หลังจากมีข่าวว่าการบินไทย เสนอแผนฟื้นฟูโดยของบจากรัฐบาลจำนวน 50,000 ล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่องให้การบินไทยดำเนินธุรกิจไปต่อได้หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโควิด รวมถึงขาดทุนสะสมมาอย่างยาวยานกว่า 2.4 แสนล้านบาท ขณะที่มีทรัพย์สิน 2.6 แสนล้านบาท แผนฟื้นฟูได้รับการวิจารณ์อย่างหนัก ทั้งในภาคการเมือง และภาคประชาชน เนื่องจากมองไม่เห็นว่าเงินจำนวนดังกล่าวจะทำให้การบินไทย สามารถดำเนินธุรกิจไปต่อได้ อีกทั้งยังเป็นการใช้งบประมาณที่สิ้นเปลืองในช่วงวิกฤติที่ประเทศจำเป็นต้องใช้เงินในทางอื่นมากกว่าอุ้มสายการบินแห่งชาตินี้ ล่าสุดทาง ครม. ได้มีการประชุม และมีการสรุปโดย ‘พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ได้ออกมาให้รายละเอียดการประชุมว่า รัฐบาลมีมติให้ไม่อุ้มการบินไทย พร้อมรับข้อเสนอจากกระทรวงคมนาคม ได้แก่ ให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยกระทรวงการคลังขายหุ้นการบินไทย 3% ให้กองทุนวายุภักดิ์ เพื่อให้กระทรวงการคลังเหลือการถือหุ้น 47% จากเดิมที่ถือหุ้น 1,113.93 ล้านหุ้น หรือ 51.03% ปรับโครงสร้างการบริหาร โดยให้กรรมการลาออกจนเหลือ 3 คน ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าเหลือใคร จากนั้นจะใช้มืออาชีพเข้ามาเป็นกรรมการด้วย ให้ยื่นล้มละลาย ต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อศาลรับฟื้นฟูกิจการ หนี้ของการบินไทยจะผิดนัดชำระหนี้ทันที ในส่วนของการปลดพนักงานที่มีอยู่ 20,000 คนนั้นทางรัฐบาลไม่ต้องการลอยแพ แต่ก็อยู่ที่การบริหารจัดการหลังจากนี้ ก่อนหน้านั้นสายการบินประจำชาติหลายแห่งก็เคยอยู่ในสถานะล้มละลาย เช่น JAL หรือ Japan Airline ที่ขาดทุนอย่างมาก แต่สุดท้ายเมื่อเข้าสู่แผนล้มละลายเมื่อปี 2010 ก่อนจะได้ อินาโมริ คาซูโอะ CEO วัย 80 ปี เข้ามาช่วยฟื้นฟูได้สำเร็จ ระหว่างปี 2017-2019 JAL กำไรรวม 1.18 แสนล้านบาท