‘สยามสแควร์’ ศูนย์รวมแหล่งไลฟ์สไตล์ที่อยู่คู่กับวัยรุ่นมาจากรุ่นสู่รุ่นกว่าหลายทศวรรษ วัยรุ่นแต่ละยุคต่างก็มีภาพของสยามฯ ในความทรงจำของตัวเองที่แตกต่างกันออกไป แต่ในความทรงจำนั้น แน่นอนว่าน่าจะต้องมีตึกธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์อยู่ในนั้นด้วย เพราะนับเป็นจุดนัดพบใจกลางสยามที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็จำได้ กสิกรไทยเองก็อยู่คู่สยามสแควร์มาแล้วกว่า 50 ปี เช่นกัน เร็ว ๆ นี้ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามแสควร์ กำลังจะปรับโฉมใหม่ด้วยไอเดียของวัยรุ่นยุคใหม่ ผ่านจากโครงการ SUSTAINABLE BUILDING: THE RIGHT CYCLE LIVING DESIGN CONTEST งานประกวดออกแบบธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ ผ่านการร่วมมือกันระหว่าง ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดประกวดการออกแบบตกแต่ง อาคารธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ขึ้นใหม่ ซึ่งโครงการนี้จะมีแนวคิดและไอเดียที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง Mangozero จะพามาเจาะลึกโครงการไปด้วยกัน โครงการเริ่มขึ้นมายังไง ? ก่อนที่จะได้ชมผลงานน้อง ๆ ในรอบชิงชนะเลิศกัน Mangozero ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ถึงที่มาของโครงการนี้ ซึ่งจุดเริ่มต้นนั้นเกิดจากพื้นที่สาขาสยามสแควร์นี้ เป็นพื้นที่ที่ KBank อยู่ในสยามสแควร์มาแล้ว กว่า 50 ปีแล้ว พอมีโครงการใหม่ของทางจุฬาฯ ซึ่งจะปรับปรุงพื้นที่สยามแสควร์ให้ดีขึ้น เราจึงอยากปรับปรุงตึกของเรา ให้เข้ากับคอนเซ็ปต์นี้ด้วย โจทย์สำคัญของงานออกแบบครั้งนี้ อยากเห็นอะไรจากเด็กรุ่นใหม่ ? จริง ๆ แล้วเราอยากเห็นคอนเซ็ปต์ Sustaintibity เกิดขึ้นในตึกนี้ คอนเซ็ปต์เรื่องของ Zero Waste การเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้มีความหมาย ให้ผสมผสานอยู่ใน Community นั้น เพราะสาขาสยามแสควร์นี้ ปัจจุบันนี้ก็เป็นจุดที่เป็นไฮไลท์ของพื้นที่สยามจุดหนึ่ง เราหวังว่าตัว KBank เองจะเบลนไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู๋แวดล้อม เพราะว่าเราไม่ได้เป็นธนาคารโดด ๆ ขึ้นมาแล้ว ฉะนั้นนอกจากเรื่องบริการทางด้านการเงิน เราก็อยากจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่ผสมผสานไปกับกิจกรรมรอบ ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย มากกว่างานประกวด คือ ประสบการณ์ที่มีคุณค่า อีกมุมหนึ่งที่ให้นิสิตได้เข้ามาร่วมโครงการได้ประโยชน์ด้วย นอกเหนือจากเงินรางวัลแล้ว หนึ่งเลยคือได้ Apply กับของจริง สองก็คือว่า ได้รับคำแนะนำ ซึ่งน้องไม่มีวันหาได้ในทีเดียวพร้อมกันมาก่อน คณะอาจารย์ที่มาจากทั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงกรรมการ ซึ่งมีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องของยุคใหม่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Sustaintibity เรื่องเทคโนโลยี เรื่องวัสดุก่อสร้าง ทั้งหมดอยู่ที่นี่หมดแล้ว ส่วน KBank เองก็สามารถให้ Input ในเรื่องของลูกค้าว่าใช้ชีวิตอย่างไร ปกติเขาใช้บริการอย่างไร ควรดีไซน์ยังไงให้มันเหมาะสมและตอบโจทย์คนใช้งานจริง ๆ มันเป็นการ Apply กับของจริงและได้รับคำแนะนำจากกรรมการที่ปฏิบัติจริงและเอามาใช้งานได้จริง ๆ เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากเงินรางวัลแล้ว ความรู้และประสบการณ์ที่หาไม่ได้ ก็นับว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ ค่ะ แน่นอนว่านิสิตที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับความรู้และประสบการณ์ไปอย่างเต็มที่ โดยน้อง ๆ ได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธนาคารและพันธมิตร มาตั้งแต่เริ่มโครงการช่วงเดือนมีนาคม 2563 และมีการปรับปรุงผลงานมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงรอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมานี้ ได้มีการมอบรางวัลแก่ทีมผู้ชนะในโครงการและผู้เข้าร่วมประกวด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 500,000 บาท ซึ่งทีมที่ได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ก็ได้แก่ ผลงานยอดเยี่ยมด้านการออกแบบและงานโครงสร้าง ได้แก่ ทีม K Move ได้รับรางวัลเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท ผลงานดีเด่นด้านออกแบบสร้างสรรค์ ได้แก่ ทีม KLOUD ได้รับรางวัลเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท และ ผลงานดีเด่นด้านโครงสร้างสร้างสรรค์ ได้แก่ ทีม Kommunity ได้รับรางวัลเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท นอกจากนี้ทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวด แต่ไม่ได้รับรางวัลใด ๆ ก็จะยังได้รับเงินสนับสนุนการศึกษาไปอีกคนละ 3,000 บาท รวมเงินรางวัลกว่า 100,000 บาท นิสิตมีบทบาทต่อการพัฒนาโครงการอย่างไร? มีแน่นอน เราจะไปต่อยอด ตอนที่เราเริ่มโครงการ ตัวตึกมันยังไม่ชัดมาก แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราจะได้ดำเนินการต่อ ก็คงจะต้อง Apply ออกมานิดหนึ่ง แต่รับรองว่าคอนเซ็ปต์น่าจะยังอยู่เหมือนเดิม เพราะว่าได้คุยกับกรรมการหลายท่านว่ามันดีมาก และน่าจะเอาไปใช้ได้จริง ๆ