บทสรุปงาน ‘TechJam 2019 by KBTG’ เวทีที่สุดยอดคนพันธุ์ Deep สายเทคโนโลยีและการออกแบบต่างรอคอย


: 4 ธันวาคม 2562

จบกันไปแล้วกับปีที่ 3 ของการแข่งขัน ‘TechJam 2019 by KBTG’ เวทีการแข่งขันระดับประเทศที่เฟ้นหาสุดยอดคนพันธุ์ Deep ในวงการเทคโนโลยีและการออกแบบ ทั้งการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล และการดีไซน์

เวทีที่เกิดจากความตั้งใจของ KBTG (KASIKORN Business-Technology Group) บริษัทพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ของธนาคารกสิกรไทย ที่อยากเปิดโอกาสให้สุดยอดฝีมือสายเทคโนโลยีและการออกแบบในไทยได้มีพื้นที่โชว์ของกันมากขึ้น 

ทั้งยังมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้าง Community พัฒนาวงการเทคโนโลยีในไทยให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนในวงการและคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

หลังจากที่เริ่มแข่งขันกันมาตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา จนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562 นี้ เราก็ได้ 3 ทีมชนะเลิศกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากผู้เข้าสมัครแข่งขันกว่า 1,750 คน ซึ่งการแข่งขันในปีนี้ จะมีรายละเอียดและความพิเศษมากขึ้นอย่างไร เราสรุปมาให้คุณแล้วที่นี่

 

ความสำเร็จของ TechJam เวทีเพื่อสายเทคโนโลยีในเมืองไทย

ไม่บ่อยนักที่เมืองไทยเราจะมีเวทีการแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อคนวงการเทคโนโลยีและการออกแบบโดยเฉพาะ จึงทำให้ TechJam เป็นเวทีใหญ่ประจำปีที่ทุกคนต่างรอคอย


[คุณจรัสศรี พหลโยธิน Managing Director, Kasikorn Technology Groups Secretariat พูดถึงวิสัยทัศน์ของเวที ‘TechJam 2019 by KBTG]

 

TechJam ถือเป็นเวทีแรกนับตั้งแต่ปี 2017 ที่จัดการแข่งขันขึ้นเพื่อปลุกปั้นบุคลากรสายเทคโนโลยีในประเทศไทย ด้วยเจตจำนงค์ของ KBTG ที่มองเห็นศักยภาพของคนไทยและอยากจะสร้างเครือข่ายคนสายเทคให้ได้รู้จักกันเพื่อสร้างเมืองไทยให้เป็น Technology Hub ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผู้ชนะในการแข่งขันนี้จะได้รับรางวัลเงินสด 100,000 บาทพร้อมทริปดูงานที่เมือง Silicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา อาณาจักรที่รวมบริษัทไอทีสำคัญๆระดับโลกไว้ที่นี่

จาก 3 ปีที่ผ่านมาเวทีนี้จำนวนผู้เข้าร่วมสมัครที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกปีและศักยภาพของผู้เข้าแข่งที่พัฒนาขึ้นในทุกปี ทำให้การแข่งขันมีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของเวทีนี้ รวมถึงการเติบโตของวงการเทคโนโลยีไทยในอนาคตอีกด้วย

 

“Deep Jam” รู้ลึก รู้จริง อย่างสุดยอดคนพันธุ์ Deep 

ธีมการแข่งขันของ ‘TechJam 2019 by KBTG’ ในปีนี้ มาในคอนเซ็ป “Deep Jam” รู้ลึก รู้จริง อย่างสุดยอดคนพันธุ์ Deep โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ “Deep Code” สุดยอดฝีมือด้าน Programming ผู้รักการตีโจทย์สุดยากด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาและนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง, “Deep Data” สุดยอดฝีมือด้าน Data Science ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนธุรกิจทุกรูปแบบในปัจจุบัน และ “Deep Design” สุดยอดฝีมือด้าน UX/UI Design ผู้รักการแก้ปัญหาด้วยการออกแบบอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

