category รวมเรื่องเบ ๆ ของ “วัคซีน” ที่ช่วยให้เข้าใจเรื่องภูมิคุ้มกันร่างกายของเรามากขึ้น!

Writer : Pattranit Lp.

: 16 กรกฏาคม 2564

ช่วงนี้ทุกคนคงชินหูกับคำว่า “วัคซีน” กันอย่างแน่นอน เพราะมีข่าวใหม่ ๆ เกี่ยวกับวัคซีนมาให้อ่านได้ไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน มีทั้งข่าวดี ข่าวเหมือนจะดี แล้วก็ข่าวร้ายสลับไปมาให้อารมณ์ตีกันชวนให้สับสนไปหมด

อย่างล่าสุด ก็ได้มีการพูดถึงวัคซีนน้องใหม่ที่ชื่อว่า Novavax ที่ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพแกร่งกว่าวัคซีนรุ่นก่อนบางด้าน ซึ่งหลากหลายครั้ง เวลาทุกคนเจอข่าวประกาศวัคซีนยี่ห้อใหม่ ๆ ก็อาจมีคำถามสงสัยอยู่ในหัวว่าตัวไหนมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มีหลายชื่อหลายแบบเต็มไปหมด และเมื่อหาคำตอบคำอธิบายที่เกี่ยวข้อง ก็จะหนีไม่พ้นคำศัพท์อย่างวัคซีนเชื้อตาย หรือวัคซีนรูปแบบอื่น ๆ ให้ไปศึกษาต่อ

Mango Zero เลยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเบสิกม้ากมากเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันและวัคซีนประเภทต่าง ๆ รวมถึงกลไกการทำงานของวัคซีนต่อร่างกายว่าเป็นอย่างไรมาให้ทุกคนได้อ่านพอรู้เรื่องพื้นฐานบ้างคร่าว ๆ มาดูรายละเอียดศาสตร์ชีววิทยาเกี่ยวกับเรื่องนี้ขั้นพื้นฐานกันเลย!

ร่างกายของมนุษย์เรานั้น มีการสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ให้กับร่างกายเพื่อปกป้องอันตรายจากเชื้อภายนอก และเป็นการพัฒนาเกราะป้องกันเชื้อโรคที่อาจเจอได้อีกในภายหลัง ซึ่งส่งผลให้เราแข็งแรงขึ้น ไม่ป่วยอีก หรือป่วยเบาลงเมื่อต้องเผชิญกับเชื้อตัวเดิม

มีรูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอยู่ 2 แบบ นั่นคือ 

1.แบบ Active Immunization หรือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง

2.แบบ Passive immunization หรือการให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

โดยในแบบแรกหรือ Active Immunization จะมีกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการสร้างขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็นการป่วยโรคนั้นใดก็ตามแล้วรอให้ร่างกายต่อสู้กับโรคนั้นจนเกิดภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง และมีอีกกระบวนการหนึ่ง คือกระบวนการสร้างภูมิหลังจากฉีดวัคซีน หรือ Passive immunizationซึ่งกระบวนการอันหลังนี้ เป็นเรื่องที่เราตั้งใจจะนำข้อมูลมาเล่าเบื้องต้นนั่นเอง

 

วัคซีนคืออะไร?

คือชีววัตุถุหรือแอนติเจน (Antigen) ที่ผลิตมาจากเชื้อโรคที่ถูกทำให้ไม่สามารถก่อโรคต่อได้ ซึ่งใช้ในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ (Antibody) นั่นเอง

 

วัคซีนมีกี่ประเภท?

วัคซีนสามารถแบ่งประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ วัคซีนเชื้อตาย วัคซีนเชื้อเป็นที่อ่อนฤทธิ์ และท็อกซอยด์

 

1.วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine)

เป็นประเภทของวัคซีนโควิดที่เราคุ้นชื่อกันอย่าง Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm สามารถแบ่งย่อยได้เป็นวัคซีนเชื้อตายอีก 2 แบบ คือ 

1.วัคซีนที่ทำจากแบคทีเรียทั้งตัวหรือไวรัสทั้งอนุภาคที่ทำให้ตายแล้ว (Whole cell vaccine / Whole virion vaccine) 

วัคซีนประเภทนี้เป็นวัคซีนที่มักเกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีดหลังฉีดไปได้ 3-4 ชั่วโมง อาจมีไข้ร่วมประมาณ 1-3 วัน และต้องเก็บในตู้เย็นห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง 

ตัวอย่างรายชื่อวัคซีนชนิดนี้ตัวอื่น ๆ เช่น วัคซีนไอกรน วัคซีนอหิวาตกโรคชนิดฉีด วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด  วัคซีนตับอักเสบเอและวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี

2.วัคซีนที่ทำจากบางส่วนของแบคทีเรียหรือไวรัสที่เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน (Subunit Vaccine)

วัคซีนประเภทนี้จะเกิดอาการข้างเคียงน้อยภายหลังการฉีด ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ตัวอื่น ๆ คือ วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนฮิบ (HIB) และวัคซีนนิวโมคอคคัส

 

