หลังจากที่เปิดให้มีการลงทะเบียนเพื่อขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเมื่อวันที่ 25 ที่ผ่านมาเป็นวันแรก เว็บไซต์ที่เปิดลงทะเบียนก็เกิดความขัดข้อง เนื่องจากมีการเข้าใช้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก และยังเกิดคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับการคืนเงินประกันไฟฟ้าในหลายกรณีที่แตกต่างกันไป วันนี้ Mango Zero ก็ได้รวบรวมคำตอบจากคุณจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับทางช่อง PPTV มาช่วยคลายความสงสัยจากทุกคนกัน วิธีการลงทะเบียนคืนเงินประกันไฟฟ้ามีช่องทางไหนบ้าง ลงทะเบียนในระบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แอปพลิเคชัน MEA Smart life เว็บไซต์ WWW.MEA.OR.TH เพจเฟสบุ๊คการไฟฟ้านครหลวง MEA ทวิตเตอร์ mea_news Line @meathailand QR code ที่หางใบแจ้งค่าไฟฟ้าที่ได้รับหลังจากวันที่ 25 มีนาคม ลงทะเบียนทางโทรศัพท์: ที่หมายเลข 0-2256-3333 จำนวน 50 คู่สาย ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 – 29 พฤษภาคม 2563 เวลา 08.00 – 15.30 ในวันทำการ ลงทะเบียน ณ ที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวง 18 เขต : ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป เวลา 07.30 – 15.30 ในวันทำการ ข้อมูลที่ต้องใช้สำหรับลงทะเบียนมีอะไรบ้าง และต้องเป็นข้อมูลของใคร ผู้ที่กรอกข้อมูลเป็นใครก็ได้ แต่ต้องนำชื่อและข้อมูลเจ้าของหลักประกันมากรอกลงทะเบียน โดยหลังจากคีย์ข้อมูลจะสามารถรู้ผลได้ทันทีว่าเจ้าของหลักประกันนั้นมีเงินประกันค่าไฟฟ้าทั้งหมดเท่าไหร่ จากทั้งหมดกี่หลังบ้าง และข้อมูลที่ต้องเตรียมไป มีดังนี้ ชื่อ-นามสกุล เจ้าของหลักการใช้ประกันไฟฟ้า หมายเลขบัตรประชาชนของเจ้าของหลักการใช้ประกันไฟฟ้า รหัสบัญชีแสดงสัญญา (หมายเลข CA) ที่มีระบุอยู่ในใบแจ้งค่าไฟฟ้าหรือใบเสร็จรับเงิน หรือแอปพลิเคชัน MEA Smart life ในฟังก์ชันชำระค่าไฟฟ้า หากมีปัญหาเรื่องการโอนสิทธิ์ เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เสียชีวิต หรือลงทะเบียนไม่ได้ ต้องทำอย่างไร กรณีที่เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือเสียชีวิต หรือไม่สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ ต้องติดต่อ ณ ที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวงเท่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ช่องทางการรับเงินคืน มีอะไรบ้าง บัญชีพร้อมเพย์ ( Prompt pay) เฉพาะที่ผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย โดยชื่อบัญชีต้องเป็นของเจ้าของหลักประกันการใช้ไฟฟ้าเท่านั้น เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่เซเว่นอีเลเว่นทุกสาขา โดยเจ้าของหลักประกันต้องเป็นผู้ทำรายการด้วยตัวเอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน และต้องใช้ Pin Code ที่ทางการไฟฟ้าแจ้งไว้ ซึ่งในกรณีนี้สามารถทำได้ที่วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทเท่านั้น หากได้รับเงินคืนประกันไฟฟ้า จะมีผลกระทบต่อค่ามิเตอร์ไฟฟ้าหรือไม่ ที่จริงแล้วเงินประกันการใช้ไฟฟ้า มีไว้เพื่อสำรองในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่ได้ชำระค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าก็จะนำเงินประกันส่วนนั้นมาสำรองจ่ายแทน ซึ่งไม่ใช่เงินประกันมิเตอร์ ดังนั้นเงินประกันคือค่าไฟฟ้า ไม่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า หากมีปัญหาเกี่ยวกับมิเตอร์ไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าก็ยังเข้าไปดำเนินการตามปกติ และในกรณี เครื่องวัดชำรุด หรือหมดอายุการใช้งาน MEA จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนใหม่ โดยไม่มีการเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า ที่มา : PPTV HD36