ซึ่งในปีนี้ยังคงเปิดกว้างให้คนทั่วไปมีสิทธิเข้าร่วมแข่งขัน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน นักศึกษา มนุษย์ออฟฟิศ หรือฟรีแลนซ์ ทำงานในสายอาชีพไหน เรียนจบอะไรมาสามารถลงสมัครได้ ขอแค่พกความมั่นใจและทำการบ้านมาอย่างรู้ลึก รู้จริง ก็มีสิทธิ์ที่จะชนะได้ จึงทำให้ในปีนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้ง 3 ด้านรวม 1,750 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็นเท่าตัว โดยระหว่างการแข่งขันก็ได้คัดเลือกผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ แบ่งออกเป็น

  • Deep Code  800  คน คัดเหลือ 38 ทีม (ทางคณะกรรมการตัดสินใจรับทั้งหมดที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จาก 30 ทีม เป็น 38 ทีม)
  • Deep Data 650 คน คัดเหลือ 20 ทีม
  • Deep Design 300 คน คัดเหลือ 20 ทีม

บทสรุปการแข่งขัน ‘TechJam 2019 by KBTG’

 

สำหรับโจทย์ที่ใช้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในปีนี้นั้น มีการพัฒนาให้เข้มข้นขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีการจำลองโจทย์ให้ใกล้เคียงสถานการณ์การทำงานจริงยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละ Deep ก็จะมีความยากง่ายท้าทายแตกต่างกันไป อย่างเช่น

  • กลุ่ม Deep Code ในปีนี้ มีการพัฒนาโจทย์ให้ครอบคลุมความสามารถของ Software Engineer มากขึ้น วัดความสามารถทั้งโจทย์ปัญหาเชิงอัลกอริทึม เพื่อวัดความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงคำนวณ (Problem Analysis) ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา (Algorithm Design) และสามารถลงมือเขียนโค้ดเพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง (Programming) และโจทย์ปัญหาให้เขียน Web Service Application ตาม Requirement ที่กำหนดให้กันสดๆ โดยมีคุณอาภาพงศ์  จันทร์ทอง Machine Learning Engineer, KASIKORN Labs เป็นหัวหน้ากรรมการด้าน Deep Code

 

  • กลุ่ม Deep Data ปีนี้วัดความสามารถจาก 2 ส่วนหลัก ๆ คือ Technical Skills ความช่างสังเกต โดยเพียงแค่ดูวิธีการแจกแจงของข้อมูล เพราะข้อมูลที่ให้จะไม่ได้บอกความหมายใด ๆ แก่ผู้เข้าแข่งขัน และ Business Skill หรือการนำข้อมูลไปใช้จริงในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้มีเกณฑ์การตัดสินคือ ให้สร้างโมเดลจากข้อมูลที่ให้ไป โดยวัดที่ความสามารถในการทำนายความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ พร้อมด้วยความสามารถในการนำเสนอ insight ที่จะนำมาช่วยในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยหัวหน้ากรรมการด้าน Deep Data ก็คือ ดร.ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ Data Scientist, KASIKORN Labs

 

  • ส่วนกลุ่ม Deep Design ปีนี้ วัดความสามารถจากการค้นหา Insight จากตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้งาน Platform ที่เราจะทำการพัฒนา (Persona) กลุ่ม Gen Z ที่ทางทีมงานเตรียมให้ สัมภาษณ์ User ที่เป็นคนจริงๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบ Platform เกณฑ์การตัดสิน คือ การนำเสนอผลงาน (Pitching)โดยหัวหน้ากรรมการด้าน Deep Design ก็คือ คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล Designer, Beacon Interface (ดีกรีแชมป์ TechJam ปี 2017)

โฉมหน้าผู้ชนะเลิศในปีนี้

หลังจากที่มีการแข่งขันรอบ Final มาตลอดทั้ง 2 วัน ในที่สุดก็ได้ผู้ชนะเลิศใน TechJam ประจำปี 2019 ทั้ง 3 สาขาที่สามารถเอาชนะผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นๆมาได้อย่างไร้ข้อกังขา เมื่อได้พูดคุยกับพวกเขาแล้วก็ได้รับรู้ถึง Passion ของแต่ละคนที่มีต่อสายงานตัวเองจริงๆ

Deep Code : “พล สุรกิจโกศล” และ “เอกลักษณ์ ลีละศรชัย” สองหนุ่ม Software Engineer รุ่นใหม่ทีม FM and Pol 

