Mango Zero

เปิดเบื้องหลัง “ค่ายหนัง A24” จากเส้นทางที่แตกต่างสู่ผลงานเหยียบเวทีระดับโลกมากมาย 

จบกันไปแล้วกับการประกาศผลรางวัล Academy Awards ครั้งที่ 95 หรือออสการ์ 2023 มีหลายประเด็นถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์มากมาย ตั้งแต่ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ครั้งแรกของชาวเอเชีย ไปจนถึงโมเมนต์ที่ตราตรึงใจ

อีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญของวงการภาพยนตร์ที่ไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ เมื่อ “ค่ายหนัง A24” ค่ายหนังอินดี้จากอเมริกา กวาดรางวัลในออสการ์ปีนี้สูงถึง 9 รางวัล จากหนังเพียงแค่ 2 เรื่องเท่านั้น ได้แก่ Everything Everywhere All At Once และ The Whale นั่นเอง 

ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่พวกเขาได้รางวัล เพราะในปีก่อน ๆ ผลงานจาก A24 สามารถคว้ารางวัลออสการ์กลับบ้านได้ด้วยเหมือนกัน แต่..ความสำเร็จในปี 2023 นี้ ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร จนทำให้ชื่อค่าย A24 กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง ไม่ว่าจะผลงานที่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ แนวคิดที่แตกต่าง หรือเอกลักษณ์ความเป็นตัวเองสุดโดดเด่น

งานนี้แมงโก้ก็ไม่พลาดที่จะพาทุกคนมาร่วมเปิดเบื้องหลัง สอดส่องความเป็นมาของค่าย A24 ให้หมดเปลือกกกกก นับตั้งแต่จุดเริ่มต้น จุดพลิกผัน จุดโด่งดัง มาจนถึงจุดที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันนี้

3 เพื่อนซี้สายเนิร์ดร่วมก่อตั้งในปี 2012

A24 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความบ้าในวงการหนังที่ได้ถือกำเนืดขึ้น โดยเกิดจากกลุ่มอดีตพนักงานบริษัทภาพยนตร์ 3 คน เดวิด เฟนเคล, จอห์น โฮดจส์ และ เดวิด แคตซ์ที่มีความรัก คลั่งไคล้ หลงใหลในหนังสไตล์เดียวกันก็คือ หนังอเมริกันอินดี้ยุค 90s ที่โชว์สเน่ห์ความซื่อ กล้าหาญ และไม่เน้นประดิษฐ์มากเกินไป 

หลังจากรู้ตัวว่ามีความชื่นชอบแบบเดียวกัน พวกเขาก็พากันลาออกมาเสี่ยงโชคลองเล่นกับชะตาชีวิต ด้วยการเปิดสตูดิโอหนัง A24 ซึ่งช่วงแรกเป็นการมองหาหนังดีมีแววรุ่งมาจัดจำหน่าย โดยหนังที่เลือกมาก็จะมีหลากหลายแนวทั้ง ตลก เศร้า ดราม่า วัยรุ่น หรือหนังที่มีพล็อตเรื่องสุดเหวอ ออกแนวงง ๆ กันสักหน่อย 

ทำให้ช่วงแรกรายได้ออกมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่หวัง และถูกต่อว่าจากเหล่าคอหนังเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งสามก็ไม่ย่อท้อ ลุยต่อ และเดินหน้าสู่การผลิตหนังอย่างสมบูรณ์แบบ 

เดินทางเข้าสู่มอเตอร์เวย์สาย A24

สำหรับชื่อค่าย “A24” เกิดจากตอนที่ทั้ง 3 ตัดสินใจออกจากงานประจำ และกำลังขับรถไปยังกรุงโรม เหลือบไปเห็นป้าย A24 พอดี เลยเลือกใช้ชื่อนี้ตั้งบริษัทกัน! 

หนึ่งในสเน่ห์ของ A24 คือ การไม่จำกัดรูปแบบของหนังว่าต้องฉายแค่ในโรงเท่านั้น เพราะหนังทุกเรื่องควรปล่อยผ่านออกมาในหลาย ๆ พื้นทึ่ เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับชม ไม่ว่าจะเป็นตลาดโฮมเอนเตอร์เทนเมนท์ หรือช่องทางสตรีมมิ่งต่าง ๆ 

แตกต่าง กล้าบ้า สุดขั้ว

หากจะพูดถึง 3 คำที่สามารถนิยามความเป็น A24 มากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น 3 คำนี้ “แตกต่าง กล้าบ้า สุดขั้ว” เดิมทีอย่างที่เราเล่าไปก่อนหน้าว่า 3 คนนี้มีความคลั่งไคล้ในหนังอินดี้ 90s เข้าเส้นเลือด แต่..เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุค 2000s หลาย ๆ อย่างถูกลดทอน จึงได้นำพลังสร้างสรรค์ ความกล้าบ้าบิ่น สุดขั้ว ของหนังอเมริกันอินดี้กลับมา

เพียงแค่ความคิดที่แตกต่างก็ยังไม่พอ ทั้ง 3 ยังต้องมองหาวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด สามารถสร้างอาณาจักรหนังของตัวเองขึ้นมาได้โดยไม่ง้อค่ายหนังที่มีทุนหนา อาศัยเพียงจิตวิญญาณ เซนส์เฉพาะทาง และรสนิยมทางภาพยนตร์ที่ไม่เหมือนใคร เลยทำให้ก้าวผ่านจุดที่เงินไม่ใช่เรื่องสำคัญมากขนาดนั้นได้