2. วัคซีนเชื้อเป็นที่อ่อนฤทธิ์ (Live Attenuated Vaccine)

เป็นประเภทของวัคซีนโควิดที่เราคุ้นชื่อกันอย่าง Pfizer, Moderna และ Johnson & Johnson ซึ่งเป็นประเภทวัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง  โดยจะไม่แสดงปฏิกิริยาทันทีหลังฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย แต่อาจมีไข้ประมาณวันที่ 5 ถึงวันที่ 12 หลังฉีด

ต้องเก็บวัคซีนชนิดนี้ในที่ที่อุณหภูมิต่ำตลอดเวลา (cold chain) เพราะถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเชื้อจะตายทันที และไม่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ ซึ่งหากร่างกายมีภูมิคุ้มกันเดิมอยู่บ้างอาจทำให้วัคซีนออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ 

ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ตัวอื่น ๆ คือ วัคซีนโปลิโอชนิดรับประทาน วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนอีสุกอีใส และวัคซีนวัณโรค

 

3. ท็อกซอยด์ (Toxoid)

เป็นวัคซีนประเภทที่ทำจากพิษของแบคทีเรียที่ถูกทำให้สิ้นพิษ แต่ยังคงสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยจะใช้สำหรับโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อ อาจจะมีไข้หรือปฏิกิริยาเฉพาะที่เล็กน้อยหลังฉีดวัคซีนประเภทนี้ ซึ่งหากร่างกายมีภูมิคุ้มกันมาอยู่ก่อนหรือเคยฉีดมาแล้ว อาจทำให้เกิดปฏิกิริยามากขึ้น เช่น อาการบวม แดง เจ็บในบริเวณที่ฉีด และมีไข้

ตัวอย่างวัคซีนชนิดนี้ตัวอื่น ๆ คือ วัคซีนคอตีบ (Diphtheria Toxoid) และวัคซีนบาดทะยัก (Tetanus Toxoid)

 

การกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีน

เมื่อร่างกายได้รับวัคซีนครั้งแรก ร่างกายจะใช้เวลาระยะหนึ่งในการสร้างแอนติบอดีขึ้นมา พร้อมทั้งจดจำแอนติเจนนั้นไว้ โดยเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ปริมาณแอนติบอดีนี้จะค่อย ๆ ลดลง และเมื่อร่างกายได้รับวัคซีนตัวเดิมตัวนั้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างแอนติบอดีได้รวดเร็วขึ้น และสร้างได้ปริมาณมากขึ้นกว่าครั้งแรก

ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงต้องมีการกระตุ้นด้วยการให้วัคซีนมากกว่า 1 ครั้ง และการได้รับวัคซีนครั้งที่ 2 เร็วกว่ากำหนด ก็อาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีเพิ่มขึ้นได้ เพราะแอนติบอดีที่เกิดขึ้นในการรับวัคซีนครั้งแรกจะยังคงมีระดับสูง ทำให้แอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายครั้งต่อมานี้ ทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีเดิมที่อยู่ในร่างกายตอนแรกจนหมด ไม่มีเหลือไปใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นอีก

 

กลไกการป้องกันโรคของวัคซีน

วัคซีนเป็นผลผลิตด้านเชื้อโรคที่ถูกทำให้ไม่สามารถก่อเกิดโรคในคนได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์จะรับรู้เหมือนกับได้รับเชื้อโรคนั้นจริง ๆ ซึ่งร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน และส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อโรคนั้น

ประสิทธิภาพของระดับภูมิคุ้มกันจะดีได้ในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้นั้น จะต้องได้รับวัคซีนชนิดนั้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมและครบจำนวนครั้ง

แต่ก็มีวัคซีนบางชนิดที่กระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันสูงขึ้นระดับหนึ่ง แล้วระดับภูมิคุ้มกันจึงจะลดลงในภายหลัง ทำให้ต้องได้รับการกระตุ้นตามจำนวนครั้งที่กำหนด ถึงจะมีระดับภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงขึ้นและสูงพอที่จะป้องกันโรค

 

หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเรื่องภูมิคุ้มกันกับวัคซีนมากขึ้น และเห็นความสำคัญของเรื่องนี้โดยเฉพาะเรื่องการฉีดวัคซีนให้ครบจำนวนโดส และเรื่องการฉีดในระยะเวลาความห่างที่เหมาะสม เพราะหากปฏิบัติตัวในขณะรับการฉีดวัคซีนไม่ถูกต้อง เช่น รับการฉีดไม่ครบโดส หรือเร่งเวลาการฉีดโดสต่อไปไวเกินไป รวมถึงชะลอเวลาการฉีดเข็มต่อไปช้าเกินไป ก็อาจทำให้สุดท้ายแล้วร่างกายเราไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคนั้นได้ และอาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงอีกด้วย

Writer Profile : Pattranit Lp.
ผู้หญิงอินดี้ ฟังเพลงอินดี้ อ่านวรรณคดีไทย และชื่นชอบเกมมาก ๆ โดยเฉพาะเกมจีบหนุ่ม!
Blog : Padzphere Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save