“การแข่ง Algorithm แบบนี้มันหายากในไทย ส่วนมากก็จะเป็น Hackathon มากกว่า ก็เลยสนใจที่เข้าร่วมมากๆ”

สองหนุ่มผู้มี Passion ในด้าน Deep Code อย่างชัดเจน สมัครเข้าแข่งขัน TechJam ทุกปี ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาจนกระทั่งเรียนจบแล้วก็ยังกลับไปฝึกฝีมือ เพื่อกลับมาประลองอีกครั้ง จนในครั้งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ

ทีมนี้เป็นทีมที่ฟอร์มการแข่งขันโดดเด่นมาตลอดทั้งวัน มีการวางแผนอย่างดี ตีโจทย์ปัญหาได้แตกฉานและชัดเจนกว่าทุกทีม ทั้งด้านโจทย์อัลกอริทึ่มและ Software Management จึงเฉือนชนะมาได้อย่างน่าชื่นชม

Deep Data : “วัชรินทร์ เหลืองวัฒนากิจ” และ “เอมฤดี จงทวีสถาพร” คู่หู Data Science ทีม Alannkuma

สำหรับการแข่งขันฝั่ง Deep Data ผู้ชนะในปีนี้เป็นทีม Data Science ที่มีศักยภาพแข็งแกร่งสมศักดิ์ศรีดีกรีรองชนะเลิศ อันดับ 1 จาก TechJam ปี 2018 ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้นำคอมเมนท์ต่างๆในการแข่งขันครั้งที่แล้วมาพัฒนา ด้วยความละเอียดในการวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าประทับใจ ในที่สุดปีนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศไปครอง 

“ผมลงมาตั้งแต่ปีแรก ปีนี้เป็นปีที่ 3 แต่ละครั้งที่เข้ามาแข่งก็ได้เจอโจทย์แปลกใหม่เรื่อยๆ ต้องขอบคุณที่เวทีนี้เป็นตัวกระตุ้นให้พัฒนาตัวเองมาถึงจุดนี้” 

“ปกติเป็น Data Science ในวงการเทลโก้ ข้อมูลที่เคยเห็นก็จะต่างจากฝั่งธนาคาร ซึ่งในแต่ละ Industry ก็จะมีความสนุกของข้อมูลอยู่ ที่ไทยยังไม่เคยมีการแข่งขันที่สร้างโมเดลจริงจังแบบนี้ มันเลยเห็นความสนุกของโจทย์ในการทำโมเดลด้วยขอบคุณที่จัดมาเป็นปีที่ 3 แล้ว”  ทั้งสองกล่าวถึงความประทับใจที่มีต่อรูปแบบการแข่งขัน

Deep Design : “ธนนท์ วงศ์ประยูร” และ”ตฤณ นิลกรณ์” สองหนุ่มดีไซนเนอร์ทีม GTBK

ในขณะที่ผู้ชนะเลิศในสาย Deep Design ที่แม้จะเข้าร่วมการแข่งขันในเวทีนี้เป็นครั้งแรก แต่ด้วยประสบการณ์และความชำนาญในด้านดีไซน์ที่มี ก็ทำให้เขาสามารถตีโจทย์จากการสัมภาษณ์ User หยิบ เห็น pain point ของ GenZ มาดีไซน์เป็นเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างชาญฉลาด ด้วยความโดดเด่นของไอเดียมีสามารถนำมาต่อยอดประยุกต์ใช้กับฟีเจอร์ในแอพต่างๆของ KBank ได้ เช่น K Market หรือแพลตฟอร์มร้านค้าอื่นๆในตลาดได้ จึงทำให้ผลงานของเขาโดนใจกรรมการเป็นอย่างมาก 

“เวทีนี้เป็นเวทีที่ผมได้มีโอกาสแข่งขันในด้านดีไซน์จริงๆ ก็เลยสนใจสมัครเข้ามา ในรอบ Final ก็สนุกกับการสัมภาษณ์มากๆ เรื่องที่น่าสนใจคือ Gen Z สามารถโพสท์คลิป/VDO/ดู Live ยาวๆได้ แต่กลับรู้สึกว่าการให้ดาว ให้คะแนนรีวิว เป็นเรื่องที่เสียเวลา เลยอยากหยิบ pain ponit ตรงนี้มาทำให้การรีวิวสนุกขึ้น ทำให้คนอยากรีวิวกันมากขึ้น”

