงจำระยะสั้นลดลง

ทำอย่างไรให้สมองหายล้า

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนจะช่วยให้ทั้งกายและใจได้พักผ่อนและฟื้นฟูหลังจากใช้งานมาตลอดทั้งวัน
  • ออกกำลังกาย แค่ให้เหงื่อได้ออกบ้าง เพื่อไม่ให้ตัวเองหมกมุ่นอยู่กับความเครียด นอกจากนี้ยังดีต่อสุขภาพกายและใจด้วย
  • จัดการกับความเครียดให้ถูกวิธี ตามความคิดตัวเองให้ทัน หาสาเหตุว่าเครียดเพราะอะไรและพยายามแก้ไขที่ต้นเหตุมากกว่าปลายเหตุ หรือหาที่ปรึกษาเพื่อช่วยหาทางออก พยายามหากิจกรรมอย่างอื่นทำจะได้ไม่จมอยู่กับความเครียดอย่างเดียว 
  • เติมสารอาหารบำรุงสมอง อย่าง
    • วิตามินบี 12 – ซึ่งเป็นส่วนสําคัญต่อระบบประสาทและสมอง
    • วิตามินซีรวมถึงแร่ธาตุอย่างซิงค์ – ที่มีความจําเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เพื่อให้ร่างกายนั้นพร้อมรับกับภาวะเครียดได้เป็นอย่างดี
    • โพแทสเซียม – เพราะภาวะความเครียดจะทําให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนเพลียนั่นเอง

ซึ่งเมื่อเราคอยดูแลตัวเองและสมองเราอย่างเพียงพอ อาการเครียด รวมอาการเหนื่อยล้าต่างๆ ก็จะดีขึ้น ระดับโฮโมซีสเทอีนในเลือดก็ลดลง บรรเทาอาการสมองล้าให้กลับมาสดใส พร้อมทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โบนัสขึ้นรัวๆ

#BEMORES

ที่มา: 1) Nutrients. 2018 Dec; 10(12): 1860.

Don’t Forget! 5 พฤติกรรมทำร้ายความจำ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save