นอกจากนั้นยังต้องอาศัยความเชื่อในตัวเองกับการสร้างสรรค์ผลงาน และความเชื่อที่ว่าหนังดีจะมีพลังในการสื่อสารกับคนดู จากนั้นเพียงแค่ทำอย่างที่ตั้งใจไว้ตอนแรกไปเรื่อย ๆ ให้เวลาพิสูจน์ 

สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนมุมมองวิธีเดิม สู่แนวทางที่แตกต่าง และผลลัพธ์ใหม่สุดยิ่งใหญ่ที่ไม่คาดฝันได้ เช่น การได้รับรางวัลใหญ่บนเวที หรือกลุ่มแฟนคลับที่สถาปนาตน ขอติดตามหนังทุกเรื่องของค่ายนี้ ขอแค่มีโลโก้ A24 อยู่บนหน้าก็พอ 

“ทุกโปรเจกต์ขับเคลื่อนโดยหนังและผู้สร้างหนัง…ไม่ใช่เรา”

โปรโมตสุดแหวก แปลกจนต้องกดดู

เอกลักษณ์ที่ทำให้แฟนคลับค่ายนี้แข็งแกร่ง ไม่ใช่เพียงแค่ทำหนังเก่ง แต่ต้องมีการตลาดหรือโปรโมตที่ฉีกกฎเดิม ๆ ได้อีกด้วย เพื่อสร้างเมจิกโมเมนต์ให้ทุกคนที่เห็นเกิดการจดจำ และนำไปบอกต่อกับผู้อื่น

ซึ่งถ้าพูดถึงความบ้าหลายคนก็คงเดากันว่า คงไม่เท่าไหร่หรอก ไม่น่าจะมีอะไรมาก

แต่หารู้ไม่.. ค่าย A24 Another level กว่านั้น เพราะด้วยการโปรโมทสุดแปลกและแหวกแนว ทำให้บางเรื่องก็มีการโปรโมตแบบกองโจร อาศัยการบอกปากต่อปากในโลกโซเชี่ยล ซึ่งก็ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องใช้ทุนหนา

หรือจะเป็นการ “เพาะกัญชา” พันธุ์ใหม่ขึ้นมาสำหรับโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง Tusk ในปี 2014 หนังสยองขวัญเกี่ยวกับคนที่ถูกทำให้กลายเป็นวอลรัส ใครได้ที่ลิ้มลองต้องจำไม่ลืมแน่นอน ซึ่งถ้าตามคอนเซ็ปต์หนังหากเป็นค่ายทั่วไปคงเป็นการโปรโมตติดโปสเตอร์ หรือโฆษณาวิดีโอทั่วไป

แต่ A24 ธรรมดาไม่ทำ เพราะเราไม่ธรรมดา พร้อมนำเสนอความแปลกใหม่ของการโปรโมต ผ่านการ “เพาะกัญชา” พันธุ์ใหม่ขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์เรื่อง Tusk โดยเฉพาะ

หรือในภาพยนตร์ The VVitch ที่จัดรอบพิเศษให้กลุ่มลัทธิวิหารซาตานมาดูภาพยนตร์ พร้อมสัมภาษณ์ทิ้งท้ายถามความเห็นว่า หนังเรื่องนี้สมจริงหรือน่ากลัวขนาดไหน เพื่อให้ได้รับการคอนเฟิร์มจากผู้ใกล้ชิดโดยตรง และเป็นมุมมองความเห็นที่แปลกใหม่อีกด้วย

6 การโปรโมตที่น่าจดจำ

นอกจากนั้นค่าย A24 ยังมีจุดเด่นที่ขายของเก่งอีกด้วย ผ่านหน้าเว็บไซต์ของ A24 (shop.a24films.com) หรือช่องทางโซเชียลฯ หลักของค่ายที่จะพาทุกคนเปิดโลกว่านี่มันแทบจะไม่ใช่ค่ายหนังแล้ว!! แต่มันคือ ร้านขายของออนไลน์ต่างหาก

เมื่อลองเข้าไปในเว็บไซต์แล้วทุกคนจะเจอกับสินค้ามากหน้าหลายตา ทั้งร้านขายเสื้อผ้า ของแต่งบ้าน ของเล่น หนังสือบทภาพยนตร์ และซีนเบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์อีกด้วย ซึ่งที่บอกมาเป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้นเพราะของจริงเยอะมากกกกกกกกก ลองเข้าไปกดดูกันได้ 

5 ผลงานที่ได้คะแนนสูงสุดบน IMDb

  1. Everything Everywhere All At Once (2022) – 8.1
  2. Room (2015) – 8.1
  3. Amy (2015) – 7.8
  4. Ex Machina (2014) – 7.7
  5. The Florida Project (2017) – 7.6
  6. Waves (2019) – 7.5
  7. The Farewell (2019) – 7.5

ก้าวสู่..จักรวาลออสการ์

A24 ถือเป็นค่ายหนังที่ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วที่สุด สำหรับบางคนรางวัล Oscars อาจจะดูเป็นสิ่งที่เกินเอื้อม แต่..สำหรับสตูดิโออินดี้อย่าง A24 ถือเป็นสิ่งที่ไม่วาดฝันเลยดีกว่า เพราะค่ายได้เริ่มเข้าชิงออสการ์ตั้งแต่ปี 2016 ซึใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้นหลังจากเปิดบริษัท

หนังที่ได้รับรางวัลออสการ์ 🏆

ที่มา : The People, lmdb, Collider, unlockmen