 

เสียงจากคณะกรรมการ ‘TechJam 2019 by KBTG’ 

ปีนี้ TechJam มีการพัฒนารูปแบบโจทย์การแข่งขันหลายส่วนให้ใกล้เคียงการทำงานจริงมากขึ้น รวมถึงหัวหน้าคณะกรรมการชุดใหม่ที่เข้ามามีส่วนร่วมในปีนี้ เห็นตรงกันถึงความสำเร็จของเวทีนี้จากจำนวนผู้สมัครสนใจเข้าร่วมสมัครและศักยภาพผู้เข้าแข่งขันที่พัฒนาขึ้นทุกปี มองเห็นความเป็นไปได้ของวงการเทคโนโลยีในเมืองไทยที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

คุณอาภาพงศ์ หัวหน้ากรรมการฝั่ง Deep Code เล่าว่าการแข่งขันในปีนี้ โฟกัสไปที่ทักษะการเป็น Software Developer ที่ดี เช่น เขียนโค้ดได้ดี Maintain ได้ แก้ไขง่าย รวมถึงสถานการณ์จริง เช่น เวลาเรากำลังทำงานอยู่ อยู่ดีๆทางลูกค้าขอเปลี่ยน Requirement ถ้าหากว่าเราเขียนโปรแกรมไว้ไม่ดี ถึงเวลาต้องแก้ ก็จะเจอปัญหาต้องเริ่มใหม่หมด โจทย์ปีนี้จึงมีความยากและเข้มข้นขึ้น

ซึ่งปกติฝั่ง Code จะมีชื่อเสียงเรื่องเด็กที่มาแข่งเป็นเด็กชั้นมัธยม คนจะรู้สึกว่าเอามาใช้งานจริงไม่ได้หรอก เขียนไม่ได้หรอก ผมติดใจเรื่องนี้เลยอยากปรับการแข่งขันให้รอบด้านขึ้น มันใหม่มาก แต่พอเอามาใช้ก็ถือว่าไปต่อได้ ศาสตร์ซอฟท์แวร์มันกว้างมาก เราพัฒนาไปได้ไกลมาก ปีหน้าอาจจะขยายไปให้มากกว่านี้อีก

ส่วนดร. ภควัต หัวหน้ากรรมการฝั่ง Deep Data เล่าความรู้สึกว่า การแข่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จในแง่ศักยภาพของผู้เข้าแข่งขัน อาจจะด้วยกระแส Data Science ที่กำลังบูมขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนฝึกฝนมาในระยะเวลาที่ค้นคว้ามาอย่างเต็มที่แล้ว อยู่ในจุดที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ทำโมเดลจริงจังแล้วเลยได้เห็นฝีมือคนเก่งๆเยอะมาก

จริงๆที่ 1 กับที่ 2 เฉือนชนะคะแนนที่ใกล้กันมาก มาตัดกันนิดเดียวที่เรื่องของ Presentaion กับ Insight ที่หามาได้คมกว่า ในระหว่างการแข่งขันเองก็ได้เห็นเทคนิคเจ๋งๆของแต่ละทีม ที่น่าสนใจและยังรู้สึกอยากนำไปปรับใช้กับทีมด้วย

คุณสรรพวิชญ์ หัวหน้ากรรมการฝั่ง Deep Design เพิ่มเติมอีกว่า พอมาในรอบ Final จริงๆมีทีมที่ทำให้ตัดสินใจมากอยู่หลายทีม ถ้านับเป็นคะแนนคือห่างกันแค่ 0.5 คะแนนก็มี ประทับใจความสามารถของผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมที่สามารถดึงข้อมูลจาก User แล้วมานำเสนอให้คณะกรรมการได้อย่างน่าสนใจ คิดว่าประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ก็ต้องรอติดตามกันดูว่า TechJam ปีหน้าจะดุเดือดกว่านี้แค่ไหน ติดตามรายละเอียดได้ที่ FB Page: https://www.facebook.com/KBTGlive/

Writer Profile : jazz.ordinaryday
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

15 Year Challenge ของ Facebook มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง?


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save